การศึกษาเอกชนและนโยบายการอุดหนุนของรัฐ*
บทนำ
คงเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า การศึกษาเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่ช่วยมนุษย์ให้หลุดพ้นจากความยากจนข้นแค้น และความโง่เขลาเบาปัญญา ด้วยเหตุนี้การศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน
ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการจัดการศึกษาในประเทศที่เจริญแล้วเราจะพบว่าการศึกษา เอกชนมีบทบาทเป็นผู้บุกเบิก ผู้ริเริ่มก่อนที่รัฐจะเข้ามารับหน้าที่จัดการศึกษาโดยตรง ซึ่งขึ้นอยู่กับความพร้อมตามครรลองของการวิวัฒนาการของแต่ละประเทศ
ในปัจจุบัน รัฐบาลแต่ละประเทศถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญของรัฐที่จะต้องรับภาระการจัดการศึกษาของชาติแต่ถึงกระนั้นก็ตาม รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย เป็นต้นในสังคมที่เป็นพหุนิยม (Pluralism) รัฐไม่ผูกขาดการจัดการศึกษาแต่ผู้เดียว ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงเจตนาที่จะเคารพต่อสิทธิส่วนบุคคลของประชาชนทุกกลุ่มทุกเหล่า อันเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
การศึกษาเอกชนในประเทศไทยและนโยบายการอุดหนุนของรัฐ
ส่วนในประเทศของเรานั้น รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยได้แถลงไว้อย่างชัดเจนว่า "รัฐแต่เพียงผู้เดียวคงไม่อาจรับภาระในการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอ เพราะความจำกัดในดานทรัพยากร รัฐจึงเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมรับภาระในการจัดการศึกษาได้ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ในของเขตที่รัฐกำหนด" 1
การที่รัฐบาลไทยมีทรรศนะเป็นสากลนั้น อาจจะสืบเนื่องมาจากประเพณีซึ่งมีมาพร้อมกับความเป็นชาติไทย ที่เอกชนได้มีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาของชาติมาเป็นระยะเวลายาวนาน "นับตั้งแต่สมัยล้านนาไทยและสุโขทัยเป็นต้นมาโดยมิได้มีการกำหนด เป็นระเบียบแบบแผนแต่อย่างใด เริ่มแรกนั้นการจัดการศึกษาจะจัดขึ้นเฉพาะในวัง วัด และบ้าน มีพระภิกษุหรือเจ้านายในราชนิกูลเป็นผู้สอนวิชาการอ่านและเขียนหนังสือไทย วิชาเลขและขนบธรรมเนียมประเพณี ผู้เรียนส่วนใหญ่มาจากราชตระกูลหรือครอบครัวขุนนาง สำหรับประชาชนทั่วไปมีโอกาสได้รับการศึกษาน้อยมาก นอกจากได้รับการถ่ายทอดวิชาชีพภายในครัวเรือนต่อมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2199-2231) ได้มีคณะมิชชันนารีนิกายโรมันคาทอลิกชาวฝรั่งเศสเข้ามาเผยแพร่ศาสนา และได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดตั้งโรงเรียนขึ้นเพื่อทำการสอนภาษาและวิชาการสมัยใหม่แก่ประชาชน ชาวไทยนอกเหนือไปจากการเผยแพร่ศาสนาที่เรียกกันว่าโรงเรียนสามเณร และถือได้ว่าเป็นการจัดตั้งโรงเรียนราษฎร์ขึ้นเป็นครั้งแรก โรงเรียน สามเณรนี้ได้รับความนิยมมาก แต่ภายหลังกิจการได้หยุดชะงักลงชั่วคราวเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 จนถึงสมัยกรุงธนบุรี และกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น 2
เราจะเห็นว่า ประวัติศาสตร์การจัดการศึกษาของเอกชนในประเทศไทย ตามที่อ้างอิงมาข้างต้นนั้น เป็นประวัติศาสตร์ที่น่าประทับใจอย่างยิ่งที่เห็นผองไทยทุกหมู่เหล่าให้ความสำคัญต่อการศึกษา และยิ่งกว่านั้น เรายังเห็นความมีทรรศนะกว้างไกลของพระประมุขที่อนุญาตให้คณะมิชชันนารี ร่วมภาระจัดการศึกษาได้ด้วย
ในปัจจุบัน รัฐได้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเอกชนไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2535 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลพอสรุปได้ ดังนี้
ส่งเสริมให้เอกชนจัดการศึกษาทุกระดับเพิ่มขึ้นให้มีอิสระและคล่องตัวในการบริหารและการจัดการสามารถพึ่งตนเองได้โดยรัฐให้การสนับสนุนด้านวิชาการทรัพยากรการอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานและการรับรองมาตรฐาน 3
สนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และให้มากขึ้น โดยเฉพาะการศึกษาที่นอกเหนือจากการศึกษาที่เป็นความต้องการเฉพาะของกลุ่มคน 4
ส่งเสริมบทบาทเอกชนในการร่วมจัดการศึกษาในทุกระดับให้มากยิ่งขึ้น 5
จากนโยบายดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่ารัฐมีเจตนารมย์อย่างแน่วแน่ที่จะสนับสนุนเอกชนให้จัดการศึกษาในทุกระดับให้มากยิ่งขึ้น โดยรัฐจะช่วยเหลือทั้งด้านวิชาการ ทรัพยากรและการอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน
ทั้งนี้ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ได้กำหนดมาตรการไว้ 3 ประการ และมาตรการหนึ่ง คือ
ส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนทางการศึกษาเอกชน โดยจะไม่ขยายการศึกษาในพื้นที่และในสาขาที่เอกชนสามารถจัดได้อย่างเพียงพอและมีคุณภาพดีอยู่แล้วพร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนาการศึกษา โดยการให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการตลอดจนทรัพยากรอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
การศึกษาเอกชนในต่างประเทศและนโยบายการอุดหนุนของรัฐ
1. ในยุโรป
การศึกษาขั้นพื้นฐานในยุโรปนั้น เริ่มมีมาตั้งแต่คริสตศตวรรษแรก โดยเริ่มจากวัดและวังดังเช่นในประเทศไทย และค่อย ๆ วิวัฒนาการขึ้นเป็นการอุดมศึกษาอย่างเห็นได้ชัด ในคริสตศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา ส่วนการประถมศึกษาและมัธยมศึกษานั้นเริ่มจัดเป็นรูปแบบค่อนข้างชัดเจนขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 16 โดยคณะนักบวชและราชสำนักต่าง ๆ เป็นต้นในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งคงความเป็นศูนย์กลางของความเจริญทางศิลปะและวัฒนธรรมของยุโรปเป็นเวลาหลายร้อยปีจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2
1.1 ฝรั่งเศส
จากเอกสาร "Landmarks Along A Century" ของ Fratelli di San Gabriele ฉบับเดือนกันยายน 1983 พอจะสรุปได้ว่า 6
รัฐบาลฝรั่งเศสได้ตรากฎหมายส่งเสริมการศึกษาเอกชนฉบับแรกในปี ค.ศ. 1850 กฎหมายฉบับนั้นเรียกว่า Falloux Law ซึ่งเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนแก่โรงเรียนเอกชน
ในปี 1881-1886 รัฐบาล Republican ในสมัยนั้นได้ออกกฎหมายหลายฉบับภายใต้ชื่อ Jules Ferry ซึ่งเป็นกฎหมายที่ห้ามสอนศาสนาในโรงเรียนเทศบาลแต่ไม่ห้ามสำหรับโรงเรียนเอกชน
ปี 1941 รัฐบาล Vichy ได้ให้การรับรองการศึกษาคาทอลิกเป็นครั้งแรกและให้เงินสนับสนุนโรงเรียนคาทอลิกทั่วไป
ปี 1951 Marie & Baranger Laws เป็นกฎหมายที่อนุมัติ ความช่วยเหลือทางการเงินโดยตรงแก่ครอบครัวฝ่ายทางโรงเรียน และยังอนุมัติเงินสนับสนุนนักเรียน (State endowment) ในโรงเรียนเอกชนเป็นพิเศษ ในสมัยนั้นมีนักเรียนระดับประถม 18% มัธยมต้น 23% และมัธยมปลายถึง 35% อยู่ในความรับผิดชอบของการศึกษาคาทอลิก โดยไม่รวมถึงนักเรียนของการศึกษาเอกชนอื่น
ปี 1959 กฎหมาย Debre' Law ซึ่งกำหนดให้การศึกษาเอกชนทำพันธะสัญญากับรัฐได้ 2 แบบ (contract) ซึ่งเรียกว่า simple contract และ association contract ตามกฎหมายฉบับนี้ รัฐเป็นผู้รับผิดชอบเรื่อง เงินเดือนครูทั้งหมด ส่วนโรงเรียนเอกชนมีสิทธิที่จะเลือกรับเงินอุดหนุนเป็นบางส่วน หรือรับอุดหนุนเต็มในเรื่อง "งบดำเนินการ" ของโรงเรียน
ปี 1977 กฎหมาย Guermeur Law ให้การรับรองการศึกษาเอกชนและอนุมัติเงินอุดหนุน ตามสิทธิทุกประการเช่นเดียวกับโรงเรียนรัฐบาล
ในปัจจุบัน การศึกษาเอนของฝรั่งเศสนั้นเป็นของการศึกษาคาทอลิกถึง 98% ซึ่งมีการบริหารเป็นรูปของสภาระดับชาติ
กฎหมายปี 1959 และ 1977 ระบุไว้อย่างชัดเจนถึงสิทธิของครู และความสัมพันธ์ระหว่างครูกับโรงเรียนเอกชนตามนัยดังกล่าว ครูคือลูกจ้างโดยตรงของรัฐบาลและมีสิทธิประโยชน์อื่นเช่นข้าราชการทั่วไป กฎหมายสำคัญทั้ง 2 ฉบับ ยังคงมีผลใช้บังคับในปัจจุบัน ความช่วยเหลือที่รัฐให้แก่ครอบครัวเป็นที่พอใจของประชาชนโดยทั่วไป ข้อจำกัดของกฎหมายก็คือกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้เป็นกฎหมายเดียวกันที่ใช้กับโรงเรียนของรัฐและเอกชน
นัยสำคัญ ของ Simple Contract
80% ของโรงเรียนประถมของเอกชน อยู่ในพันธะสัญญาแบบ Simple Contract กับรัฐบาล โดยนัยนี้เทศบาลท้องถิ่นเป็นผู้จ่ายงบดำเนินการให้โดยคิดเป็นรายหัวเท่ากับนักเรียนในโรงเรียนของเทศบาล
ตั้งแต่ปี 1975 เป็นต้นไป โรงเรียนประถมจำนวนมากพยายามแปรสภาพเป็น Association Contract เพื่อต้องการจะขึ้นโดยตรงต่อกระทรวงศึกษาธิการ
โรงเรียน
โรงเรียนประถมมีอิสระ (autonomy) ในการจัดการและดำเนินการตามหลักวิชาครูตามที่กำหนดโดยการศึกษาชาติ
ผู้บริหารโรงเรียนได้รับการแต่งตั้งจากองค์การศาสนาเอง หรือจากหน่วยงานเอกชนที่ตนสังกัดอยู่
ครู
ครูได้รับเงินเดือนโดยตรงจากรัฐ แต่ไม่ใช่ข้าราชการ ครูจะต้องอยู่ภายใต้ระเบียบของโรงเรียนเอกชน
ครูต้องมีวุฒิครูตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
ครูที่อยู่ในระบบ Simple Contract ไม่มีพันธะสัญญา (Contract) กับรัฐมีแต่ Agreement เท่านั้น
นัยสำคัญ ของ Association Contract
สถาบัน
ตามสัญญานี้รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการเป็นคู่สัญญากับโรงเรียนเอกชนโดยนัยนี้เงินอุดหนุนเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีซึ่งมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายและถึงแม้ว่าได้เซ็นสัญญาแบบ Association Contract ก็ตาม โรงเรียนมีอิสรภาพ (autonomy) พอควร เช่น
- กรรมการบริหารโรงเรียนมีสิทธิแต่งตั้งผู้อำนวยการโรงเรียน รัฐบาลไม่ใช่ผู้แต่งตั้ง
- ผู้บริหารโรงเรียนทำการคัดเลือกครูเอง และแต่งตั้งครูตามตำแหน่ง ต่าง ๆ ภายในโรงเรียน
- ผู้บริหารโรงเรียนมีอิสระในการจัดการเรียนการสอน ภายใต้หลักสูตรที่กำหนดโดยการศึกษาชาติ
- ผู้บริหารโรงเรียนสามารถดำเนินการจัดการตามหลักปรัชญาความเชื่อถือที่เป็นลักษณะพิเศษของโรงเรียนนั้น ๆ
ปัจจุบันโรงเรียนมัธยมขององค์การศาสนาแทบทั้งหมดอยู่ภายใต้ Association Contract
ครู
ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้คัดเลือกเอง ถ้าเป็นโรงเรียนของศาสนา การคัดเลือกต้องได้รับคำแนะนำจากสภาการศึกษาของศาสนานั้น แต่รัฐเป็นผู้จ่ายเงินเดือนทั้งหมดให้แก่ครูทุกคน
ถึงแม้ว่าครูโรงเรียนเอกชนไม่ใช่ข้าราชการก็ตาม แต่ก็มีสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เท่าเทียมครูของรัฐ
ครูจะได้รับความก้าวหน้าในอาชีพครู เป็นไปตามคุณวุฒิและผลงาน เช่นเดียวกับครูของรัฐ
และครูโรงเรียนเอกชนจะเกษียณอายุ ตามอายุราชการของครูของรัฐ และมีสิทธิได้รับสวัสดิการและเงินทุนต่าง ๆ เช่นเดียวกับครูของรัฐ
การสัมภาษณ์เกี่ยวกับการศึกษาเอกชนของฝรั่งเศส
ข้อมูลต่อไปนี้ ได้จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนเอกชนในปี 2532
สถิติโรงเรียน
โรงเรียนเอกชนทั่วไปฝรั่งเศสมีนักเรียนประมาณ 2 ล้านกว่าคน อีกประมาณ 7 ล้านคน อยู่ในโรงเรียนของรัฐ
ลักษณะโรงเรียน
- โรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่เป็นขององค์การ ศาสนา และมูลนิธิ ได้รับเงินอุดหนุนมาก รัฐควบคุมมาตรฐานอย่างเข้มงวด
- โรงเรียนเอกชนแท้ ๆ ซึ่งมีเป็นส่วนน้อยมาก มีอิสระในการบริหารมากกว่าโรงเรียนเอกชนประเภทแรก เพราะได้รับเงินอุดหนุนน้อยกว่า และรัฐควบคุมน้อยกว่าและบางแห่งไม่ได้รับเลย
การอุดหนุนของรัฐ
โรงเรียนเอกชนทุกประเภทต้องทำพันธะสัญญากับรัฐแบบใดแบบหนึ่ง
- Simple Contract
- Association Contract
โรงเรียนทุกโรงมีสิทธิที่จะเลือกทำสัญญาแบบหนึ่งแบบใดก็ได้
Simple Contract
โรงเรียนเอกชนที่ทำพันธะกับรัฐแบบนี้ จะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐ ในรูปของเงินเดือนครู ตามวุฒิ และตำแหน่งหน้าที่ในโรงเรียน
โรงเรียนเอกชนประเภทนี้มีน้อยมาก เพราะเก็บค่าเล่าเรียนแพง และต้องรับผิดชอบ สวัสดิการครูเอง ต้องมีงบลงทุนเอง รัฐไม่ให้การอุดหนุนด้านการลงทุนใด ๆ โรงเรียนต้องมีชื่อเสียงและมีบริการดีจึงอยู่ได้
Association Contract
โรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นโรงเรียนขององค์การศาสนาทำพันธะสัญญาแบบ Association Contract
รัฐให้การอุดหนุนเต็มที่ คือ รัฐจ่ายเงินเดือนครูทุกคน พร้อมด้วยสวัสดิการดังเช่นครูรัฐบาล
งบส่วนหนึ่งของการลงทุนด้านก่อสร้างอาคารเรียน อุปกรณ์การเรียน ได้รับเงินช่วยเหลือจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด และจากรัฐ
โรงเรียนเอกชนประเภทนี้ มักเก็บค่าเล่าเรียนระหว่าง 50-60 แฟรงค์ต่อเดือน
โรงเรียนของรัฐและเอกชน
ในประเทศฝรั่งเศส รัฐมีนโยบายให้การศึกษาฟรีเป็นเวลา 12 ปี แก่นักเรียนทุกคนที่ปรารถนาจะเข้าโรงเรียนรัฐบาล และรัฐต้องหาที่เรียนให้เด็กทุกคน ด้วยเหตุนี้โรงเรียนของรัฐจึงมีนักเรียนมาก แออัด และขาดระเบียบวินัยและการเอาใจใส่อย่างดีจึงทำให้ประชาชนนิยมโรงเรียนเอกชน เพราะนักเรียนมีความสัมฤทธิผลทางการศึกษาดีกว่า และมีวินัยในการเรียนดีกว่า
โรงเรียนของรัฐไม่มีโอกาสคัดเด็กเข้าเรียนเพราะมีกฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคสำหรับทุกคนเป็นมาตรการควบคุม
ส่วนโรงเรียนเอกชนนั้น มีโอกาสคัดเลือกเด็กเข้าเรียน มีการสอนเสริม และซ่อมเสริมตามความจำเป็น จึงเป็นที่นิยมของผู้ปกครอง
ความเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและผู้ปกครอง
ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนมีความเห็นว่า ระบบการอุดหนุนโรงเรียนเอกชนของประเทศเบลเยี่ยมดีกว่าของฝรั่งเศส กล่าวคือรัฐบาลประเทศเบลเยี่ยมให้การศึกษาฟรี 12 ปี แก่เด็กเบลเยี่ยมทุกคน
ผู้ปกครองเป็นผู้ตัดสินใจเลือกโรงเรียนรัฐ หรือเอกชนเองไม่ว่าเด็กจะไปโรงเรียนประเภทใด ผู้ปกครองไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน
มาตรฐานการศึกษาระหว่างโรงเรียนรัฐและเอกชนทัดเทียมกัน
1.2 อังกฤษ
การพัฒนาระบบการศึกษาสำหรับปวงชนในประเทศอังกฤษเป็นไปอย่างล่าช้ากว่าในประเทศฝรั่งเศส เยอรมันนี และสหรัฐอเมริกา7 ซึ่งได้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเป็นระบบในต้นคริสตศตวรรษที่ 19 ส่วนในประเทศอังกฤษนั้น รัฐบาลยังไม่มีนโยบายส่งเสริมการศึกษา ปล่อยให้เป็นเรื่องของเอกชน เพราะฉะนั้นคนอังกฤษส่วนใหญ่มักไม่มีการศึกษาขั้นพื้นฐาน8 ลูกๆ ของกรรมกรต้องไปพึ่งโรงเรียนการกุศล ซึ่งจัดขึ้นโดยองค์การศาสนา และมีจำนวนไม่เพียงพอแก่ความต้องการของประชาชน ส่วนคนชั้นกลางและคนชั้นสูงนั้นเข้าโรงเรียนเอกชน ซึ่งเก็บค่าเล่าเรียนในยุคดังกล่าวนี้ โรงเรียนขององค์การศาสนาทั้ง 2 นิกาย โปรแตสตันท์ และคาทอลิก เกิดขึ้นมากมายหลายพันโรงเรียน จนกระทั่งในปี 1833 รัฐสภาของอังกฤษได้จัดสรรงบประมาณก้อนหนึ่งสนับสนุนโรงเรียนเหล่านี้ เพื่อการศึกษาของลูกชนชั้นกรรมกร
ในปี 1840 Horace Mann นักการศึกษาอเมริกันได้เดินทางไปยุโรปและทำการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพการศึกษาของอังกฤษพบว่าล้าหลังประเทศเยอรมันนีมากและรู้สึกไม่สบายใจที่เห็นรัฐบาลอังกฤษไม่จัดระบบการศึกษาให้ทัดเทียมกับประเทศในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส
ในปี 1861 Matthew Arnold (1822-1888) นักประพันธ์และจินตกวีและนักวิจารณ์สังคมชาวอังกฤษได้วิพากษ์โรงเรียนในอังกฤษว่ามีมาตรฐานต่ำกว่าโรงเรียนในประเทศยุโรปมาก ยกเว้นโรงเรียน Eton และ Horrow ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาระดับชั้นหนึ่งของประเทศ ที่ได้รับการสถาปนาขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 17
เมื่อสังเกตเห็นความก้าวหน้าทางการศึกษาในสหรัฐอเมริกาและในยุโรป คนอังกฤษเริ่มวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของตนมากขึ้น เป็นผลทำให้มีการประกาศกฎหมายว่าด้วยการศึกษา ขึ้นพื้นฐานฉบับแรกเรียกว่า Education Act 1870 ตามกฎหมายดังกล่าวประเทศอังกฤษ ยอมรับระบบ dual system of education คือการรับรองกลุ่มโรงเรียนของรัฐ และกลุ่มโรงเรียนขององค์การศาสนานิกายต่าง ๆ และทั้งสองกลุ่มโรงเรียน สามารถเก็บค่าเล่าเรียนต่อไป และมีสิทธิได้รับการอุดหนุนจากภาษีท้องถิ่น
ต่อมามีการประกาศ Education Act 1891 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ยกเลิกการเก็บค่าเล่าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐและส่งเสริมให้โรงเรียนเอกชนทำเช่นเดียวกันโดยรัฐสัญญาจะให้เงินสนับสนุนแทนทั้งหมด
ผลสืบเนื่องมาจากกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ทำให้มีโรงเรียนเกิดขึ้นมากมาย ต่อมาในปี 1900 รัฐสภาอังกฤษประกาศยกเลิกคณะกรรมการจังหวัด ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลโรงเรียนขององค์การศาสนาทั้งหมด โดยให้ไปสังกัดกระทรวงการศึกษาแห่งชาติ (Ministry of National Education) ซึ่งเพิ่งตั้งขึ้นในปี 1899 และให้โรงเรียนมีสิทธิได้รับเงินสนับสนุนจากภาษีท้องถิ่น เช่นเดิม
กฎหมายการศึกษาของอังกฤษฉบับต่อ ๆ มา เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการขยายโอกาสทางการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา เช่น กฎหมายการศึกษาปี 1936, 1939 และ 1944 เป็นต้น
กฎหมาย Education Act 1944 เป็นกฎหมายที่คนอังกฤษถือว่าเป็นก้าวสำคัญที่ได้พัฒนาการศึกษาของอังกฤษไปสู่คุณภาพและมาตรฐาน กล่าวคือ ได้มีการพูดถึงการจัดหาอุปกรณ์การศึกษาอย่างพอเพียง การให้บริหารแก่นักเรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างของปัจเจกบุคคล ในด้านต่าง ๆ ตลอดจนการให้โอกาสอย่างเสมอภาคและสถานที่ ๆ เอื้อต่อการเรียนการสอนและพอเพียง ถึงแม้จะมีการปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงบางส่วนของกฎหมายฉบับนี้ตามกาลเวลาก็ตามแต่กฎหมายฉบับ 1944 ยังคงเป็นหลักอันมีผลบังคับใช้จนถึงทุกวันนี้
โรงเรียนเอกชนและโรงเรียนขององค์การศาสนาในอังกฤษ
รัฐบาลอังกฤษนิยามโรงเรียนเอกชน (private school) ว่าเป็น independent school เพราะเป็นโรงเรียนที่ไม่ได้รับการอุดหนุนจากภาษีของประชาชน
ส่วนโรงเรียนขององค์การศาสนา (โปรแตสตันท์และคาทอลิก) หรือเกี่ยวข้องกับองค์การศาสนาเรียกว่า maintained schools เนื่องจากโรงเรียนประเภทนี้ได้รับเงินสนับสนุนจากภาษี
ประมาณ 6-7% ของนักเรียนระดับประถมและมัธยมอยู่ในโรงเรียนเอกชนประเภท independent schools โรงเรียนประเภทนี้เก็บค่าเล่าเรียน จากการสำรวจในปี 1981 ปรากฏว่ามีโรงเรียนประเภทนี้ถึง 2411 แห่ง
นอกจากนี้แล้วยังมีโรงเรียนเอกชนอีกประเภทหนึ่งประมาณ 100 กว่าโรงเรียนซึ่งเป็นโรงเรียนประเภท independent schools ระดับชั้นนำมีชื่อเสียงมากเก็บค่าเล่าเรียนแพงมาก เป็นโรงเรียนของชนชั้นสูงและพวกชั้นกลาง
ถึงแม้โรงเรียนเอกชนประเภท independent schools ไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐก็ตาม แต่รัฐบาลมีนโยบายให้ทุนการศึกษาแก่เด็กยากจนที่จะย้ายจากโรงเรียนของรัฐไปเรียน โรงเรียนเอกชนที่มีชื่อเสียง เช่นในปี 1983 มีนักเรียน 4,982 คน จากโรงเรียนของรัฐได้รับทุนจากรัฐบาลไปเรียนในโรงเรียนเอกชนที่มีชื่อเสียง9 เป็นต้น
มีนักเรียนประมาณ 20% ทั้งระดับประถมและมัธยมอยู่ในโรงเรียนขององค์การศาสนา (maintained schools) ทั้งโปรแตสตันท์ และคาทอลิก ซึ่งมีประมาณ 5,000 โรงเรียน (1982) โรงเรียนประเภทนี้ ไม่เก็บ ค่าเล่าเรียน เพราะได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐเต็ม รัฐเป็นผู้จ่ายเงินเดือนครูทั้งหมด และยังช่วยพัฒนาโรงเรียนเป็นค่างบลงทุนถึง 85% ของการลงทุนอีกด้วย โดยรัฐตั้งข้อแม้ไว้ว่า โรงเรียนที่รับเงินอุดหนุนจากภาษีท้องถิ่นต้องมีคณะกรรมการบริหารโรงเรียน และโรงเรียนต้องเคารพเสรีภาพการถือศาสนาของนักเรียน (freedom of conscience)
โรงเรียนทุกประเภทอยู่ในความดูแลและควบคุมของรัฐบาล รัฐบาลโดยทางกระทรวงศึกษาธิการอาจสั่งปิดโรงเรียนนั้นๆ ไม่ได้มาตรฐานถึงแม้จะเป็นโรงเรียนที่ไม่ได้รับเงินอุดหนุนก็ตาม ความจริงนั้นระบบโรงเรียนในประเทศอังกฤษมีลักษณะหลากหลายอีกมากที่ไม่ได้เขียนไว้ในที่นี้ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากขนบธรรมเนียมประเพณีดั่งเดิมที่ยึดถือมาแต่กาลก่อน
โรงเรียนในอังกฤษมีสิทธิและอิสระที่จะบริหารและจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาความเชื่อถือของคนโดยรัฐไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวก้วยถ้าหากหลักสูตรที่ใช้ในโรงเรียนนั้น ๆ ได้รับการรับรองแล้ว เพราะฉะนั้นประเทศอังกฤษจึงมีปรัชญาการศึกษาที่เป็นพหุนิยม ซึ่งนักการศึกษาบางกลุ่มเรียกว่า "commonsense philosophy."
สถิติโรงเรียนขององค์การศาสนา (คาทอลิก) ในประเทศอังกฤษประจำปี 1991 10
CATHOLIC SCHOOLS IN ENGLAND AND WALES |
|
|
Number of School |
|
Boys |
|
Girls |
|
Boys |
|
Girls |
|
Total |
Maintained Primary Schools |
|
1,909 |
|
188,590 |
|
185,910 |
|
20,103 |
|
20,116 |
|
414,719 |
Maintained Secondary Schools |
|
413 |
|
121,071 |
|
124,256 |
|
19,588 |
|
21,688 |
|
286,603 |
Independent Schools |
|
222 |
|
15,922 |
|
16,869 |
|
10,736 |
|
21,383 |
|
65,110 |
Special Schools |
|
17 |
|
296 |
|
167 |
|
573 |
|
247 |
|
1,283 |
TOTAL |
|
2,561 |
|
325,879 |
|
327,202 |
|
51,200 |
|
63,434 |
|
767,715 |
(1991 statistics-Source: Catholic Education Service of the Bishops’ Conference of England and Wales)
หมายเหตุ โรงเรียนและนักเรียนขององค์การศาสนานิกายโปรแตสตันท์มีมากกว่าของคาทอลิก แต่ไม่ได้นำเสนอ ณ ที่นี้เพราะไม่มีข้อมูล
นอกจากฝรั่งเศส และอังกฤษแล้ว ยังมีโรงเรียนเอกชนอื่น ๆ ในยุโรปที่ได้รับเงินอุดหนุนทางการศึกษาจากรัฐบาล เช่น เบลเยี่ยม สเปน และสวิตเซอร์แลนด์ แต่ไม่ได้นำมารายงาน ณ ที่นี้
2. ในเอเชีย
2.1 ญี่ปุ่น
เมื่อปี 1988 Mr. Akinori Shimotori ผู้อำนวยการ Science council ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการของประเทศญี่ปุ่น ได้เสนอรายงานอย่างย่อเกี่ยวกับระบบการศึกษาในญี่ปุ่น และหลักของการปฏิรูปการศึกษามีความตอนหนึ่งว่า
"เนื่องจากรัฐบาลเห็นความสำคัญของการศึกษาเอกชน รัฐบาลแห่งชาติจึงได้จัดสรรงบประมาณไว้สนับสนุนการศึกษาเอกชน รัฐบาลท้องถิ่น (Prefecture) อุดหนุนงบดำเนินการของโรงเรียนเอกชน และรัฐบาลแห่งชาติสนับสนุนส่วนหนึ่งของรายจ่ายทางการศึกษาของแต่ละท้องถิ่น" 11
ถ้าเราดูสถิติของโรงเรียนและนักเรียนในประเทศญี่ปุ่น เราจะพบว่าเอกชนมีบทบาทในการจัดการศึกษาระดับอนุบาลศึกษา และระดับมัธยมปลาย กับอุดมศึกษา ทั้งนี้ก็เพราะการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถมและมัธยมต้น) เป็นการศึกษาให้เปล่า โรงเรียนมากกว่า 90% เป็นของรัฐในระดับนี้
สถิติโรงเรียนเอกชนในญี่ปุ่น ปี 2529 12
|
No. of schools |
No. of students |
||
|
total |
private |
total |
private |
Kindergartens |
15,189 |
8,874 |
2,018,585 |
1,530,840 |
Elementary School |
24,982 |
170 |
10,665,413 |
60,142 |
Junior High Schools |
11,190 |
595 |
6,105,755 |
182,989 |
Senior High School |
5,461 |
1,296 |
5,259,463 |
1,474,025 |
Junior Colleges |
548 |
459 |
396,455 |
3,573,336 |
Universities |
465 |
334 |
1,879,532 |
1,362,389 |
Colleges of Technology |
62 |
4 |
49,174 |
3,437 |
การสัมภาษณ์กลุ่มผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในโตเกียวและโอซาก้า ปี พ.ศ. 2529
ลักษณะของโรงเรียนเอกชน
โรงเรียนเอกชนในญี่ปุ่นแทบทั้งหมดเป็นขององค์การ ศาสนา มูลนิธิ สมาคม หรือบริษัทโรงเรียนเอกชนมีสิทธิ
- รับนักเรียนตามระเบียบของโรงเรียนเอง
- วัดผลการศึกษาเองในทุกระดับ ประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย
ในประเทศเกาหลี และไต้หวัน สถานภาพของการศึกษาเอกชนมีลักษณะเป็นดังเช่นในประเทศญี่ปุ่น คือสถาบันการศึกษาเอกชนดำเนินกิจการเป็นรูปองค์การ จึงทำให้มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือ
มาตรฐานการศึกษา
ผู้ดูแลมาตรฐานการศึกษา คือ กระทรวงศึกษาธิการ
ในเชิงปฏิบัติ หน่วยงานที่ควบคุมมาตรฐานของการศึกษาคือ มหาวิทยาลัย
มาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนของรัฐ และของเอกชนวัดจากจำนวนนักเรียนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้
ยังมีโรงเรียนเอกชนอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนน้อยมาก ที่ให้บริการแก่นักเรียนที่สอบเข้าที่ใดไม่ได้
ค่าเล่าเรียน
โรงเรียนของรัฐไม่เก็บค่าเล่าเรียน ในระดับการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งมี 9 ปี ด้วยกัน (ประถม 6 ปี, มัธยมต้น 3 ปี)
ส่วนในระดับมัธยมปลายนั้น นักเรียนไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน แต่เสียเพียงค่าบำรุงการศึกษาเล็กน้อยเท่านั้น
โรงเรียนเอกชนเก็บค่าเล่าเรียนในทุกระดับ (อนุบาล ประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย)
ในเมื่อโรงเรียนของรัฐไม่เก็บค่าเล่าเรียนทำไมจึงมีคนสมัครใจเข้าโรงเรียนเอกชน?
ในประเทศญี่ปุ่นนั้น โรงเรียนเอกชนเป็นที่นิยมของผู้ปกครอง (เป็นต้นในระดับมัธยมปลาย) เนื่องจากโรงเรียนเอกชนมีสถิติผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นเลิศ โรงเรียนเอกชนหลายแห่งติดอันดับหนึ่งในสิบของประเทศ
โรงเรียนของรัฐ มีที่เรียนพอหรือไม่?
มีที่เรียนพอเสมอในโรงเรียนของรัฐจึงไม่เกิดปัญหานักเรียนยากจนไม่มีที่เรียนในโรงเรียนของรัฐ
โรงเรียนเอกชนมีสิทธิขึ้นค่าธรรมเนียมการเรียนตามใจชอบหรือไม่?
โดยหลักการแล้ว โรงเรียนเอกชนมีสิทธิที่จะขึ้นค่าเล่าเรียนตามใจชอบ แต่ในทางปฏิบัตินั้น โรงเรียนเอกชนไม่ทำเช่นนั้น เนื่องจากโรงเรียนเอกชนแทบทั้งหมดเป็นขององค์การ ศาสนา มูลนิธิ และสมาคม เพราะฉะนั้นนโยบายการขึ้นค่าเล่าเรียนหรือค่าธรรมเนียมการเรียนจึงขึ้นอยู่กับคณะกรรมการบริหารองค์การต่าง ๆ
ในทางปฏิบัตินั้น โรงเรียนจะจับกลุ่มกันและปรึกษากันด้วยเรื่องการขึ้นค่าเล่าเรียนนโยบายหลักคือ ขึ้นค่าเล่าเรียนทุก 2 ปี และขึ้นเพียงเล็กน้อย ตามดรรชนีอัตราค่าครองชีพ โดยรัฐบาลจะประกาศดรรชนีค่าครองชีพประจำปีและโรงเรียนก็จะปรับค่าเล่าเรียนตามดรรชนีดังกล่าว
การขึ้นค่าเล่าเรียนจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐเสียก่อน
ตามความเป็นจริงนั้น โรงเรียนไม่ต้องการขึ้นค่าเล่าเรียนสูง เพราะจะทำให้ผู้ปกครองเดือดร้อน และรัฐเองก็ไม่ปรารถนาที่จะเป็นโรงเรียนขึ้นค่าเล่าเรียนสูงเกินไปเพราะรัฐยังคงให้เงินอุดหนุนโรงเรียนอยู่
มีโรงเรียนเอกชนไม่กี่แห่งที่มุ่งแสวงกำไร โดยเก็บค่าเล่าเรียนสูงมาก โรงเรียนประเภทนี้ไม่รับเงินอุดหนุนจากรัฐ โรงเรียนเอกชนบางประเภท เช่น โรงเรียนสอนวิชาการดนตรี จะเก็บค่าเล่าเรียนสูงมาก
ยิ่งกว่านั้นถ้ามองอีกแง่หนึ่ง การขึ้นค่าเล่าเรียนจะถูกควบคุมโดยการร้องทุกข์ของผู้ปกครอง
มีการเรียกเก็บเงินกินเปล่าหรือไม่?
ไม่มี แต่ถ้าโรงเรียนมีโครงการสร้างตึก หรือโครงการพัฒนาโรงเรียน สมาคมผู้ปกครองเป็นผู้จัดการเรื่องนี้น
โยบายการให้เงินอุดหนุนแก่โรงเรียนเอกชน
รัฐให้เงินอุดหนุนแก่โรงเรียนเอกชน ประมาณ 25%-35% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด
การคำนวนเงินอุดหนุนนั้น รัฐพิจารณาจาก
- จำนวนครู (ถ้ามีครูมากไป รัฐจะแนะให้ลดจำนวนครูลง)
- จำนวนนักเรียน
- ห้องสมุด
- facilities ต่าง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์การศึกษาตัวอย่างการรับเงินอุดหนุน (โรงเรียนมัธยมโชวา) โรงเรียนเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากนักเรียนแต่ละคน ดังนี้
- ค่าเล่เรียน = 300,000.- เยน ต่อปี (ประมาณ 54,545 บาท)
- ค่าอุปกรณ์เล่าเรียน = 200,000.- เยน
- ค่าบำรุงโรงเรียน = 120,000.- เยน (อัตราแตกต่างกันไปแต่ละโรงเรียนบางแห่งไม่มี)
รัฐให้เงินอุดหนุนเป็นรายหัว = 180,000.- เยน (อัตราการอุดหนุนขึ้นอยู่กับอัตราค่าธรรมเนียมการเรียนที่โรงเรียนเรียกเก็บ)
รวมเป็นค่าใช้จ่ายรายหัว = 800,000.- เยน
โรงเรียนของรัฐในระดับเดียวกันกับโรงเรียนเอกชนโชวา
นักเรียนเสียค่าบำรุงการศึกษา = 150,000 เยนต่อปี
รัฐต้องจ่ายเพิ่มให้อีกคนละ = 700,000 เยนต่อปี
รวมค่าใช้จ่ายเป็นรายหัว = 850,000 เยนต่อปี
ข้อที่น่าสังเกตก็คือ ถึงแม้รัฐบาลญี่ปุ่น ไม่มีนโยบายควบคุมการเก็บค่าเล่าเรียนของโรงเรียนเอกชนก็จริง แต่ก็ไม่มีโรงเรียนเอกชนใดกล้าเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนตามใจชอบ ทั้งนี้เพราะกลไกของตลาดการศึกษาควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ครูโรงเรียนเอกชน
รัฐห้ามโรงเรียนเอกชนจำหน่ายครูออกก่อนเกษียณ การจำหน่ายครูออกเป็นเรื่องยุ่งยากมาก และดูแทบจะเป็นไปไม่ได้
เพราะฉะนั้นผู้บริหารโรงเรียนต้องคัดเลือกครูให้ดี ก่อนจะรับบรรจุเป็นครู
ถ้าครูเกิดประพฤติตนไม่เหมาะสม โรงเรียนจะต้องรับสภาพนั้นตลอดไป
โรงเรียนจึงต้องจัดทำระบบ ทำ service education อย่างสม่ำเสมอให้แก่ครูเพื่อปรับคุณภาพของครู
รัฐไม่จ่ายเงินเดือนครู แต่รัฐจ่ายเงินอุดหนุน
โรงเรียนโรงเรียนจ่ายบำเหน็จให้แก่ครู พอครูเริ่มบรรจุ ครูต้องส่งเงินสะสมมายังโรงเรียน โรงเรียนจะสมทบให้อีกส่วนหนึ่งเท่ากับครู
โรงเรียนต้องประกันชีวิต และประกันสวัสดิการการเจ็บป่วยให้แก่ครู
โรงเรียนจะต้องจ่าย โบนัส เป็นเงินเท่ากับเงินเดือน 4 เดือนต่อปี
ส่วนเงินบำนาญนั้น รัฐเป็นผู้จ่ายให้หลังออกจากโรงเรียนเมื่ออายุ 65 ปี
ตามความเห็นชอบคนทั่วไป มีความเห็นว่า ครูมีเงินเดือนสูงกว่าอาชีพอื่น ๆ อีกมากมาย
หมายเหตุ การสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน ได้ทำขึ้นในปี พ.ศ. 2529 ต่อมาในปี 2536 ได้มีการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนอีกกลุ่มหนึ่ง และพบว่านโยบายการอุดหนุนโรงเรียนเอกชนของรัฐยังเหมือนเดิม ตัวเลขที่นำเสนอเป็นตัวอย่างในที่นี้อาจจะเปลี่ยนแปลงบ้างสำหรับปัจจุบัน
2.2 สิงคโปร์
เมื่อเดือนมีนาคม 2534 ประเทศสิคโปร์ได้มีการแถลงนโยบายปรับปรุงการประถมศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่และรับบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถม-มัธยม-อาชีวะ) ทั้งนี้เพื่อวางรากฐานการเตรียมกำลังคนเพื่อเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา โดยมีเป้าหมายที่จะเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพรับกับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี นโยบายที่ชัดเจนดังกล่าวได้ถูกตีพิมพ์เป็นเอกสารแบบ "ธรรมนูญการศึกษา" Dr. Tony Tan Keng Yam, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ (1985-1991) ได้แถลงเป็นอารัมภบทว่า
"สิ่งที่ไม่เปลี่ยแปลงก็คือพันธะสัญญาของเราต่อการพัฒนาจนถึงขีพจำกัดของสติปัญญาและสมรรถภาพของเด็กแต่ละคน เพื่อว่าเขาจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่รู้จักรับผิดชอบ มีความจงรักภักดีต่อประเทศชาติ มีความตระหนักถึงครอบครัวของเขาและสามารถหาเลี้ยงชีพเองได้" 13
โดยนโยบายดังกล่าว เด็กทุกคนจะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานคนละ 10 ปี เป็นอย่างน้อย คือประถมศึกษา 6 ปี และมัธยมศึกษาอีก 4 ปี ทั้งนี้รวมทั้งเด็กทุกคนไม่ว่าจะเรียนที่โรงเรียนของรัฐหรือของเอกชน
การสัมภาษณ์ฟเกี่ยวกับการศึกษาเอกชนของสิงคโปร์
จากการสรุปการสัมภาษณ์ประธานชมรมโรงเรียนเอกชนในสิงคโปร์ ปี 2532 พบว่า
สถิติโรงเรียน
รัฐ : เอกชน = 82 : 18
โรงเรียนเอกชนมี 2 ประเภท
- โรงเรียนราษฎร์รัฐอุปถัมภ์ (Government - aided - school)
- โรงเรียนเอกชน (Independent School)
โรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่เป็นประเภท 1 คือ โรงเรียนราษฎร์รัฐอุปถัมภ์
โรงเรียนราษฎร์รัฐอุปถัมภ์ (Government-aided-school)
รัฐจ่ายเป็นรายหัวนักเรียน ให้แก่โรงเรียนเอกชน ดังนี้
ระดับประถม = $ 2.30 (สิงคโปร์ดอลล่าร์) / เดือน
ระดับมัธยม = $ 3.80 / เดือน
รายหัวที่รัฐจ่ายให้นี้ สำหรับเป็นค่าบำรุงรักษาและค่าซ่อมแซม ค่าไฟฟ้า น้ำประปา ฯลฯ จ่ายเป็นรายเดือน 12 เดือนต่อปี
นักเรียนต้องเสียค่าเรียนเอง
ระดับประถม
ค่าเล่าเรียน = $ 3.00 (คนต่างชาติ = 25.00) / เดือน
ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด = $ 4.00 / เดือน
ระดับมัธยม
ค่าเล่าเรียน =$ 5.00 (คนต่างชาติ = 50.00) / เดือน
ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด =$ 5.50 / เดือน
หมายเหตุ เงินค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดนั้น โรงเรียนเก็บสะสมไว้เป็นเงินของโรงเรียน
รัฐมีนโยบายให้เงินอุดหนุน เพื่อพัฒนาโรงเรียนอย่างไรบ้าง?
นอกจากการอุดหนุนเป็นรายหัวแล้ว รัฐยังมีนโยบายที่จะให้งบพัฒนาโรงเรียนอีก เช่น การสร้างอาคารเรียน และการซ่อมอาคารเรียน โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนเป็นข้อกำหนดอัตราการช่วยเหลือ
โรงเรียนที่มีผลการสอบ Entrance เข้ามหาวิทยาลัยแห่งชาติ มากกว่าครึ่งหนึ่ง เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ถ้าจะมีการสร้างอาคารใหม่ จะได้รับเงินช่วยถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของราคางบลงทุนใหม่
โรงเรียนที่มีผลการสอบ Entrance ต่ำกว่าที่กำหนด ถ้าจะมีการลงทุนสร้างอาคารหรือซ่อมแซมอาคาร จะได้รับเงินช่วยเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ของงบลงทุนใหม่
ใครเป็นผู้จ่ายเงินเดือนครู?
รัฐเป็นผู้จ่ายเงินเดือนครูแต่ผู้เดียว ครูในโรงเรียนราษฎร์รัฐอุปถัมภ์จะได้รับการช่วยเหลือด้านสวัสดิการต่างๆ เหมือนครูของรัฐ
โรงเรียนเอกชน (independent school)
รัฐบาลช่วยอุดหนุนโรงเรียนเอกชนหรือไม่?
รัฐจ่ายเป็นรายหัวให้แก่โรงเรียนประเภทดังกล่าวเป็นเงิน $ 2,800 .- ต่อคนต่อปี
นักเรียนของโรงเรียนเอกชนประเภทนี้ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการเรียนเท่าใด?
ค่าธรรมเนียมการเรียน = $ 25.00 ต่อคนต่อเดือน
ในปี 1990 ค่าธรรมเนียมการเรียนจะขึ้นเป็น = $ 50.00 / เดือน
นอกจากนี้ นักเรียนยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมอื่นอีกเล็กน้อย เช่น ค่าเรียนคอมพิวเตอร์ ค่าเรียนภาษาที่ 3
นอกจากนี้แล้วรัฐยังมีนโยบายอุดหนุนโรงเรียนเอกชนประเภท independent school อะไรอีกบ้าง?
ในเรื่องของการสร้างตึก และซื้ออุปกรณ์การศึกษา รัฐให้การสนับสนุนแบบเดียวกับโรงเรียนประเภท government aided schools
ในปี 2536 ได้มีการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนอีกกลุ่มหนึ่งและพบว่านโยบายการอุดหนุนโรงเรียนเอกชนของรัฐยังเหมือนเดิม โดยส่วนรวม สิ่งที่เพิ่มเติมคือรัฐบาลสิงโปร์ยุคปัจจุบัน มีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนใดที่มีโครงการพัฒนา โรงเรียนไม่ว่าจะเป็นด้านอุปกรณ์การศึกษาหรือการก่อสร้างจะได้รับเงินเป็นงบลงทุนถึง 90% แต่ปัญหาอยู่ที่โรงเรียนเอกชนเอง ไม่ค่อยมีโครงการอะไรใหม่ ๆ เสนอรัฐบาลเพื่อการสนับสนุนนี้
ความจริงนั้น ยังมีอีกประเทศในภาคพื้นเอเซียและแปซิฟิคที่มีนโยบายสนับสนุนการศึกษาเอกชนอีกมาก เช่น อินเดีย มาเลเซีย ฮ่องกง และเกาหลี เป็นต้น แต่ไม่ได้นำมาเสนอ ณ ที่นี้
3. ในสหรัฐอเมริกา
ปัญหาโรงเรียนในสหรัฐอเมริกาและนโยบายการอุดหนุน
เมื่อ 10 ปีก่อนได้มีการตีพิมพ์เอกสาร "A Nation at Risk" ในวารสาร The Kappan ของสมาคมเกียรตินิยมทางการศึกษา (PDK) ซึ่งเป็นเอกสารที่วิพากษ์วิจารณ์การศึกษา ระดับประถมมัธยมของอเมริกาว่ามีมาตรฐานต่ำกว่าของประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำทั้งหลาย เอกสารฉบับนี้เป็นที่กล่าวขวัญและได้รับการอภิปรายในทุกวงการการศึกษา มีการติเตียนมาตรฐานการศึกษาในโรงเรียนของรัฐเป็นอย่างมากและประชาชสส่วนใหญ่เริ่มไม่พอใจกับผลผลิตและกระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียนของรัฐ ความไม่พอใจของประชาชนในเรื่องนี้ยิ่งวันยิ่งขยายวงกว้างออกไปจนอาจมีผลต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีในอนาคตก็ได้ เพราะในเอกสารดังกล่าวมีการกล่าวอ้างว่า สถานการณ์ที่ตกต่ำเช่นนั้นอาจจะทำให้ชนชาติอเมริกาต้องตกเป็นเมืองขึ้นแก่ชาติอื่นในบั้นปลายก็ได้
ครั้นมาในปี 2536 สมาคมเกียรตินิยมทางการศึกษา (PDK) ได้ตีพิมพ์ทำนองประเมินสถานภาพการศึกษาของสหรัฐหลังจากได้มีการตีพิมพ์บทความ "A Nation at Risk" ทำนองวิพากษ์ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว
ทรรศนะต่าง ๆ ที่แสดงออกครั้งนี้ในวารสาร The Kappan ดังกล่าวมีทั้งทรรศนะที่เป็นเชิงปฏิฐานแลเชิงนิเสธ นักการศึกษาบางคนยังเชื่อว่า โรงเรียนของรัฐนั้นมีมาตรฐานใช้ได้ถ้ามองในภาพรวม ส่วนนักการศึกาาคนอื่นยังคงเชื่อต่อไปว่าโรงเรียนของรัฐนั้นยิ่งวันยิ่งตกต่ำในเชิงคุณภาพสู้ของเอกชนไม่ได้
ความคิดขัดแย้งหรือข้อโต้เถียงดังกล่าวนั้นมีนัยสำคัญ ประการหนึ่งคือประชาชนบางกลุ่มต้องการให้มีการตีความใหม่ต่อข้อความที่ประกาศในรัฐธรรมนูญอเมริกันที่ว่าด้วย การแบ่งแยกหรือการวางตนเป็นกลางของรัฐ ระหว่างอาณาจักรและศาสนจักรโดยสิ้นเชิง ซึ่งมีความหมายว่ารัฐไม่สามารถที่จะนำเงินภาษีของราษฎรไปสนับสนุนการศึกษาของเอกชนหรือขององค์การศาสนาได้ นักการศึกษาจำนวนมิใช่น้อยเชื่อว่าการสนับสนุนการศึกษาเอกชนจะทำให้มาตรฐานการศึกษาของชาติสูงขึ้นทั้งนี้เพราะมีการแข่งขันมีการเปรียบเทียบและมีอิสระในการจัดการตามหลักปรัชญาและความเชื่อถือของกลุ่มปัจเจกบุคคล และกลุ่มองค์การศาสนา
สืบเนื่องจากความไม่พอใจของประชาชนต่อโรงเรียนของรัฐซึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2535 The Gallup Organization, Inc. ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับทัศนคติของคนอเมริกันทั่วประเทศด้วยเรื่อง
1. สิทธิของพ่อแม่ผู้ปกครองที่จะเลือกโรงเรียน
2. คุณภาพของโรงเรียนของรัฐ และโรงเรียนคาทอลิกหลังจากทำการศึกษาแล้วได้มีการแถลงผลการสำรวจต่อสโมสรผู้สื่อข่าวแห่งชาติ (National Press Club) และมีการสรุปรายงานที่สภาคองเกรส เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2535 ซึ่งผลสรุปได้ ดังนี้
-
70% ของคนอเมริกันมีความเห็นว่ารัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณก้อนหนึ่งเพื่อให้พ่อแม่ส่งลูกไปโรงเรียนของรัฐ หรือของเอกชน หรือขององค์การศาสนา ตามการเลือกของตน
-
61% ของคนอเมริกันในกลุ่มตัวอย่างต้องการเห็นรัฐบาลแบ่งเงินภาษีส่วนหนึ่งที่ไปสนับสนุนโรงเรียนของรัฐให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง ส่งลูกไปโรงเรียนของรัฐหรือของเอกชน หรือขององค์การศาสนาตามการเลือกของตน
-
ถ้ารัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อการนี้แล้ว เกือบ 60% ของคนอเมริกันต้องการให้งบประมาณดังกล่าวแบ่งให้ครอบครัวทุกระดับไม่ว่าจะมีรายได้น้อยหรือมาก มีเพียง 37% ของคนอเมริกันเท่านั้นที่เชื่อว่างบประมาณดังกล่าว ควรแบ่งให้เฉพาะครอบครัวที่มีรายได้น้อยหรือพอประมาณเท่านั้น
-
64% ของคนอเมริกันมีความเห็นว่าศาลสูงสุด (Supreme Court) ของประเทศควรจะอนุญาตให้รัฐบาลกลางจัดสรรงบประมาณให้ครอบครัวที่ประสงค์จะส่งลูกไปเรียนในโรงเรียนขององค์การศาสนา
-
54% ของคนอเมริกันอ้างว่าตนรับทราบข้อมูลและรู้จักความแตกต่างเกี่ยวกับโรงเรียน ในเขตชุมชนของตนอย่างพอเพียงที่จะสามารถตัดสินใจและเลือกโรงเรียนที่ตนคิดว่าดีที่สุดให้แก่ลูกของตน
-
62% ของคนอเมริกันจัดลำดับให้เกรด A และเกรด B แก่โรงเรียนคาทอลิก ในขณะเดียวกันมีเพียง 24% เท่านั้นที่ให้โรงเรียนของรัฐได้เกรด A และเกรด B
นอกจากนี้ The Gallup Organization, Inc. ยังได้ทำการศึกษาเรื่อง "VOUCHER SYSTEM" หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ "คูปอง" การศึกษา โดยตั้งคำถามให้คนอเมริกันแสดงความคิดเห็น ดังนี้
"ในบางประเทศ รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อการศึกษาของเด็กแต่ละคน ดังนั้นพ่อแม่สามารถส่งลูกไปเรียนโรงเรียนของรัฐหรือโรงเรียนของศาสนาหรือของเอกชนอื่น ตามแต่ตนจะเลือก ระบบนี้เรียกว่า "คูปองการศึกษา" ถามว่า ท่านอยากให้รัฐอเมริกันรับระบบดังกล่าวหรือไม่?" 14สำหรับหลักการใหญ่ ๆ ของการอุดหนุนโรงเรียนเอกชน คือ ความต้องการของเอกชน
- ประชาชนอ้างสิทธิและความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา
- พ่อแม่อ้างสิทธิในการเลือกระบบโรงเรียนให้แก่ลูกของตน
- ประชาชนต้องการจะได้รับการศึกษาตามหลักปรัชญาชีวิตที่ตนยึดถือ
- ประชาชนต้องการมีอิสระในการจัดการ และการให้บริการ ตามความต้องการของตน
- ประชาชนต้องการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพดีกว่าความต้องการของรัฐ
- ประชาชนร่วมรับภาระทางการศึกษา ซึ่งหมายถึงการร่วมลงทุนอันเป็นการแบ่งเบาภาระรายจ่ายของรัฐ
- รัฐต้องการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชน โดยนัยนี้ นักเรียนต้องมีเสรีภาพที่จะถือศาสนาหรือไม่ถือ
ศาสนา (freedom of conscience) ในโรงเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุน
- โรงเรียนต้องมีมาตรฐานตามที่รัฐกำหนด
- โรงเรียนต้องยอมให้มีมาตรการตรวจสอบ (accountability) และมีกรรมการบริหารโรงเรียน
- รัฐต้องการแสดงเจตนาที่จะเคารพสิทธิส่วนบุคคลของประชาชนสำหรับหลักการใหญ่ๆ ของการอุดหนุนโรงเรียนเอกชน คือ ความต้องการของเอกชน
- ประชาชนอ้างสิทธิและความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา
- พ่อแม่อ้างสิทธิในการเลือกระบบโรงเรียนให้แก่ลูกของตน
- ประชาชนต้องการจะได้รับการศึกษาตามหลักปรัชญาชีวิตที่ตนยึดถือ
- ประชาชนต้องการมีอิสระในการจัดการ และการให้บริการ ตามความต้องการของตน
- ประชาชนต้องการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพดีกว่าความต้องการของรัฐ
- ประชาชนร่วมรับภาระทางการศึกษา ซึ่งหมายถึงการร่วมลงทุนอันเป็นการแบ่งเบาภาระรายจ่ายของรัฐ
- รัฐต้องการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชน โดยนัยนี้ นักเรียนต้องมีเสรีภาพที่จะถือศาสนาหรือไม่ถือ
ศาสนา (freedom of conscience) ในโรงเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุน
- โรงเรียนต้องมีมาตรฐานตามที่รัฐกำหนด
- โรงเรียนต้องยอมให้มีมาตรการตรวจสอบ (accountability) และมีกรรมการบริหารโรงเรียน
- รัฐต้องการแสดงเจตนาที่จะเคารพสิทธิส่วนบุคคลของประชาชน
เชิงอรรถ
-
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, รายงานการวิจัยเรื่อง "ประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาของเอกชน", สิงหาคม 2532ม หน้า 1.
-
เพิ่งอ้าง, หน้า 15.
-
แผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2535 แนวนโยบายการศึกษาข้อ 18.
-
แผนการพัมนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) นโยบายข้อ 9 หน้า 38.
-
คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา วันที่ 21 ตุลาคม 2535.
-
Magazine Fratelli di San Gabriele 1983. (September, 1983).
-
George A. Male "Education in the United Kingdom", Encyclopedia Britanica, p. 1321.
-
Ibid, p. 1321.
*บทความเสนอต่อที่ประชุมในการสัมมนาทางวิชาการของสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย วันที่ 29 สิงหาคม – 1 กันยายน 2536 ณ โรงแรมเอเซีย พัทย
*ครู อาจารย์ นักบริหารการศึกษา และนักบริหารการพัฒนา : ภราดา ดร. ประทีป ม.โกมลมาศ
-
Ibid. p. 1329.
-
Cardinal George Basil Hume, "Aims and Priorities of Catholic Education, "Catholic International. Vol. 3 No.2 (January, 1992),p. 74.
-
Ministry of Education, Science and Culture, Government of Japan. A Brief Outline of Education in Japan : Its Present State and Its Reform, (April, 1988), p. 24.
-
Statistics Bureau Management and Coordination Agency. Statistical Handbook of Japan 1987.
-
Ministry of Education. Education Statistics Digest 1991. (November, 1991.). p. 3. and School Council, Ministry of Education. Improving Primary School Education. (March, 1991).
-
The Gallup Organization, Inc., "The People's Pollon Schools and School Choice, "NCEA Notes (October, 1992), p. 2.
-
Delegates to NCCS, "A Radical Commitment to U.S. Catholic Schools," op.cit., p. 64.
*บทความเสนอต่อที่ประชุมในการสัมมนาทางวิชาการของสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย วันที่ 29 สิงหาคม –
1 กันยายน 2536 ณ โรงแรมเอเซีย พัทยา
*ครู อาจารย์ นักบริหารการศึกษา และนักบริหารการพัฒนา : ภราดา ดร. ประทีป ม.โกมลมาศ