นวัตกรรมด้านหลักสูตรและการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา*

นักการศึกษาบางกลุ่มมีความเห็นว่า การสอนที่ดีนั้นมักเกิดขึ้นในระดับประถมและมัธยมศึกษา มากกว่าในระดับอุดมศึกษา ด้วยข้อสังเกตดังกล่าวจึงเห็นว่า นวัตกรรมด้านหลักสูตรและการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา จึงเป็นสิ่งที่น่าจะมีการอภิปรายกันเป็นครั้งคราวตามกาลสมัย 

หลักสูตรบริหารธุรกิจ นับเป้นตัวอย่างนวัตกรรมด้านหลักสูตร ที่พัฒนามาจากวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็น traditional disciplines แขนงสำคัญมากกว่า 200 ปี ในปัจจุบันหลักสูตรบริหารธุรกิจเองก็ต้องการนวัตกรรมเพื่อปรับตัวเองให้ทันต่อสภาพการณ์ของโลกทั้งนี้เพราะ 

"Business demands innovation. There is a constant need to feel around the fingers, to test the edges, but business schools, out of necessity, are condemned to teach the past. " Mark McCormack, from "What They Don't Teach You at Harvard Business School." 

ตัวอย่างหลักสูตรใหม่ ๆ ที่แปลกแหวกแนวจาก traditional disciplines จะพบว่ามีในสหรัฐอเมริกามากกว่าในประเทศอังกฤษ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นแม่แบบของมหาวิทยาลัยในโลกหลายแห่งและเป็นต้นกำเนิดของศาสตร์แขนงสำคัญหลายแขนงความคิดสร้างสรรค์และจิตตารมณ์ของนวัตกรรมที่พบเห็นในสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา สะท้อนให้เห็นถึงสัจธรรมความจริงข้อหนึ่งคือ เสรีภาพทางวิชาการหรืออิสรภาพของการจัดการและการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย และสิ่งที่เป็นผลพวงของสัจธรรมข้อนี้ก็คือ ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัย อ้นนำมาซึ่งคุณประโยชน์ต่อมวลมนุษย์อย่างมหาศาล 

มีเหตุผลหลายประการ ที่เร่งให้สถาบันการศึกษาต้องมีนวัตกรรมเพื่อความอยู่รอดของตนเอง และเพื่อ relevancy ในสถานการณ์ที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง เช่น

  • การแข่งขันกันทางเศรษฐกิจระดับชาติ ในบรรยากาศ ของ interdependent open market economies

  • บรรยากาศทางการเมือง ที่ได้แปรผันไป อันเนื่องมาจากการยุติหรือการผ่อนคลายลงของสงครามเย็น

  • ความเป็นสากลของการอุดมศึกษา และโลกทัน์เปิดกว้างของชุมชนมหาวิทยาลัยทั่วโลก

  • โลกตะวันตกใช้การอุดมศึกษาเป็นสินค้าส่งออก

  • ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ภาคพื้นเอเซีย ภายใต้การนำของประเทศเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่น กำลังเป็นศูนย์การศึกษาใหม่ ดึงดูดความสนใจจากเยาวชนโลกตะวันออกและตะวันตก

  • การพัฒนาและการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของ information technology และ information network

  • การศึกษาวัฒนธรรมและอารยธรรมของชนชาติต่าง ๆ เป็นต้นของชนชาติที่กำลังมีบทบาททางเศรษฐกิจในภูมิภาคหนึ่งภูมิภาคใดของโลกซึ่งกำลังอยู่ในความสนใจของประชาคมโลกและกำลังเป็นสินค้าส่งออกพร้อม ๆ กับ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ฯลฯ

นวัตกรรมด้านหลักสูตร นอกจากจะมีความหมายถึงการทำหลักสูตรให้น่าสนใจน่าเรียนแล้ว ยังหมายถึงการปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลอีกด้วย มหาวิทยาลัยในประเทศอุตสาหกรรมมีความยืดหยุ่นมากในเรื่อง credit transfer และวงการธุรกิจในประเทศเหล่านั้นชอบรับบัณฑิตที่เคยมีประสบการณ์จากต่างประเทศบ้างเข้าทำงาน 

ยิ่งกว่านั้น ความคิดแบบสมัยยุคกลางของยุโรปที่เน้นการศึกษา การค้นคว้าวิจัยส่วนตัว (individual based studies) ดูเหมือนจะค่อย ๆ หมดความหมายไปเสียแล้วในปัจจุบัน บรรยากาศของการอุดมศึกษาก็คือ mobility and massification of study abroad นั่นคือการอุดมศึกษาเปรียบเสมือนตลาดวิชาของโลกที่ใคร ๆ ก็สามารถไปแสวงหาและซื้อได้ตามความชอบความถนัดของตน 

ในส่วนด้านการเรียนการสอน เรามีทฤษฎีการเรียนรู้ รวมทั้ง methodologies ต่าง ๆ ซึ่งมีสอนอยู่ในคณะศึกษาศาสตร์โดยทั่วไป ยังเป็นหลักสำคัญที่น่ายึดถือไว้ ในขณะเดียวกัยความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากคนนอกวงการศึกาาต่อนักการศึกษา ก็เป็นสิ่งที่น่าพึงสำเนียกเอาไว้ด้วย เช่น ได้มีการรายงานใน Asian Wall Street Journal ฉบับวันที่ 11 กันยายน 1990 ว่า Hudson Institute ออกแถลงการณ์ท้าทายนักการศึกษาว่า เขามีเทคโนโลยีที่สามารถทดแทนครูที่เป็นมนุษย์ได้ ซึ่งสมารถให้ผลดีกว่า และราคาถูกกว่าใช้ครูสอน เหตุผลที่เขาอ้างก็คือ ในสหรัฐนั้นห้องเรียนและครูราคาแพงเกินไปและเชื่อช้าที่จะสนองความต้องการของ Information Age ทั้งนี้เพราะสังคมยิ่งวันยิ่งเน้นการเรียนรู้เพื่อระบบการผลิตและผลิตผลบริโภค ผู้อำนวยการสถาบันดังกล่าวยังอ้างอีกว่า เขาได้พิสูจน์แล้วว่า การสอนด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบ telecommunications ผู้เรียนเรียนรู้ได้ไวกว่า และได้ผลดีกว่าเรียนจากครูอาจารย์ที่เป็นมนุษย์ 

วงการศึกษาทั่วไปในปัจจุบันที่ยึดระบบการเรียนการสอนแบบ chalk and talk ไม่ยอมรับความคิดเห็นดังกล่าว ซึ่งระบบการจัดการการศึกษาแบบนี้เป้นระบบผูกขาด ไม่มีคู่แข่งผู้แสวงหาความรู้ไม่มีทางเลือก ซึ่งความจริงแล้ว ในโลกของการศึกษาควรมี alternatives อื่นให้ทดลอง เพื่อแสวงหาสัจธรรมความจริง เช่น การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอน แต่การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาเป็นนวัตกรรมทางการเรียนการสอนนี้จะต้องคำนึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจของสถาบันที่นำมาใช้ด้วย จริงอยู่ค่าเฉลี่ยรายหัวต่อการให้การศึกษาผู้เรียนคนหนึ่งนั้นมีราคมแพงมากอยู่แล้ว* และถ้าต้องการจะรักษามาตรฐานให้สูงต่อไป ค่าเฉลี่ยรายหัวก็ยิ่งสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วย อย่างไรก็ดี Techno-Choice อาจจะเป้นกลยุทธ์ใหม่ เพื่อแก้ปัญหาการศึกษาในเรื่อง economic irrelevancy 

มโนคติของกระแสความคิดในปัจจุบันเกี่ยวกับเรื่องมหาวิทยาลัยที่ปราศจากพรมแดนและห้องเรียนที่ปราศจากกำแพงปิดกั้น สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของเทคโนโลยีในนวัตกรรมด้านการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีสมัยใหม่มีข้อได้เปรียบเชิงกลยุทธ์หลายประการ คือ สามารถปรับตัวของมันให้เข้ากับความต้องการของผู้เรียนเร็วเรียนช้าได้ทุกเมื่อทุกเวลาทุกสถานที่ เมื่อใดที่ผู้เรียนต้องการบริการ ซึ่งใคร ๆ ก็เห็นโดยแจ่มชัดว่า วีดีโอบันทึกบทเรียนคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี และวิชาอื่น ๆ ที่สอนโดยปรมาจารย์ผู้เจนจัดในสาขาวิชาเหล่านั้น มีคุษค่ามหาศาลแก่นักศึกษา โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เรียนช้า มันนำความรู้และการทบทวนวิชาเข้าไปถึงห้องนอนของนักศึกษาทีเดียว 

เทคโนโลยีสามารถทดแทนครูผู้เป็นมนุษย์ได้หมดหรือไม่? ชีวิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมิใช่มีจุดหมายเพื่อแสวงหาวิชาความรู้เท่านั้น นวัตกรรมเลอเลิศสักปานใดคงหนีสัจธรรมที่ว่า บทบาทสำคัญของครูอาจารย์ก็คืออาจารย์ที่ปรึกษา

การเรียนหรือการสอน อะไรสำคัญกว่ากัน? นวัตกรรมด้านการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับการให้ความสำคัญต่อส่วนไหนมากกว่ากัน GABY A. MENDOZA อธิการบดีของ Asian Institute of Management ให้ความเห็นไว้ใน World Executive Digest ฉบับวันที่ 7 ตุลาคม 1990 ว่า
     "Excellence in teaching begins with the realization that it is not teaching but learning that is important"

ผู้บริหารสถาบันการศึกษามักจะเน้นการสรรหาอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิยอดเยี่ยมมาสอนทั้งนี้เพราะเราให้ครูอาจารย์เป็นศูนย์กลางของขบวนการศึกษา ในปัจจุบัน ความสำคัญควรอยู่ที่ว่า "นักศึกษาได้เรียนรู้อะไร และเรียนอย่างไร" ต่างหาก โดยนัยนี้นักศึกษาจะเป็นศูนย์กลางของกระบวนการศึกษา และครูอาจารย์จะมีบทบาทเป็น facilitator มากกว่าเป็นผู้ซึ่งเพียบพร้อมด้วยปรีชาญาณและวิทยาการทั้งปวง ที่จะถ่ายทอดให้แก่ศิษย์หรืออีกนัยหนึ่งครูอาจารย์ควรเป็นผู้จัดการกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา เป็นผู้ชี้นำชี้แนะแหล่งวิทยาการความรู้และข้อมูลรวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่นักศึกษาควรแสวงหาเพื่อการเรียนรู้ 

ในบริบทดังกล่าว MENDOZA กล่าวว่า "ในห้องเรียน function แรกของอาจารย์ก็คือ การสร้างสรรค์ภาวะแวดล้อมที่ส่งเสริมให้นักศึกษากล้าคิด กล้าพูดอย่างเสรี และกล้าแสดงออกอย่างผู้มีปัญญา อาจารย์ต้องกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นหรือความใฝ่รู้ของนักศึกษา รู้จักลับความทรงจำให้แหลมคม ยั่วยุจินตนาการ และสร้างความมั่นใจให้แก่ตนเอง เปิดโอกาสให้นักศึกษาใช้ความคิดริเริ่มทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ให้นักศึกษามีโอกาสเจริญเติบโตขึ้น เปิดโอกาสให้เขาได้ผิดพลาดบ้าง และในที่สุดเขาจะได้มีความรับผิดชอบต่อการพัฒนาตัวเขาเองต่อไป" 

ถ้าเราถามศิษย์เก่าถึงประสบการณ์ที่เขาได้เรียนรู้ จำนวนมากจะตอบว่าเขาเรียนรู้จากนอกห้องเรียนมากกว่าในห้องเรียนหรือตำรา ด้วยเหตุนี้ กิจกรรมเสริมหลักสูตรเป็นของคู่กับกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน นักศึกษาต้องมีโอกาสมาก ๆ ที่จะเรียนรู้จากของจริง นวัตกรรมด้านการเรียนการสอนที่ดีก็คือ การที่นักศึกษาเรียนรู้จาก exposure to real-life situation นี่แหละคือวิธีฝึกให้นักศึกษารู้จักทำงานหนักเป็น รู้จักบังคับตนเป็น เพื่ออุดมการณ์ที่สูงกว่า 

ถ้าจะมีใครขอให้ลำดับตัวอย่างการเรียนการสอนมาให้ดู คงจะต้องเขียนบันทึกไว้หลายเล่มใหญ่ ทั้งนี้ก็เพราะว่าครูอาจารย์แต่ละคนต่างก็คิดหาวิธีการของตนเองที่จะนำสิ่งใหม่ ๆ มาใชเกับการเรียนการสอน มาทำให้ของเก่าดูใหม่ หรือทำของใหม่ขึ้นมาจากฐานเก่าเพื่อสร้างแรงจูงใจ ความน่าสนใจ ความอยากรู้และใฝ่รู้ให้แก่นักศึกษา ความคิดริเริ่มนั้นต่างกับนวัตกรรม ศาสตราจารย์ Theodore Levitt แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด กล่าวว่า 

         "Creativity is Thinking up new things. Innovation is doing new things." 

        ในหนังสือเรื่อง "In Search of Excellence" ผู้ทำวิจัยจากสแตนฟอร์ดได้พูดถึงองค์การใหญ่หลายแห่งไม่มีการพัฒนา หยุดก้าวหน้า พร้อมกับปรารภว่า 

        "The most discouraging fact of big corperate life is the loss of what got them big in the first place : INNOVATION" 

        สถาบันการศึกษาก็เช่นกัน ถ้าเลิก innovating เมื่อใด ไม่ช้าความเฉื่อยชาก็เข้ามาครอบงำ... becoming irrelevant and mediocre at best! 

นวัตกรรม ในที่นี้หมายถึง innovation ในภาษาอังกฤษ

*ตามรายงานจากวารสาร US News & World Report ฉบับวันที่ 15 ตุลาคม 1990 พบว่าค่าเฉลี่ยรายหัวที่มหาวิทยาลัยต้องใช้ไปต่อนักศึกษาหนึ่งคน : Stanford =$61,921 ; Harvard = $46,916 ; Cal Tech = $ 102,262 เป็นต้น


*จุลสาร มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ปีที่ 13 ฉบับที่ 61 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2535).
*ครู อาจารย์ นักบริหารการศึกษา และนักบริหารการพัฒนา : ภราดา ดร. ประทีป ม.โกมลมาศ