ใครจะครองโลกในศตวรรษที่ 21?*

ในขณะที่ศตวรรษที่ 21 กำลังย่างเข้ามา ใครๆ ต่างก็คาดคะเนเรื่องใครจะครองโลกทางเศรษฐกิจยุคใหม่ เราลองมาฟังทรรศนะของ Prof. John Naisbitt ดูบ้าง บางทีอาจช่วยให้เราปรับแผนพัฒนาองค์กรของเราก็ได้

Prof. John Naisbitt เป็น Visiting Fellow ที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และมหาวิทยาลัยมอสโก (Moscow State University) เคยเป็นผู้บริหารลำดับสูงของบริษัทดังๆ หลายแห่ง เช่น IBM เป็นนักแสดงปาฐกถาด้วยเรื่องธุรกิจทั้งในสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชีย ความคิดของอาจารย์ท่านนี้มาจากหนังสือที่ท่านเขียน เช่น Megatrends 2000: Ten new directions for the 1990s. และเรื่อง Global Paradox : The bigger the world Economy, the ore powerful its smallest players (1995)

เป็นเวลาหลายปีแล้ว ที่ใครๆ มักคิดกันว่า บริษัทข้ามชาติหรือ multinational companies จะยึดครองเศรษฐกิจโลกหรือ global economy ณ บัดนี้เราเริ่มมองเห็นแล้วว่ามีสัญญาณบางอย่างที่บอกเราว่าความคิดดังกล่าวเป็นความคิดผิด สิ่งที่เกิด่ขึ้นในยุคนี้คงจะไม่เป็นความจริงอีกแล้วในยุคหน้าหรือในศตวรรษที่ 21

ตัวอย่างเช่น John Naisbitt ผู้ตั้งบริษัท MEGATRENDS LTD. เขาเองมีบริษัทร่วมสาขาถึง 57 แห่งใน 42 ประเทศ แต่เขามีคนทำงานเพียง 4 คน เท่านั้น รวมทั้งตัวเขาเอง Naisbitt บอกว่าถ้ามองการทรรศนะเก่าๆ แล้วใครๆ คงคิดว่าเขาเป็นผู้ยิ่งใหญ่เพราะเป็นเจ้าของบริษัทข้ามชาติ แต่ “I am not big. I am small”

ในโลกยุคใหม่นั้น คำว่า “multinational” มีความหมายใหม่ เพราะฉะนั้นถ้าเราพูดว่า Global Economy จะถูกยึดครองโดยบริษัทข้ามชาติ ยังคงเป็นความจริงอยู่บ้าง (ตามความหมายใหม่) ฉะนั้นเราต้องนิยามกันใหม่ว่า “บริษัทข้ามชาติ” ในอนาคต

ในอนาคตความยิ่งใหญ่ไม่ได้อยู่ที่คนจำนวนมากๆ มีสำนักงานใหญ่ๆ และหลายๆ แห่ง ความหมายของคำว่า “ยิ่งใหญ่” คือ NETWORK หรือ “เครือข่าย” ไม่ใช่ใหญ่แบบอุ้ยอ้าย ถ้าจะเปรียบเห็นจะได้แก่เครื่อง mainframe กับเครื่อง PC กระนั้น

John Naisbitt เล่าให้ฟังว่าเมื่อเขาดูข่าว CNN ซึ่งกำลังรายงานว่าประเทศอุตสาหกรรม G7 กำลังประชุมอยู่ที่นครเนเปิลด้วยเรื่องเศรษฐกิจโลก เขามีความรู้สึกว่า ผู้นำทั้ง 7 ประเทศนั้น เปรียบเสมือนพวกกลุ่ม mainframes กำลังถกเถียงอย่างเอาเป็นเอาตายในโลกของ PC ดูแล้วช่างไม่เข้าท่าเสียนี่กระไร มันไม่ make sense อีกแล้วที่กลุ่ม G7 จะมาจัดการเศรษฐกิจโลกยุคใหม่

สิ่งสำคัญสำหรับโลกของพรุ่งนี้คือ พลังของ big networks การสร้างเครือข่ายระหว่างเอกชนธุรกิจเพราะ NETWORK ไม่จำเป็นต้องเป็นศูนย์กลางหรือ Headquarters ระบบ NETWORK จะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อทุกๆ คนรู้สึกว่าตนเองอยู่ที่ศูนย์กลางนั่นแหละคือ ศูนย์พลังหรือศูนย์อำนาจที่แท้จริง

อำนาจหรือพลังของบริษัทเล็ก

ความจริงอยู่ที่ว่า ในทุกวันนี้เราสามารถผลิตของที่มีคุณภาพเท่าเทียมกันไม่ว่าที่ไหนก้ได้ในโลก เคล็ดลับของการแข่งขันอยู่ที่การเติมใส่นวัตกรรมและความรวดเร็วที่จะส่งสิ่งผลิตนั้นสู่ตลาดต่างหาก

เพราะฉะนั้น บริษัทยักษ์ใหญ่ต้องปฏิรูปตนเอง ทำเป็นรูปกลุ่มบริษัทเล็กๆ มิฉะนั้นจะต้องเลิกกิจการไปในที่สุด

เราลองพิจารณาบริษัทใน Fortune 500 ปัจจุบันครองตลาดเศรษฐกิจในสหรัฐฯ เท่าใด? เราจะแปลกใจถ้าทราบว่าบริษัทใน Fortune 500 นั้น ปัจจุบันเป็นเจ้าของเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อ 20 กว่าปีก่อน เคยเป็นเจ้าของถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ของเศรษฐกิจทั้งหมดในสหรัฐฯ ใครที่มัวแต่อ่าน Fortune 500 และไม่รู้จัก rethink หรือดูให้ดี ไม่ช้าก็จะหลงทาง John Naisbitt คาดคะเนว่าในศตวรรษที่ 21 พวก Fortune 500 จะยึดครองเศรษฐกิจสหรัฐฯ เพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

เราลองมาดูอีกบริษัทหนึ่งคือ บริษัท WESTERN EYE PRESS ใน COLORADO ที่พิมพ์หนังสือจำหน่ายทั่วโลก บริษัทนี้ตีพิมพ์พนังสือ ภาพถ่ายและหนังสือนำเที่ยว สิ่งที่น่าสังเกตเป็นบทเรียนก็คือ บริษัทนี้มีคนทำงานอยู่เพียง 2 คน เท่านั้น ซึ่งก็คือสามีและภรรยา ทั้งสองใช้ Machintosh Computers พิมพ์หนังสือที่ห้องใต้ดินในแฟลตของเขา และใช้ laser printer พิมพ์ camera-read pages ส่งไปยังกรุงโซล ประเทศเกาหลี เพื่อทำการพิมพ์และจำหน่ายไปทั่วโลกอีกต่อหนึ่งลองไตร่ตรองดูว่า Western Eye Press กำลังมีบทบาทใน global economy บนพื้นฐานของบริษัทเล็กและบริษัทกลางได้กระนั้นหรือ? คำตอบง่ายก็คือ เรากำลังทำอยู่แล้ว ลองพิจารณาดูว่าในปัจจุบัน 50 เปอร์เซ็นต์ ของการส่งออกของสหรัฐฯ นั้น ทำโดยบริษัทที่มีคนทำงานเพียง 19 คน หรือน้อยกว่านั้น 7 เปอร์เซ็นต์ ทำการส่งออกโดยบริษัทที่มีคนทำงาน 500 คนขึ้นไป และเราก็ทราบดีว่าสหรัฐฯ เป็นประเทศที่ส่งสินค้าออกใหญ่ที่สุดในโลก

เพราะฉะนั้น สิ่งที่แน่นอนก็คือ ในศตวรรษที่ 21 นั้น global economy หรือเศรษฐกิจโลก จะถูกครอบครองโดยบริษัทระดับเล็กและระดับกลางเป็นส่วนใหญ่ลองดูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นตัวอย่าง มีคนทำงานกี่คน อุตสาหกรรมนี้มีแต่จะขยายตัวขึ้นในศตวรรษที่ 21

ขนาดที่เหมาะสม

เราเคยได้ยินคำกล่าวว่า “Small is Beautiful” แต่ความหมายของคำว่า “เล็ก หรือ จิ๋ว” นั้นในบริษัทนี้หมายความว่า “ขนาดที่เหมาะสม” คงไม่มีใครอุตริที่จะคิดสร้าง Boeing 747 แบบใหม่ในโรงจอดรถบ้านของตนเอง แน่นอนละเราต้องการบริษัทใหญ่ที่จะมาบริหารจัดการกับอุตสาหกรรมเช่นว่านี้ แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในเศรษฐกิจโลกยุคใหม่ก็คือ “ขนาดที่เหมาะสม” ซึ่งมีแนวโน้มจะลดขนาดลงเพื่อให้เกิดพลังที่เข้มแข็งขึ้น การปฏิวัติทาง Telecommunications เป็นต้น ด้านอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดเศรษฐกิจโลกที่เป็นตลาดเดียว ในขณะที่ลดสัดส่วนประกอบของตลาดแต่เข้มแข็งขึ้นในศักยภาพ

บทบาทของบริษัทเล็กในศตวรรษที่ 21

ถ้าบริษัทใหญ่ไม่ปรับโครงสร้างการบริหารของตนให้เล็กลง ให้ไวขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงโอกาสที่บริษัทใหญ่เหล่านั้นจะมีชีวิตรอดในศตวรรษใหม่คงเป็นไปได้ยาก เทคโนโลยีทางโทรคมนาคมของยุคใหม่ สามารถช่วยบริษัทใหญ่กระจายอำนาจการตัดสินใจไปยังหน่วยที่เล็กของตนได้ดี ช่วยลดขั้นตอนการตัดสินใจและช่วยปรับโครงสร้างการบริหารเวลานี้บริษัทใหญ่ๆ กำลังเริ่มทำกันแล้ว คือ สร้างเครือข่ายของพวก entrepreneurs ขึ้นในบริษัทของตน แตกกระจายออกไปเป็นบริษัทเล็กๆ ที่มีอำนาจการตัดสินใจ อยู่ร่วมกับบริษัทแม่ทำนองรูปแบบของสหพันธ์กระนั้น เช่น บริษัท ASEA BROWN BOVERS ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ที่สุดในโลกเรื่อง power engineering ได้แตกตัวเองออกเป็น 1,300 บริษัท โดยมีหน่วยอิสระถึง 5,000 แห่ง เป็นต้น

Jack Welch แห่งบริษัท GE กล่าวว่า “สิ่งที่เราพยายามอย่างสุดขีดที่จะแสวงหามาให้ได้คือจิตวิญญาณของบริษัทเล็ก และความรวดเร็วทันใจของบริษัทเล็กเราต้องการใส่สิ่งเหล่านี้แหละเข้าไปในร่างกายอันใหญ่เทอะทะของเรา”

ในทำนองเดียวกันบริษัท เช่น Xerox, T&T, Coca-Cola, Johnson & Johnson กำลังปฏิรูปตนเองตามแนวปรัชญาใหม่คือ “ขนาดที่เหมาะสม” และ “จิ๋วแต่แจ๋ว”

ดูเหมือนโลกกำลังหมุมไปในทิศทางที่ John Naisbitt พูดถึง เราลองดูสถิติของการจดทะเบียนบริษัทใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ จะพบว่า ในปี 1993 มีบริษัทใหม่จดทะเบียนถึง 880,000 บริษัท เป็นสถิติการเติบโตของบริษัทเล็กๆ ที่มากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ในปีเดียว ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าในสหรัฐฯ นั้น การจดทะเบียนบริษัททำกันภายใน 1 ชั่วโมงก็ได้ จดที่ไหนก็ได้ ตามตำบล อำเภอ โดยทั่วไป โลกของการแข่งขันอย่างสุดเหวี่ยงได้เกิดขึ้นแล้วระหว่างบริษัทเล็กกับบริษัทยักษ์ใหญ่

นี่เป็นทรรศนะของ John Naisbitt แต่ยังมีผู้บริหารระดับสูงของบริษัทยักษ์ใหญ่เช่น IBM ไม่เห็นด้วยกับทรรศนะดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีอาจารย์บางท่านในบางสถาบันได้ออกมาคัดค้านเช่นกัน ส่วนแต่ละท่านคิดอย่างไร เครือข่ายเทคโนโลยีทางโทรคมนาคม เช่น อินเตอร์เน็ต กำลังปฏิวัติวิถีชีวิตของมนุษย์โดยสิ้นเชิง อย่างน้อยคงไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว และสถาบันสำคัญของโลก เช่น การธนาคาร การเงิน จะถูกปฏิรูปตามไปด้วยภายในไม่ช้านี้ 


  *ครู อาจารย์ นักบริหารการศึกษา และนักบริหารการพัฒนา

   *จุลสาร มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ABAC NEWSLETTER ปีที่ 18 ฉบับที่ 95 เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2540 หน้า 2-3