การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

องค์ความรู้เรื่อง เทคนิคการติดตั้ง Proxy สำหรับการใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์นอกเครือข่ายมหาวิทยาลัย 

กิจกรรมครั้งที่ :   2/2560 

หลักการและเหตุผล

           ด้วยสำนักงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศได้เปิดบริการ Proxy  Server สำหรับนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจากนอกมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลออนไลน์ที่สำนักฯ ได้จัดหาเข้ามาให้บริการมาเป็นเวลาหลายปีแล้วนั้น โดยได้กำหนดขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานและถือเป็นแนวปฏิบัติด้วยดีมาตลอด แต่พบว่าในการปฏิบัติงานจริงผู้ให้บริการบางคนยังไม่สามารถแนะนำขั้นตอนและวิธีการ และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดีเท่าที่ควร จึงทำให้การปฏิบัติงานของบุคลากรแต่ละคนยังไม่สามารถปฏิบัติงานให้เป็นแนวทางเดียวกัน

          การจัดการความรู้ครั้งนี้ กล่าวได้ว่าเป็นการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นของการปฏิบัติงานหรือการทำงานร่วมกันของผู้เกี่ยวข้องกับงานบริการและส่งเสริมการใช้บริการของห้องสมุดทั้ง 3 แห่ง ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการการจัดการความรู้สำนักหอสมุดจึงได้จัดทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และหาแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติงานที่เป็นแนวทางเดียวกันได้

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และหาแนวทางแก้ไขปัญหาซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติงานที่เป็นแนวทางเดียวกัน

2. เพื่อเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจในเรื่อง ProxyServer และการติดตั้ง Proxy Server ให้กับผู้ปฏิบัติงาน

3. เพื่อพัฒนากระบวนการบริการและส่งเสริมการใช้บริการของห้องสมุด ให้ได้มาตรฐานเดียวกัน

 

ตัวชี้วัด

1. จำนวนของผู้ปฏิบัติงานรู้และเข้าใจเรื่อง Proxy Server และการติดตั้ง ProxyServer ครบเต็มจำนวนที่เข้าร่วมกิจกรรม

2. ผู้ปฏิบัติงานสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับการติดตั้ง Proxy Server ครบเต็มจำนวนที่เข้าร่วมกิจกรรม 

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

                คณะกรรมการการจัดการความรู้สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

 

สถานที่ดำเนินงาน

                ณ ห้องคอมพิวเตอร์ ชั้น 1 St Gabriel’ Library วิทยาเขตหัวหมาก

ณ ห้องประชุมกลุ่ม ชั้น 5 สำนักหอสมุด อาคาร Cathedral of Learning วิทยาเขตสุวรรณภูมิ

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

1. นายสมศิลป์  ศรีประภัสสร

2. นางวิไล  พฤษปัญจะ

3. นางพัชรากร  สุภาพ

4. นางสาวบุญเจือ  ลิมปนโอสถ

5. นางขนิษฐา  โฆษิตารัตน์

6. นางสาววรรณฑินีย์  แก้วเขียว

7. นางสาวปัญชลิกา อินทนาม

8. นางพัชราภรณ์  ตันติปาลพันธ์

9. นางระวีวรรณ  ภู่ภักดี

10. นางปนัดดา  เนียมจำรัส

11. จันศรี  ผลมีบุญ     

ขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินการ

pic

ประเด็นองค์ความรู้ในการประชุม

          1. หลักการและแนวทางการเข้าถึงฐานข้อมูลออนไลน์นอกเครือข่ายมหาวิทยาลัย

          2ขั้นตอนและวิธีการตั้งค่า (Setting) AU Proxy

2.1 ขั้นตอนและวิธีการตั้งค่า (Setting) AU Proxy บนเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)

2.2 ขั้นตอนและวิธีการตั้งค่า (Setting) AU Proxy บนเครื่องโทรศัพท์มือถือ (Smart phone)

  3. ข้อจำกัดของ AU Proxy

3.1 ขั้นตอนและวิธีการตั้งค่าใช้งานค่อนข้างยุ่งยากตามวิธีการของแต่ละเว็บบราว์เซอร์

3.2 เป็นระบบใช้ได้เฉพาะอุปกรณ์สื่อสารหรือโทรศัพท์มือถือในระบบปฏิบัติการ iOS

3.3 ระบบนี้ไม่รองรับสำหรับอุปกรณ์สื่อสารหรือโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android

3.4 ไม่รองรับอุปกรณ์สื่อสารหรือโทรศัพท์มือถือที่ใช้สัญญาณโทรศัพท์ 3G-4G (ได้เฉพาะ Wi-Fi)

          4ประสบการณ์และการแก้ปัญหาในการให้บริการ

               

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผู้ปฏิบัติงานรู้และเข้าใจ เรื่องการติดตั้ง Proxy  Server  มากขึ้น

2. ผู้ปฏิบัติงานมีแนวทางการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) สามารถแนะนำและช่วยเหลือผู้ใช้ได้มากขึ้น

3. ผู้ปฏิบัติงานได้รับการพัฒนานําไปใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานหรือการทํางานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

 

ดูเอกสารฉบับเต็ม 

ขั้นตอนและวิธีการตั้งค่า (Setting) AU Proxy

1. Internet Explorer on Windows

2. Google Chrome on Windows

3. Firefox on Windows

4. Safari on MAC 

5.  Microsoft Edge

6.  For iPad, iPhone and iPod Touch

ประสบการณ์และการแก้ปัญหาในการให้บริการ