การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

องค์ความรู้เรื่อง : เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศและช่วยการค้นคว้าสำหรับนักวิจัยอย่างมืออาชีพ

กิจกรรมครั้งที่ : 1/2560

หลักการและเหตุผล:

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมีนโยบายรณรงค์ให้บุคลากรของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะบุคลากรสายวิชาการ เช่น อาจารย์ผู้สอน และนักวิจัย ให้ผลิตผลงานการวิจัยมากขึ้น ทั้งนี้จะช่วยให้การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล ส่งผลให้การผลิตผู้สำเร็จการ ศึกษาทุกระดับ การสร้างผลงานวิจัย และการให้บริการทางวิชาการ เกิดประโยชน์สูงสุดและตรงกับความต้องการของสังคมและประเทศชาติอันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพระดับมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง สำนักหอสมุดในฐานะเป็นหน่วยงานสนับสนุนทางวิชาการโดยตรงโดยมีวิสัยทัศน์ในการเป็นศูนย์สารนิเทศที่สนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย  ดังนั้นสำนักสมุดจะต้องจัดเตรียมบุคลากรเพื่อให้บริการแก่อาจารย์ นักวิจัย ตลอดจนนักศึกษาทุกระดับชั้น แต่ปัจจุบันด้วยปริมาณบรรณารักษ์ของสำนักหอสมุดมีจำนวนจำกัด ทำให้ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ แก่ผู้ใช้บริการ ดังนั้นสำนักหอสมุดจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรที่ไม่ได้จบการศึกษาในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์โดยตรงให้มีขีดความสามารถเทียบเท่าบรรณารักษ์ โดยการจัดฝึกอบรมและเตรียมความพร้อมในหน้าที่ความรับผิดชอบต่างๆ ต่อการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการอย่างเต็มที่

จุดมุ่งหมาย:

1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ผู้ปฏิบัติงาน

2. เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ใช้ข้อมูลที่ตรงต่อความต้องการ

3. เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของห้องสมุดในระดับสูงสุด

วันที่และสถานที่จัดกิจกรรม :

วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2560 เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ ห้อง A 11 อาคารอัสสัมชัญ ร.ศ. 200 วิทยาเขตหัวหมาก

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม : 

1. นายสมศิลป์  ศรีประภัสสร

2. นางวิไล  พฤกษปัญจะ

3. นางพัชรากร  สุภาพ

4. นางสาวบุญเจือ  ลิมปนโอสถ

5. นางขนิษฐา  โฆษิตารัตน์

6. นางสาววรรณฑินีย์  แก้วเขียว

7. นางสาวปัญชลิกา อินทนาม

8. นางสาวทองม้วน  เพ็งขำ

9. นางพัชราภรณ์  ตันติปาลพันธ์

วิธีการดำเนินการ :

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยการประชุมระดมสมอง (Workshop/Brainstorming) ของผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบภายใต้งานบริการ และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารนเทศห้องสมุดประเด็นองค์ความรู้ในการประชุม :

1. จัดทำกระบวนการ/ขั้นตอนการปฏิบัติ

2. เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศและช่วยการค้นคว้า

  1) เทคนิคการใช้เครื่องมือช่วยสืบค้นสารนิเทศ (Summon)

  2) เทคนิคการใช้ Google web เชิงลึก  

  3) เทคนิคการใช้ Google scholar

รายงานผลการจัดกิจกรรม : เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศและช่วยการค้นคว้าสำหรับนักวิจัยอย่างมืออาชีพ

กระบวนการ/ขั้นตอนการปฏิบัติสำหรับการบริการช่วยการค้นคว้าต่อนักวิจัย

1) รับข้อคำถาม/ความต้องการของผู้ใช้บริการจากหลากหลายช่องทาง เช่น การติดต่อด้วยตนเอง โทรศัพท์ อีเมล์ เป็นต้น พร้อมทั้งบันทึกคำถามลงแบบฟอร์มและระบบการจัดเก็บข้อมูล

2) การซักถามข้อมูลถึงความต้องการเพื่อให้ได้รับทราบความต้องการที่ชัดเจน

3) วิเคราะห์คำถาม/ความต้องการของผู้ใช้บริการ

4) คิดหาคำค้น (Keyword) ที่จะใช้ในการค้นและเลือกแหล่งที่ใช้ค้น

4.1) สอนวิธีการสืบค้น กรณีที่ผู้ใช้บริการต้องการสืบค้นเอง

4.2) ให้เจ้าหน้าที่สืบค้นให้ผู้ใช้

5) ส่งข้อมูลให้ผู้ใช้บริการ

6) กรณีที่ค้นหาข้อมูลไม่ได้ทันที

6.1) นัดหมายวันที่จะมารับหรือส่งข้อมูลให้ผู้ใช้

6.2) ถ้าไม่มีข้อมูลที่ตรงประเด็นกับความต้องการ แนะนำแหล่งข้อมูลที่ใกล้เคียงให้ผู้ใช้พิจารณา

6.3) กรณีห้องสมุดไม่มีข้อมูลนั้นๆ ห้องสมุดจะทำการสั่งซื้อให้กับผู้ใช้

7)  จัดเก็บสถิติการให้บริการ

เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศและช่วยการค้นคว้า

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้มีการบอกรับ/เป็นสมาชิกของทรัพยากรสารนิเทศออนไลน์เป็นจำนวนมากหลากหลายประเภทได้แก่ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online databases)ตำราอิเล็กทรอนิกส์ (E-Books) วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journals) เป็นต้น ดังนั้นในการสืบค้นข้อมูลเป็นจำนวนมากในแต่ละครั้ง ทำให้มีความยากลำบากต่อการสืบค้นข้อมูลที่ได้ตามสิ่งผู้ใช้ต้องการในเวลาอันรวดเร็วดังนั้นสำนักฯ จึงได้จัดหาเครื่องมือช่วย(Tool) และนำเสนอวิธีการในการสืบค้นข้อมูลเชิงลึก ให้แก่ผู้ใช้บริการห้องสมุด ซึ่งเครื่องมือช่วยค้นที่สำนักฯ นำมาใช้นั้น นอกจากจะสืบค้นจากฐานข้อมูลที่ห้องสมุดเป็นสมาชิกแล้ว ยังสามารถสืบค้นข้อมูลได้จากฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Library OPAC) รวมทั้งรายการสารนิเทศจากฐานข้อมูลอื่นๆที่นอกเหนือจากห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิกด้วย ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการของห้องสมุดในการสืบค้นข้อมูลได้อย่างทั่วถึง และรอบด้านมากที่สุดถึงแม้ข้อมูลบางรายการที่สืบค้นได้อาจจะไม่มีข้อมูลฉบับเต็ม(Full text) ก็ตาม ห้องสมุดก็จะมีกระบวนการเป็นลำดับในการจัดหามาให้แก่ผู้ใช้บริการที่ต้องการข้อมูลฉบับเต็มนั้นๆ 

 

ดูเอกสารฉบับเต็ม 

เทคนิคการใช้เครื่องมือช่วยในการสืบค้นข้อมูล

1) เทคนิคการใช้เครื่องมือช่วยสืบค้นสารนิเทศ (Summon)

2) เทคนิคการใช้ Google web เชิงลึก 

3) เทคนิคการใช้ Google scholar 

การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

องค์ความรู้เรื่อง เทคนิคการติดตั้ง Proxy สำหรับการใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์นอกเครือข่ายมหาวิทยาลัย 

กิจกรรมครั้งที่ :   2/2560 

หลักการและเหตุผล

           ด้วยสำนักงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศได้เปิดบริการ Proxy  Server สำหรับนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจากนอกมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลออนไลน์ที่สำนักฯ ได้จัดหาเข้ามาให้บริการมาเป็นเวลาหลายปีแล้วนั้น โดยได้กำหนดขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานและถือเป็นแนวปฏิบัติด้วยดีมาตลอด แต่พบว่าในการปฏิบัติงานจริงผู้ให้บริการบางคนยังไม่สามารถแนะนำขั้นตอนและวิธีการ และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดีเท่าที่ควร จึงทำให้การปฏิบัติงานของบุคลากรแต่ละคนยังไม่สามารถปฏิบัติงานให้เป็นแนวทางเดียวกัน

          การจัดการความรู้ครั้งนี้ กล่าวได้ว่าเป็นการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นของการปฏิบัติงานหรือการทำงานร่วมกันของผู้เกี่ยวข้องกับงานบริการและส่งเสริมการใช้บริการของห้องสมุดทั้ง 3 แห่ง ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการการจัดการความรู้สำนักหอสมุดจึงได้จัดทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และหาแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติงานที่เป็นแนวทางเดียวกันได้

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และหาแนวทางแก้ไขปัญหาซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติงานที่เป็นแนวทางเดียวกัน

2. เพื่อเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจในเรื่อง ProxyServer และการติดตั้ง Proxy Server ให้กับผู้ปฏิบัติงาน

3. เพื่อพัฒนากระบวนการบริการและส่งเสริมการใช้บริการของห้องสมุด ให้ได้มาตรฐานเดียวกัน

 

ตัวชี้วัด

1. จำนวนของผู้ปฏิบัติงานรู้และเข้าใจเรื่อง Proxy Server และการติดตั้ง ProxyServer ครบเต็มจำนวนที่เข้าร่วมกิจกรรม

2. ผู้ปฏิบัติงานสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับการติดตั้ง Proxy Server ครบเต็มจำนวนที่เข้าร่วมกิจกรรม 

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

                คณะกรรมการการจัดการความรู้สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

 

สถานที่ดำเนินงาน

                ณ ห้องคอมพิวเตอร์ ชั้น 1 St Gabriel’ Library วิทยาเขตหัวหมาก

ณ ห้องประชุมกลุ่ม ชั้น 5 สำนักหอสมุด อาคาร Cathedral of Learning วิทยาเขตสุวรรณภูมิ

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

1. นายสมศิลป์  ศรีประภัสสร

2. นางวิไล  พฤษปัญจะ

3. นางพัชรากร  สุภาพ

4. นางสาวบุญเจือ  ลิมปนโอสถ

5. นางขนิษฐา  โฆษิตารัตน์

6. นางสาววรรณฑินีย์  แก้วเขียว

7. นางสาวปัญชลิกา อินทนาม

8. นางพัชราภรณ์  ตันติปาลพันธ์

9. นางระวีวรรณ  ภู่ภักดี

10. นางปนัดดา  เนียมจำรัส

11. จันศรี  ผลมีบุญ     

ขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินการ

pic

ประเด็นองค์ความรู้ในการประชุม

          1. หลักการและแนวทางการเข้าถึงฐานข้อมูลออนไลน์นอกเครือข่ายมหาวิทยาลัย

          2ขั้นตอนและวิธีการตั้งค่า (Setting) AU Proxy

2.1 ขั้นตอนและวิธีการตั้งค่า (Setting) AU Proxy บนเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)

2.2 ขั้นตอนและวิธีการตั้งค่า (Setting) AU Proxy บนเครื่องโทรศัพท์มือถือ (Smart phone)

  3. ข้อจำกัดของ AU Proxy

3.1 ขั้นตอนและวิธีการตั้งค่าใช้งานค่อนข้างยุ่งยากตามวิธีการของแต่ละเว็บบราว์เซอร์

3.2 เป็นระบบใช้ได้เฉพาะอุปกรณ์สื่อสารหรือโทรศัพท์มือถือในระบบปฏิบัติการ iOS

3.3 ระบบนี้ไม่รองรับสำหรับอุปกรณ์สื่อสารหรือโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android

3.4 ไม่รองรับอุปกรณ์สื่อสารหรือโทรศัพท์มือถือที่ใช้สัญญาณโทรศัพท์ 3G-4G (ได้เฉพาะ Wi-Fi)

          4ประสบการณ์และการแก้ปัญหาในการให้บริการ

               

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผู้ปฏิบัติงานรู้และเข้าใจ เรื่องการติดตั้ง Proxy  Server  มากขึ้น

2. ผู้ปฏิบัติงานมีแนวทางการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) สามารถแนะนำและช่วยเหลือผู้ใช้ได้มากขึ้น

3. ผู้ปฏิบัติงานได้รับการพัฒนานําไปใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานหรือการทํางานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

 

ดูเอกสารฉบับเต็ม 

ขั้นตอนและวิธีการตั้งค่า (Setting) AU Proxy

1. Internet Explorer on Windows

2. Google Chrome on Windows

3. Firefox on Windows

4. Safari on MAC 

5.  Microsoft Edge

6.  For iPad, iPhone and iPod Touch

ประสบการณ์และการแก้ปัญหาในการให้บริการ

การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

องค์ความรู้เรื่อง : วิธีการค้นข้อมูลเกี่ยวกับมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัย อัสสัมชัญ

กิจกรรมครั้งที่   : 1/2561

หลักการและเหตุผล

สำนักหอสมุดเป็นแหล่งรวบรวม จัดเก็บ บำรุงรักษาและเผยแพร่องค์ความรู้/สารนิเทศมหาวิทยาลัยและมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย

ซึ่งจากการดำเนินงานมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 ข้อมูลที่สำนักฯ รวบรวมไว้มีจำนวนมาก มีทั้งข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิ ส่วนหนึ่งได้ถูก

นำมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบแล้ว แต่ยังมีข้อมูลอีกจำนวนหนึ่งที่ยังอยู่ในระหว่างการนำมาบันทึกเข้าสู่ระบบคลังปัญญามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

(AU-IR) จึงจำเป็น ต้องสืบค้นจากแหล่งข้อมูลในรูปแบบเอกสาร (Printed materials) โดยตรง 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และหาแนวทางแก้ไขปัญหาซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติงานที่เป็นแนวทางเดียวกัน

2. เพื่อเพิ่มพูนความรู้และสั่งสมประสบการณ์ในการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

    ให้กับผู้ปฏิบัติงาน

3. เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

ตัวชี้วัด

1. ผู้ปฏิบัติงานสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วขึ้นจากเดิม

ผู้รับผิดชอบโครงการ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

สถานที่ดำเนินงาน

ณ ห้องประชุมกลุ่ม ชั้น 5 สำนักหอสมุด อาคาร Cathedral of Learning วิทยาเขตสุวรรณภูมิ

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

1. นางเบญจภรณ์ อนันต์วณิชย์ชา

2. นายสมศิลป์ ศรีประภัสสร

3. นางวิไล พฤษปัญจะ

4. นางขนิษฐา โฆษิตารัตน์

5. นางสาวบุญเจือ ลิมปนโอสถ

6. นางสาววรรณฑินีย์ แก้วเขียว

7. นางพัชราภรณ์ ตันติปาลพันธ์

8. นางสาวทองม้วน เพ็งขำ

9. นางระวีวรรณ ภู่ภักดี

10. นางปนัดดา เนียมจำรัส

11. นางสาวปราณี รำจวนจร

ขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินการ

ประเด็นองค์ความรู้ในการประชุม

1. วิธีการค้นข้อมูลเกี่ยวกับมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

2. อุปสรรคในการค้นข้อมูล

3. คุณลักษณะที่พึ่งมีของผู้ปฏิบัติงาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผู้ปฏิบัติงานได้รับความรู้และประสบการณ์ในการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

    มากขึ้น

2. ผู้ปฏิบัติงานสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

3. ผู้ปฏิบัติงานมีแนวทางการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) สามารถแนะนำและช่วยเหลือผู้ใช้บริการได้

ดูเอกสารฉบับเต็ม

เทคนิคการใช้เครื่องมือช่วยในการสืบค้นข้อมูล

1) วิธีการค้นข้อมูลเกี่ยวกับมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

2) แหล่งข้อมูล

การจัดการความรู้ (Knowledge Management)
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
องค์ความรู้เรื่อง : เทคนิคการติดตั้ง Proxy ในการใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์นอกเครือข่ายมหาวิทยาลัยสำหรับอุปกรณ์สื่อสาร สมาร์ตโฟน – แท็บเล็ต
กิจกรรมครั้งที่ : 1/2562
หลักการและเหตุผล
จากที่สำนักหอสมุดได้ดำเนินการจัดทำการจัดการความรู้ในปีการศึกษา 2560 (ครั้งที่ 2/2560) ประเด็นเรื่องเทคนิคการติดตั้ง Proxy สำหรับการใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์นอกเครือข่ายมหาวิทยาลัย ในครั้งนั้นได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการตั้งค่า (Setting) AU Proxy บนเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) ซึ่งสามารถช่วยแก้ปัญหาเบื้องต้นการปฏิบัติงานบริการและส่งเสริมการใช้บริการของห้องสมุดได้ แต่ทั้งนี้ยังคงมีปัญหาของผู้ใช้บริการที่ใช้อุปกรณ์สื่อสารประเภทสมาร์ตโฟน – แท็บเล็ตที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) ที่ยังไม่มีวิธีการตั้งค่าสำหรับ AU Proxy และปัจจุบันนี้เทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น สำนักฯ ได้พบวิธีการตั้งค่า AU Proxy สำหรับอุปกรณ์สื่อสารประเภทสมาร์ตโฟน – แท็บเล็ตที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) จึงทำให้เกิดการจัดการความรู้ครั้งนี้ขึ้น เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาที่ยังคงอยู่ดังกล่าวข้างต้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และหาแนวทางแก้ไขปัญหาซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติงานที่เป็นแนวทางเดียวกัน
2. เพื่อเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจในเรื่อง Proxy Server และการติดตั้ง Proxy Server ให้กับผู้ปฏิบัติงาน
3. เพื่อพัฒนากระบวนการบริการและส่งเสริมการใช้บริการของห้องสมุด ให้ได้มาตรฐานเดียวกัน

ตัวชี้วัด
1. จำนวนของผู้ปฏิบัติงานทราบและเข้าใจเรื่องการติดตั้ง Proxy Server ครบเต็มจำนวนที่เข้าร่วมกิจกรรม
2. ผู้ปฏิบัติงานสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับการติดตั้ง Proxy Server ครบเต็มจำนวนที่เข้าร่วมกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ
คณะกรรมการบริหารงานสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ


สถานที่ดำเนินงาน
ณ ห้องคอมพิวเตอร์ ชั้น 1 สำนักหอสมุด วิทยาเขตหัวหมาก (St. Gabriel’ Library)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
1. นายสมศิลป์ ศรีประภัสสร
2. นางวิไล พฤษปัญจะ
3. นางพัชรากร สุภาพ
4. นางสาววรรณฑินีย์ แก้วเขียว
5. นางสาวปัญชลิกา อินทนาม
6. นางพัชราภรณ์ ตันติปาลพันธ์
7. นางระวีวรรณ ภู่ภักดี
8. นางปนัดดา เนียมจำรัส
9. นางจันศรี ผลมีบุญ
10. นางสาวธิติมา คล้ายปาน
11. นายสมยศ ใยมา
12. นางสำรวย โตศาสตร์
13. นางประภาภรณ์ โสกูล

ขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินการ

ประเด็นองค์ความรู้ในการประชุม
1. หลักการและแนวทางการเข้าถึงฐานข้อมูลออนไลน์นอกเครือข่ายมหาวิทยาลัย
2. ขั้นตอนและวิธีการตั้งค่า (Setting) AU Proxy สำหรับอุปกรณ์สื่อสาร สมาร์ตโฟน – แท็บเล็ต โดยแยกออกเป็น 2 วิธีการ คือ
2.1 ขั้นตอนและวิธีการตั้งค่า (Setting) AU Proxy บนสมาร์ตโฟน - แท็บเล็ตที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android
2.2 ขั้นตอนและวิธีการตั้งค่า (Setting) AU Proxy บนสมาร์ตโฟน - แท็บเล็ตที่ใช้เครือข่ายโทรศัพท์ไร้สาย 3G / 4G

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้ปฏิบัติงานรู้และเข้าใจ เรื่องการติดตั้ง Proxy Server มากขึ้น
2. ผู้ปฏิบัติงานมีแนวทางการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) สามารถแนะนำและช่วยเหลือผู้ใช้ได้มากขึ้น
3. ผู้ปฏิบัติงานได้รับการพัฒนาและนําไปใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานหรือการทํางานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 

ขั้นตอนและวิธีการตั้งค่า (Setting) AU Proxy

1. Android for Wifi
2. Firefox Proxy for 3G,4G

ดูเอกสารฉบับเต็ม

1. เทคนิคการติดตั้ง Proxy ในการใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์นอกเครือข่ายมหาวิทยาลัยสำหรับอุปกรณ์สื่อสาร สมาร์ตโฟน - แท็บเล็ต

2. ความพึงพอใจด้านการจัดการความรู้สำนักหอสมุด