การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

องค์ความรู้เรื่อง : เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศและช่วยการค้นคว้าสำหรับนักวิจัยอย่างมืออาชีพ

กิจกรรมครั้งที่ : 1/2560

หลักการและเหตุผล:

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมีนโยบายรณรงค์ให้บุคลากรของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะบุคลากรสายวิชาการ เช่น อาจารย์ผู้สอน และนักวิจัย ให้ผลิตผลงานการวิจัยมากขึ้น ทั้งนี้จะช่วยให้การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล ส่งผลให้การผลิตผู้สำเร็จการ ศึกษาทุกระดับ การสร้างผลงานวิจัย และการให้บริการทางวิชาการ เกิดประโยชน์สูงสุดและตรงกับความต้องการของสังคมและประเทศชาติอันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพระดับมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง สำนักหอสมุดในฐานะเป็นหน่วยงานสนับสนุนทางวิชาการโดยตรงโดยมีวิสัยทัศน์ในการเป็นศูนย์สารนิเทศที่สนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย  ดังนั้นสำนักสมุดจะต้องจัดเตรียมบุคลากรเพื่อให้บริการแก่อาจารย์ นักวิจัย ตลอดจนนักศึกษาทุกระดับชั้น แต่ปัจจุบันด้วยปริมาณบรรณารักษ์ของสำนักหอสมุดมีจำนวนจำกัด ทำให้ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ แก่ผู้ใช้บริการ ดังนั้นสำนักหอสมุดจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรที่ไม่ได้จบการศึกษาในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์โดยตรงให้มีขีดความสามารถเทียบเท่าบรรณารักษ์ โดยการจัดฝึกอบรมและเตรียมความพร้อมในหน้าที่ความรับผิดชอบต่างๆ ต่อการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการอย่างเต็มที่

จุดมุ่งหมาย:

1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ผู้ปฏิบัติงาน

2. เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ใช้ข้อมูลที่ตรงต่อความต้องการ

3. เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของห้องสมุดในระดับสูงสุด

วันที่และสถานที่จัดกิจกรรม :

วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2560 เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ ห้อง A 11 อาคารอัสสัมชัญ ร.ศ. 200 วิทยาเขตหัวหมาก

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม : 

1. นายสมศิลป์  ศรีประภัสสร

2. นางวิไล  พฤกษปัญจะ

3. นางพัชรากร  สุภาพ

4. นางสาวบุญเจือ  ลิมปนโอสถ

5. นางขนิษฐา  โฆษิตารัตน์

6. นางสาววรรณฑินีย์  แก้วเขียว

7. นางสาวปัญชลิกา อินทนาม

8. นางสาวทองม้วน  เพ็งขำ

9. นางพัชราภรณ์  ตันติปาลพันธ์

วิธีการดำเนินการ :

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยการประชุมระดมสมอง (Workshop/Brainstorming) ของผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบภายใต้งานบริการ และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารนเทศห้องสมุดประเด็นองค์ความรู้ในการประชุม :

1. จัดทำกระบวนการ/ขั้นตอนการปฏิบัติ

2. เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศและช่วยการค้นคว้า

  1) เทคนิคการใช้เครื่องมือช่วยสืบค้นสารนิเทศ (Summon)

  2) เทคนิคการใช้ Google web เชิงลึก  

  3) เทคนิคการใช้ Google scholar

รายงานผลการจัดกิจกรรม : เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศและช่วยการค้นคว้าสำหรับนักวิจัยอย่างมืออาชีพ

กระบวนการ/ขั้นตอนการปฏิบัติสำหรับการบริการช่วยการค้นคว้าต่อนักวิจัย

1) รับข้อคำถาม/ความต้องการของผู้ใช้บริการจากหลากหลายช่องทาง เช่น การติดต่อด้วยตนเอง โทรศัพท์ อีเมล์ เป็นต้น พร้อมทั้งบันทึกคำถามลงแบบฟอร์มและระบบการจัดเก็บข้อมูล

2) การซักถามข้อมูลถึงความต้องการเพื่อให้ได้รับทราบความต้องการที่ชัดเจน

3) วิเคราะห์คำถาม/ความต้องการของผู้ใช้บริการ

4) คิดหาคำค้น (Keyword) ที่จะใช้ในการค้นและเลือกแหล่งที่ใช้ค้น

4.1) สอนวิธีการสืบค้น กรณีที่ผู้ใช้บริการต้องการสืบค้นเอง

4.2) ให้เจ้าหน้าที่สืบค้นให้ผู้ใช้

5) ส่งข้อมูลให้ผู้ใช้บริการ

6) กรณีที่ค้นหาข้อมูลไม่ได้ทันที

6.1) นัดหมายวันที่จะมารับหรือส่งข้อมูลให้ผู้ใช้

6.2) ถ้าไม่มีข้อมูลที่ตรงประเด็นกับความต้องการ แนะนำแหล่งข้อมูลที่ใกล้เคียงให้ผู้ใช้พิจารณา

6.3) กรณีห้องสมุดไม่มีข้อมูลนั้นๆ ห้องสมุดจะทำการสั่งซื้อให้กับผู้ใช้

7)  จัดเก็บสถิติการให้บริการ

เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศและช่วยการค้นคว้า

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้มีการบอกรับ/เป็นสมาชิกของทรัพยากรสารนิเทศออนไลน์เป็นจำนวนมากหลากหลายประเภทได้แก่ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online databases)ตำราอิเล็กทรอนิกส์ (E-Books) วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journals) เป็นต้น ดังนั้นในการสืบค้นข้อมูลเป็นจำนวนมากในแต่ละครั้ง ทำให้มีความยากลำบากต่อการสืบค้นข้อมูลที่ได้ตามสิ่งผู้ใช้ต้องการในเวลาอันรวดเร็วดังนั้นสำนักฯ จึงได้จัดหาเครื่องมือช่วย(Tool) และนำเสนอวิธีการในการสืบค้นข้อมูลเชิงลึก ให้แก่ผู้ใช้บริการห้องสมุด ซึ่งเครื่องมือช่วยค้นที่สำนักฯ นำมาใช้นั้น นอกจากจะสืบค้นจากฐานข้อมูลที่ห้องสมุดเป็นสมาชิกแล้ว ยังสามารถสืบค้นข้อมูลได้จากฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Library OPAC) รวมทั้งรายการสารนิเทศจากฐานข้อมูลอื่นๆที่นอกเหนือจากห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิกด้วย ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการของห้องสมุดในการสืบค้นข้อมูลได้อย่างทั่วถึง และรอบด้านมากที่สุดถึงแม้ข้อมูลบางรายการที่สืบค้นได้อาจจะไม่มีข้อมูลฉบับเต็ม(Full text) ก็ตาม ห้องสมุดก็จะมีกระบวนการเป็นลำดับในการจัดหามาให้แก่ผู้ใช้บริการที่ต้องการข้อมูลฉบับเต็มนั้นๆ 

 

ดูเอกสารฉบับเต็ม 

เทคนิคการใช้เครื่องมือช่วยในการสืบค้นข้อมูล

1) เทคนิคการใช้เครื่องมือช่วยสืบค้นสารนิเทศ (Summon)

2) เทคนิคการใช้ Google web เชิงลึก 

3) เทคนิคการใช้ Google scholar