การศึกษาเอกชนและนโยบายการอุดหนุนของรัฐ*

บทนำ

คงเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า การศึกษาเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่ช่วยมนุษย์ให้หลุดพ้นจากความยากจนข้นแค้น และความโง่เขลาเบาปัญญา ด้วยเหตุนี้การศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน

ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการจัดการศึกษาในประเทศที่เจริญแล้วเราจะพบว่าการศึกษา เอกชนมีบทบาทเป็นผู้บุกเบิก ผู้ริเริ่มก่อนที่รัฐจะเข้ามารับหน้าที่จัดการศึกษาโดยตรง ซึ่งขึ้นอยู่กับความพร้อมตามครรลองของการวิวัฒนาการของแต่ละประเทศ

ในปัจจุบัน รัฐบาลแต่ละประเทศถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญของรัฐที่จะต้องรับภาระการจัดการศึกษาของชาติแต่ถึงกระนั้นก็ตาม รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย เป็นต้นในสังคมที่เป็นพหุนิยม (Pluralism) รัฐไม่ผูกขาดการจัดการศึกษาแต่ผู้เดียว ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงเจตนาที่จะเคารพต่อสิทธิส่วนบุคคลของประชาชนทุกกลุ่มทุกเหล่า อันเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน

การศึกษาเอกชนในประเทศไทยและนโยบายการอุดหนุนของรัฐ

ส่วนในประเทศของเรานั้น รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยได้แถลงไว้อย่างชัดเจนว่า "รัฐแต่เพียงผู้เดียวคงไม่อาจรับภาระในการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอ เพราะความจำกัดในดานทรัพยากร รัฐจึงเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมรับภาระในการจัดการศึกษาได้ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ในของเขตที่รัฐกำหนด" 1

การที่รัฐบาลไทยมีทรรศนะเป็นสากลนั้น อาจจะสืบเนื่องมาจากประเพณีซึ่งมีมาพร้อมกับความเป็นชาติไทย ที่เอกชนได้มีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาของชาติมาเป็นระยะเวลายาวนาน "นับตั้งแต่สมัยล้านนาไทยและสุโขทัยเป็นต้นมาโดยมิได้มีการกำหนด เป็นระเบียบแบบแผนแต่อย่างใด เริ่มแรกนั้นการจัดการศึกษาจะจัดขึ้นเฉพาะในวัง วัด และบ้าน มีพระภิกษุหรือเจ้านายในราชนิกูลเป็นผู้สอนวิชาการอ่านและเขียนหนังสือไทย วิชาเลขและขนบธรรมเนียมประเพณี ผู้เรียนส่วนใหญ่มาจากราชตระกูลหรือครอบครัวขุนนาง สำหรับประชาชนทั่วไปมีโอกาสได้รับการศึกษาน้อยมาก นอกจากได้รับการถ่ายทอดวิชาชีพภายในครัวเรือนต่อมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2199-2231) ได้มีคณะมิชชันนารีนิกายโรมันคาทอลิกชาวฝรั่งเศสเข้ามาเผยแพร่ศาสนา และได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดตั้งโรงเรียนขึ้นเพื่อทำการสอนภาษาและวิชาการสมัยใหม่แก่ประชาชน ชาวไทยนอกเหนือไปจากการเผยแพร่ศาสนาที่เรียกกันว่าโรงเรียนสามเณร และถือได้ว่าเป็นการจัดตั้งโรงเรียนราษฎร์ขึ้นเป็นครั้งแรก โรงเรียน สามเณรนี้ได้รับความนิยมมาก แต่ภายหลังกิจการได้หยุดชะงักลงชั่วคราวเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 จนถึงสมัยกรุงธนบุรี และกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น 2

เราจะเห็นว่า ประวัติศาสตร์การจัดการศึกษาของเอกชนในประเทศไทย ตามที่อ้างอิงมาข้างต้นนั้น เป็นประวัติศาสตร์ที่น่าประทับใจอย่างยิ่งที่เห็นผองไทยทุกหมู่เหล่าให้ความสำคัญต่อการศึกษา และยิ่งกว่านั้น เรายังเห็นความมีทรรศนะกว้างไกลของพระประมุขที่อนุญาตให้คณะมิชชันนารี ร่วมภาระจัดการศึกษาได้ด้วย

ในปัจจุบัน รัฐได้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเอกชนไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2535 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลพอสรุปได้ ดังนี้

ส่งเสริมให้เอกชนจัดการศึกษาทุกระดับเพิ่มขึ้นให้มีอิสระและคล่องตัวในการบริหารและการจัดการสามารถพึ่งตนเองได้โดยรัฐให้การสนับสนุนด้านวิชาการทรัพยากรการอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานและการรับรองมาตรฐาน 3

สนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และให้มากขึ้น โดยเฉพาะการศึกษาที่นอกเหนือจากการศึกษาที่เป็นความต้องการเฉพาะของกลุ่มคน 4

ส่งเสริมบทบาทเอกชนในการร่วมจัดการศึกษาในทุกระดับให้มากยิ่งขึ้น 5

จากนโยบายดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่ารัฐมีเจตนารมย์อย่างแน่วแน่ที่จะสนับสนุนเอกชนให้จัดการศึกษาในทุกระดับให้มากยิ่งขึ้น โดยรัฐจะช่วยเหลือทั้งด้านวิชาการ ทรัพยากรและการอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน

ทั้งนี้ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ได้กำหนดมาตรการไว้ 3 ประการ และมาตรการหนึ่ง คือ

 ส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนทางการศึกษาเอกชน โดยจะไม่ขยายการศึกษาในพื้นที่และในสาขาที่เอกชนสามารถจัดได้อย่างเพียงพอและมีคุณภาพดีอยู่แล้วพร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนาการศึกษา โดยการให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการตลอดจนทรัพยากรอื่น ๆ ตามความเหมาะสม

การศึกษาเอกชนในต่างประเทศและนโยบายการอุดหนุนของรัฐ

1. ในยุโรป

การศึกษาขั้นพื้นฐานในยุโรปนั้น เริ่มมีมาตั้งแต่คริสตศตวรรษแรก โดยเริ่มจากวัดและวังดังเช่นในประเทศไทย และค่อย ๆ วิวัฒนาการขึ้นเป็นการอุดมศึกษาอย่างเห็นได้ชัด ในคริสตศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา ส่วนการประถมศึกษาและมัธยมศึกษานั้นเริ่มจัดเป็นรูปแบบค่อนข้างชัดเจนขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 16 โดยคณะนักบวชและราชสำนักต่าง ๆ เป็นต้นในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งคงความเป็นศูนย์กลางของความเจริญทางศิลปะและวัฒนธรรมของยุโรปเป็นเวลาหลายร้อยปีจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2

1.1 ฝรั่งเศส

จากเอกสาร "Landmarks Along A Century" ของ Fratelli di San Gabriele ฉบับเดือนกันยายน 1983 พอจะสรุปได้ว่า 6

รัฐบาลฝรั่งเศสได้ตรากฎหมายส่งเสริมการศึกษาเอกชนฉบับแรกในปี ค.ศ. 1850 กฎหมายฉบับนั้นเรียกว่า Falloux Law ซึ่งเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนแก่โรงเรียนเอกชน

ในปี 1881-1886 รัฐบาล Republican ในสมัยนั้นได้ออกกฎหมายหลายฉบับภายใต้ชื่อ Jules Ferry ซึ่งเป็นกฎหมายที่ห้ามสอนศาสนาในโรงเรียนเทศบาลแต่ไม่ห้ามสำหรับโรงเรียนเอกชน

ปี 1941 รัฐบาล Vichy ได้ให้การรับรองการศึกษาคาทอลิกเป็นครั้งแรกและให้เงินสนับสนุนโรงเรียนคาทอลิกทั่วไป

ปี 1951 Marie & Baranger Laws เป็นกฎหมายที่อนุมัติ ความช่วยเหลือทางการเงินโดยตรงแก่ครอบครัวฝ่ายทางโรงเรียน และยังอนุมัติเงินสนับสนุนนักเรียน (State endowment) ในโรงเรียนเอกชนเป็นพิเศษ ในสมัยนั้นมีนักเรียนระดับประถม 18% มัธยมต้น 23% และมัธยมปลายถึง 35% อยู่ในความรับผิดชอบของการศึกษาคาทอลิก โดยไม่รวมถึงนักเรียนของการศึกษาเอกชนอื่น

ปี 1959 กฎหมาย Debre' Law ซึ่งกำหนดให้การศึกษาเอกชนทำพันธะสัญญากับรัฐได้ 2 แบบ (contract) ซึ่งเรียกว่า simple contract และ association contract ตามกฎหมายฉบับนี้ รัฐเป็นผู้รับผิดชอบเรื่อง เงินเดือนครูทั้งหมด ส่วนโรงเรียนเอกชนมีสิทธิที่จะเลือกรับเงินอุดหนุนเป็นบางส่วน หรือรับอุดหนุนเต็มในเรื่อง "งบดำเนินการ" ของโรงเรียน

ปี 1977 กฎหมาย Guermeur Law ให้การรับรองการศึกษาเอกชนและอนุมัติเงินอุดหนุน ตามสิทธิทุกประการเช่นเดียวกับโรงเรียนรัฐบาล

ในปัจจุบัน การศึกษาเอนของฝรั่งเศสนั้นเป็นของการศึกษาคาทอลิกถึง 98% ซึ่งมีการบริหารเป็นรูปของสภาระดับชาติ

กฎหมายปี 1959 และ 1977 ระบุไว้อย่างชัดเจนถึงสิทธิของครู และความสัมพันธ์ระหว่างครูกับโรงเรียนเอกชนตามนัยดังกล่าว ครูคือลูกจ้างโดยตรงของรัฐบาลและมีสิทธิประโยชน์อื่นเช่นข้าราชการทั่วไป กฎหมายสำคัญทั้ง 2 ฉบับ ยังคงมีผลใช้บังคับในปัจจุบัน ความช่วยเหลือที่รัฐให้แก่ครอบครัวเป็นที่พอใจของประชาชนโดยทั่วไป ข้อจำกัดของกฎหมายก็คือกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้เป็นกฎหมายเดียวกันที่ใช้กับโรงเรียนของรัฐและเอกชน

นัยสำคัญ ของ Simple Contract

80% ของโรงเรียนประถมของเอกชน อยู่ในพันธะสัญญาแบบ Simple Contract กับรัฐบาล โดยนัยนี้เทศบาลท้องถิ่นเป็นผู้จ่ายงบดำเนินการให้โดยคิดเป็นรายหัวเท่ากับนักเรียนในโรงเรียนของเทศบาล

 ตั้งแต่ปี 1975 เป็นต้นไป โรงเรียนประถมจำนวนมากพยายามแปรสภาพเป็น Association Contract เพื่อต้องการจะขึ้นโดยตรงต่อกระทรวงศึกษาธิการ

โรงเรียน

โรงเรียนประถมมีอิสระ (autonomy) ในการจัดการและดำเนินการตามหลักวิชาครูตามที่กำหนดโดยการศึกษาชาติ

ผู้บริหารโรงเรียนได้รับการแต่งตั้งจากองค์การศาสนาเอง หรือจากหน่วยงานเอกชนที่ตนสังกัดอยู่

 ครู

ครูได้รับเงินเดือนโดยตรงจากรัฐ แต่ไม่ใช่ข้าราชการ ครูจะต้องอยู่ภายใต้ระเบียบของโรงเรียนเอกชน

ครูต้องมีวุฒิครูตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

ครูที่อยู่ในระบบ Simple Contract ไม่มีพันธะสัญญา (Contract) กับรัฐมีแต่ Agreement เท่านั้น

นัยสำคัญ ของ Association Contract

สถาบัน

ตามสัญญานี้รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการเป็นคู่สัญญากับโรงเรียนเอกชนโดยนัยนี้เงินอุดหนุนเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีซึ่งมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายและถึงแม้ว่าได้เซ็นสัญญาแบบ Association Contract ก็ตาม โรงเรียนมีอิสรภาพ (autonomy) พอควร เช่น

        - กรรมการบริหารโรงเรียนมีสิทธิแต่งตั้งผู้อำนวยการโรงเรียน รัฐบาลไม่ใช่ผู้แต่งตั้ง
        - ผู้บริหารโรงเรียนทำการคัดเลือกครูเอง และแต่งตั้งครูตามตำแหน่ง ต่าง ๆ ภายในโรงเรียน
        - ผู้บริหารโรงเรียนมีอิสระในการจัดการเรียนการสอน ภายใต้หลักสูตรที่กำหนดโดยการศึกษาชาติ
        - ผู้บริหารโรงเรียนสามารถดำเนินการจัดการตามหลักปรัชญาความเชื่อถือที่เป็นลักษณะพิเศษของโรงเรียนนั้น ๆ

ปัจจุบันโรงเรียนมัธยมขององค์การศาสนาแทบทั้งหมดอยู่ภายใต้ Association Contract

ครู

ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้คัดเลือกเอง ถ้าเป็นโรงเรียนของศาสนา การคัดเลือกต้องได้รับคำแนะนำจากสภาการศึกษาของศาสนานั้น แต่รัฐเป็นผู้จ่ายเงินเดือนทั้งหมดให้แก่ครูทุกคน

   ถึงแม้ว่าครูโรงเรียนเอกชนไม่ใช่ข้าราชการก็ตาม แต่ก็มีสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เท่าเทียมครูของรัฐ

   ครูจะได้รับความก้าวหน้าในอาชีพครู เป็นไปตามคุณวุฒิและผลงาน เช่นเดียวกับครูของรัฐ

   และครูโรงเรียนเอกชนจะเกษียณอายุ ตามอายุราชการของครูของรัฐ และมีสิทธิได้รับสวัสดิการและเงินทุนต่าง ๆ เช่นเดียวกับครูของรัฐ

   การสัมภาษณ์เกี่ยวกับการศึกษาเอกชนของฝรั่งเศส

   ข้อมูลต่อไปนี้ ได้จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนเอกชนในปี 2532

   สถิติโรงเรียน

โรงเรียนเอกชนทั่วไปฝรั่งเศสมีนักเรียนประมาณ 2 ล้านกว่าคน อีกประมาณ 7 ล้านคน อยู่ในโรงเรียนของรัฐ

ลักษณะโรงเรียน

        - โรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่เป็นขององค์การ ศาสนา และมูลนิธิ ได้รับเงินอุดหนุนมาก รัฐควบคุมมาตรฐานอย่างเข้มงวด
        - โรงเรียนเอกชนแท้ ๆ ซึ่งมีเป็นส่วนน้อยมาก มีอิสระในการบริหารมากกว่าโรงเรียนเอกชนประเภทแรก เพราะได้รับเงินอุดหนุนน้อยกว่า และรัฐควบคุมน้อยกว่าและบางแห่งไม่ได้รับเลย

การอุดหนุนของรัฐ

   โรงเรียนเอกชนทุกประเภทต้องทำพันธะสัญญากับรัฐแบบใดแบบหนึ่ง
        - Simple Contract
        - Association Contract

   โรงเรียนทุกโรงมีสิทธิที่จะเลือกทำสัญญาแบบหนึ่งแบบใดก็ได้

   Simple Contract

โรงเรียนเอกชนที่ทำพันธะกับรัฐแบบนี้ จะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐ ในรูปของเงินเดือนครู ตามวุฒิ และตำแหน่งหน้าที่ในโรงเรียน

โรงเรียนเอกชนประเภทนี้มีน้อยมาก เพราะเก็บค่าเล่าเรียนแพง และต้องรับผิดชอบ สวัสดิการครูเอง ต้องมีงบลงทุนเอง รัฐไม่ให้การอุดหนุนด้านการลงทุนใด ๆ โรงเรียนต้องมีชื่อเสียงและมีบริการดีจึงอยู่ได้

   Association Contract

   โรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นโรงเรียนขององค์การศาสนาทำพันธะสัญญาแบบ Association Contract

   รัฐให้การอุดหนุนเต็มที่ คือ รัฐจ่ายเงินเดือนครูทุกคน พร้อมด้วยสวัสดิการดังเช่นครูรัฐบาล

งบส่วนหนึ่งของการลงทุนด้านก่อสร้างอาคารเรียน อุปกรณ์การเรียน ได้รับเงินช่วยเหลือจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด และจากรัฐ

    โรงเรียนเอกชนประเภทนี้ มักเก็บค่าเล่าเรียนระหว่าง 50-60 แฟรงค์ต่อเดือน

   โรงเรียนของรัฐและเอกชน

ในประเทศฝรั่งเศส รัฐมีนโยบายให้การศึกษาฟรีเป็นเวลา 12 ปี แก่นักเรียนทุกคนที่ปรารถนาจะเข้าโรงเรียนรัฐบาล และรัฐต้องหาที่เรียนให้เด็กทุกคน ด้วยเหตุนี้โรงเรียนของรัฐจึงมีนักเรียนมาก แออัด และขาดระเบียบวินัยและการเอาใจใส่อย่างดีจึงทำให้ประชาชนนิยมโรงเรียนเอกชน เพราะนักเรียนมีความสัมฤทธิผลทางการศึกษาดีกว่า และมีวินัยในการเรียนดีกว่า

โรงเรียนของรัฐไม่มีโอกาสคัดเด็กเข้าเรียนเพราะมีกฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคสำหรับทุกคนเป็นมาตรการควบคุม

ส่วนโรงเรียนเอกชนนั้น มีโอกาสคัดเลือกเด็กเข้าเรียน มีการสอนเสริม และซ่อมเสริมตามความจำเป็น จึงเป็นที่นิยมของผู้ปกครอง

   ความเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและผู้ปกครอง

ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนมีความเห็นว่า ระบบการอุดหนุนโรงเรียนเอกชนของประเทศเบลเยี่ยมดีกว่าของฝรั่งเศส กล่าวคือรัฐบาลประเทศเบลเยี่ยมให้การศึกษาฟรี 12 ปี แก่เด็กเบลเยี่ยมทุกคน

ผู้ปกครองเป็นผู้ตัดสินใจเลือกโรงเรียนรัฐ หรือเอกชนเองไม่ว่าเด็กจะไปโรงเรียนประเภทใด ผู้ปกครองไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน

   มาตรฐานการศึกษาระหว่างโรงเรียนรัฐและเอกชนทัดเทียมกัน

   1.2 อังกฤษ

การพัฒนาระบบการศึกษาสำหรับปวงชนในประเทศอังกฤษเป็นไปอย่างล่าช้ากว่าในประเทศฝรั่งเศส เยอรมันนี และสหรัฐอเมริกา7 ซึ่งได้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเป็นระบบในต้นคริสตศตวรรษที่ 19 ส่วนในประเทศอังกฤษนั้น รัฐบาลยังไม่มีนโยบายส่งเสริมการศึกษา ปล่อยให้เป็นเรื่องของเอกชน เพราะฉะนั้นคนอังกฤษส่วนใหญ่มักไม่มีการศึกษาขั้นพื้นฐาน8 ลูกๆ ของกรรมกรต้องไปพึ่งโรงเรียนการกุศล ซึ่งจัดขึ้นโดยองค์การศาสนา และมีจำนวนไม่เพียงพอแก่ความต้องการของประชาชน ส่วนคนชั้นกลางและคนชั้นสูงนั้นเข้าโรงเรียนเอกชน ซึ่งเก็บค่าเล่าเรียนในยุคดังกล่าวนี้ โรงเรียนขององค์การศาสนาทั้ง 2 นิกาย โปรแตสตันท์ และคาทอลิก เกิดขึ้นมากมายหลายพันโรงเรียน จนกระทั่งในปี 1833 รัฐสภาของอังกฤษได้จัดสรรงบประมาณก้อนหนึ่งสนับสนุนโรงเรียนเหล่านี้ เพื่อการศึกษาของลูกชนชั้นกรรมกร

ในปี 1840 Horace Mann นักการศึกษาอเมริกันได้เดินทางไปยุโรปและทำการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพการศึกษาของอังกฤษพบว่าล้าหลังประเทศเยอรมันนีมากและรู้สึกไม่สบายใจที่เห็นรัฐบาลอังกฤษไม่จัดระบบการศึกษาให้ทัดเทียมกับประเทศในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส

ในปี 1861 Matthew Arnold (1822-1888) นักประพันธ์และจินตกวีและนักวิจารณ์สังคมชาวอังกฤษได้วิพากษ์โรงเรียนในอังกฤษว่ามีมาตรฐานต่ำกว่าโรงเรียนในประเทศยุโรปมาก ยกเว้นโรงเรียน Eton และ Horrow ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาระดับชั้นหนึ่งของประเทศ ที่ได้รับการสถาปนาขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 17

เมื่อสังเกตเห็นความก้าวหน้าทางการศึกษาในสหรัฐอเมริกาและในยุโรป คนอังกฤษเริ่มวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของตนมากขึ้น เป็นผลทำให้มีการประกาศกฎหมายว่าด้วยการศึกษา ขึ้นพื้นฐานฉบับแรกเรียกว่า Education Act 1870 ตามกฎหมายดังกล่าวประเทศอังกฤษ ยอมรับระบบ dual system of education คือการรับรองกลุ่มโรงเรียนของรัฐ และกลุ่มโรงเรียนขององค์การศาสนานิกายต่าง ๆ และทั้งสองกลุ่มโรงเรียน สามารถเก็บค่าเล่าเรียนต่อไป และมีสิทธิได้รับการอุดหนุนจากภาษีท้องถิ่น

ต่อมามีการประกาศ Education Act 1891 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ยกเลิกการเก็บค่าเล่าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐและส่งเสริมให้โรงเรียนเอกชนทำเช่นเดียวกันโดยรัฐสัญญาจะให้เงินสนับสนุนแทนทั้งหมด

ผลสืบเนื่องมาจากกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ทำให้มีโรงเรียนเกิดขึ้นมากมาย ต่อมาในปี 1900 รัฐสภาอังกฤษประกาศยกเลิกคณะกรรมการจังหวัด ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลโรงเรียนขององค์การศาสนาทั้งหมด โดยให้ไปสังกัดกระทรวงการศึกษาแห่งชาติ (Ministry of National Education) ซึ่งเพิ่งตั้งขึ้นในปี 1899 และให้โรงเรียนมีสิทธิได้รับเงินสนับสนุนจากภาษีท้องถิ่น เช่นเดิม

กฎหมายการศึกษาของอังกฤษฉบับต่อ ๆ มา เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการขยายโอกาสทางการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา เช่น กฎหมายการศึกษาปี 1936, 1939 และ 1944 เป็นต้น

กฎหมาย Education Act 1944 เป็นกฎหมายที่คนอังกฤษถือว่าเป็นก้าวสำคัญที่ได้พัฒนาการศึกษาของอังกฤษไปสู่คุณภาพและมาตรฐาน กล่าวคือ ได้มีการพูดถึงการจัดหาอุปกรณ์การศึกษาอย่างพอเพียง การให้บริหารแก่นักเรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างของปัจเจกบุคคล ในด้านต่าง ๆ ตลอดจนการให้โอกาสอย่างเสมอภาคและสถานที่ ๆ เอื้อต่อการเรียนการสอนและพอเพียง ถึงแม้จะมีการปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงบางส่วนของกฎหมายฉบับนี้ตามกาลเวลาก็ตามแต่กฎหมายฉบับ 1944 ยังคงเป็นหลักอันมีผลบังคับใช้จนถึงทุกวันนี้

โรงเรียนเอกชนและโรงเรียนขององค์การศาสนาในอังกฤษ

 รัฐบาลอังกฤษนิยามโรงเรียนเอกชน (private school) ว่าเป็น independent school เพราะเป็นโรงเรียนที่ไม่ได้รับการอุดหนุนจากภาษีของประชาชน

 ส่วนโรงเรียนขององค์การศาสนา (โปรแตสตันท์และคาทอลิก) หรือเกี่ยวข้องกับองค์การศาสนาเรียกว่า maintained schools เนื่องจากโรงเรียนประเภทนี้ได้รับเงินสนับสนุนจากภาษี

ประมาณ 6-7% ของนักเรียนระดับประถมและมัธยมอยู่ในโรงเรียนเอกชนประเภท independent schools โรงเรียนประเภทนี้เก็บค่าเล่าเรียน จากการสำรวจในปี 1981 ปรากฏว่ามีโรงเรียนประเภทนี้ถึง 2411 แห่ง

นอกจากนี้แล้วยังมีโรงเรียนเอกชนอีกประเภทหนึ่งประมาณ 100 กว่าโรงเรียนซึ่งเป็นโรงเรียนประเภท independent schools ระดับชั้นนำมีชื่อเสียงมากเก็บค่าเล่าเรียนแพงมาก เป็นโรงเรียนของชนชั้นสูงและพวกชั้นกลาง

ถึงแม้โรงเรียนเอกชนประเภท independent schools ไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐก็ตาม แต่รัฐบาลมีนโยบายให้ทุนการศึกษาแก่เด็กยากจนที่จะย้ายจากโรงเรียนของรัฐไปเรียน โรงเรียนเอกชนที่มีชื่อเสียง เช่นในปี 1983 มีนักเรียน 4,982 คน จากโรงเรียนของรัฐได้รับทุนจากรัฐบาลไปเรียนในโรงเรียนเอกชนที่มีชื่อเสียง9 เป็นต้น

มีนักเรียนประมาณ 20% ทั้งระดับประถมและมัธยมอยู่ในโรงเรียนขององค์การศาสนา (maintained schools) ทั้งโปรแตสตันท์ และคาทอลิก ซึ่งมีประมาณ 5,000 โรงเรียน (1982) โรงเรียนประเภทนี้ ไม่เก็บ ค่าเล่าเรียน เพราะได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐเต็ม รัฐเป็นผู้จ่ายเงินเดือนครูทั้งหมด และยังช่วยพัฒนาโรงเรียนเป็นค่างบลงทุนถึง 85% ของการลงทุนอีกด้วย โดยรัฐตั้งข้อแม้ไว้ว่า โรงเรียนที่รับเงินอุดหนุนจากภาษีท้องถิ่นต้องมีคณะกรรมการบริหารโรงเรียน และโรงเรียนต้องเคารพเสรีภาพการถือศาสนาของนักเรียน (freedom of conscience)

โรงเรียนทุกประเภทอยู่ในความดูแลและควบคุมของรัฐบาล รัฐบาลโดยทางกระทรวงศึกษาธิการอาจสั่งปิดโรงเรียนนั้นๆ ไม่ได้มาตรฐานถึงแม้จะเป็นโรงเรียนที่ไม่ได้รับเงินอุดหนุนก็ตาม ความจริงนั้นระบบโรงเรียนในประเทศอังกฤษมีลักษณะหลากหลายอีกมากที่ไม่ได้เขียนไว้ในที่นี้ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากขนบธรรมเนียมประเพณีดั่งเดิมที่ยึดถือมาแต่กาลก่อน

โรงเรียนในอังกฤษมีสิทธิและอิสระที่จะบริหารและจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาความเชื่อถือของคนโดยรัฐไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวก้วยถ้าหากหลักสูตรที่ใช้ในโรงเรียนนั้น ๆ ได้รับการรับรองแล้ว เพราะฉะนั้นประเทศอังกฤษจึงมีปรัชญาการศึกษาที่เป็นพหุนิยม ซึ่งนักการศึกษาบางกลุ่มเรียกว่า "commonsense philosophy."

สถิติโรงเรียนขององค์การศาสนา (คาทอลิก) ในประเทศอังกฤษประจำปี 1991 10        

CATHOLIC SCHOOLS IN ENGLAND AND WALES

 

 

Number of School

 

Boys

 

Girls

 

Boys

 

Girls

 

Total

Maintained Primary Schools

 

1,909

 

188,590

 

185,910

 

20,103

 

20,116

 

414,719

Maintained Secondary Schools

 

413

 

121,071

 

124,256

 

19,588

 

21,688

 

286,603

Independent Schools

 

222

 

15,922

 

16,869

 

10,736

 

21,383

 

65,110

Special Schools

 

17

 

296

 

167

 

573

 

247

 

1,283

         TOTAL

 

2,561

 

325,879

 

327,202

 

51,200

 

63,434

 

767,715

   (1991 statistics-Source: Catholic Education Service of the Bishops’ Conference of England and Wales)

หมายเหตุ โรงเรียนและนักเรียนขององค์การศาสนานิกายโปรแตสตันท์มีมากกว่าของคาทอลิก แต่ไม่ได้นำเสนอ ณ ที่นี้เพราะไม่มีข้อมูล

นอกจากฝรั่งเศส และอังกฤษแล้ว ยังมีโรงเรียนเอกชนอื่น ๆ ในยุโรปที่ได้รับเงินอุดหนุนทางการศึกษาจากรัฐบาล เช่น เบลเยี่ยม สเปน และสวิตเซอร์แลนด์ แต่ไม่ได้นำมารายงาน ณ ที่นี้ 

   2. ในเอเชีย        

   2.1 ญี่ปุ่น

 เมื่อปี 1988 Mr. Akinori Shimotori ผู้อำนวยการ Science council ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการของประเทศญี่ปุ่น ได้เสนอรายงานอย่างย่อเกี่ยวกับระบบการศึกษาในญี่ปุ่น และหลักของการปฏิรูปการศึกษามีความตอนหนึ่งว่า

"เนื่องจากรัฐบาลเห็นความสำคัญของการศึกษาเอกชน รัฐบาลแห่งชาติจึงได้จัดสรรงบประมาณไว้สนับสนุนการศึกษาเอกชน รัฐบาลท้องถิ่น (Prefecture) อุดหนุนงบดำเนินการของโรงเรียนเอกชน และรัฐบาลแห่งชาติสนับสนุนส่วนหนึ่งของรายจ่ายทางการศึกษาของแต่ละท้องถิ่น" 11

ถ้าเราดูสถิติของโรงเรียนและนักเรียนในประเทศญี่ปุ่น เราจะพบว่าเอกชนมีบทบาทในการจัดการศึกษาระดับอนุบาลศึกษา และระดับมัธยมปลาย กับอุดมศึกษา ทั้งนี้ก็เพราะการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถมและมัธยมต้น) เป็นการศึกษาให้เปล่า โรงเรียนมากกว่า 90% เป็นของรัฐในระดับนี้

   สถิติโรงเรียนเอกชนในญี่ปุ่น ปี 2529 12 

 

No. of schools

No. of students

total

private

total

private

Kindergartens

15,189

8,874

2,018,585

1,530,840

Elementary School

24,982

170

10,665,413

60,142

Junior High Schools

11,190

595

6,105,755

182,989

Senior High School

5,461

1,296

5,259,463

1,474,025

Junior Colleges

548

459

396,455

3,573,336

Universities

465

334

1,879,532

1,362,389

Colleges of Technology

62

4

49,174

3,437

การสัมภาษณ์กลุ่มผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในโตเกียวและโอซาก้า ปี พ.ศ. 2529
   ลักษณะของโรงเรียนเอกชน 
โรงเรียนเอกชนในญี่ปุ่นแทบทั้งหมดเป็นขององค์การ ศาสนา มูลนิธิ สมาคม หรือบริษัทโรงเรียนเอกชนมีสิทธิ

- รับนักเรียนตามระเบียบของโรงเรียนเอง

- วัดผลการศึกษาเองในทุกระดับ ประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย        

ในประเทศเกาหลี และไต้หวัน สถานภาพของการศึกษาเอกชนมีลักษณะเป็นดังเช่นในประเทศญี่ปุ่น คือสถาบันการศึกษาเอกชนดำเนินกิจการเป็นรูปองค์การ จึงทำให้มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือ

   มาตรฐานการศึกษา        

ผู้ดูแลมาตรฐานการศึกษา คือ กระทรวงศึกษาธิการ        

ในเชิงปฏิบัติ หน่วยงานที่ควบคุมมาตรฐานของการศึกษาคือ มหาวิทยาลัย       

มาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนของรัฐ และของเอกชนวัดจากจำนวนนักเรียนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้        

ยังมีโรงเรียนเอกชนอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนน้อยมาก ที่ให้บริการแก่นักเรียนที่สอบเข้าที่ใดไม่ได้

   ค่าเล่าเรียน        

โรงเรียนของรัฐไม่เก็บค่าเล่าเรียน ในระดับการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งมี 9 ปี ด้วยกัน (ประถม 6 ปี, มัธยมต้น 3 ปี)        

ส่วนในระดับมัธยมปลายนั้น นักเรียนไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน แต่เสียเพียงค่าบำรุงการศึกษาเล็กน้อยเท่านั้น        

โรงเรียนเอกชนเก็บค่าเล่าเรียนในทุกระดับ (อนุบาล ประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย)

ในเมื่อโรงเรียนของรัฐไม่เก็บค่าเล่าเรียนทำไมจึงมีคนสมัครใจเข้าโรงเรียนเอกชน?        

ในประเทศญี่ปุ่นนั้น โรงเรียนเอกชนเป็นที่นิยมของผู้ปกครอง (เป็นต้นในระดับมัธยมปลาย) เนื่องจากโรงเรียนเอกชนมีสถิติผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นเลิศ โรงเรียนเอกชนหลายแห่งติดอันดับหนึ่งในสิบของประเทศ

   โรงเรียนของรัฐ มีที่เรียนพอหรือไม่?       

มีที่เรียนพอเสมอในโรงเรียนของรัฐจึงไม่เกิดปัญหานักเรียนยากจนไม่มีที่เรียนในโรงเรียนของรัฐ

  โรงเรียนเอกชนมีสิทธิขึ้นค่าธรรมเนียมการเรียนตามใจชอบหรือไม่?        

โดยหลักการแล้ว โรงเรียนเอกชนมีสิทธิที่จะขึ้นค่าเล่าเรียนตามใจชอบ แต่ในทางปฏิบัตินั้น โรงเรียนเอกชนไม่ทำเช่นนั้น เนื่องจากโรงเรียนเอกชนแทบทั้งหมดเป็นขององค์การ ศาสนา มูลนิธิ และสมาคม เพราะฉะนั้นนโยบายการขึ้นค่าเล่าเรียนหรือค่าธรรมเนียมการเรียนจึงขึ้นอยู่กับคณะกรรมการบริหารองค์การต่าง ๆ        

ในทางปฏิบัตินั้น โรงเรียนจะจับกลุ่มกันและปรึกษากันด้วยเรื่องการขึ้นค่าเล่าเรียนนโยบายหลักคือ ขึ้นค่าเล่าเรียนทุก 2 ปี และขึ้นเพียงเล็กน้อย ตามดรรชนีอัตราค่าครองชีพ โดยรัฐบาลจะประกาศดรรชนีค่าครองชีพประจำปีและโรงเรียนก็จะปรับค่าเล่าเรียนตามดรรชนีดังกล่าว       

การขึ้นค่าเล่าเรียนจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐเสียก่อน        

ตามความเป็นจริงนั้น โรงเรียนไม่ต้องการขึ้นค่าเล่าเรียนสูง เพราะจะทำให้ผู้ปกครองเดือดร้อน และรัฐเองก็ไม่ปรารถนาที่จะเป็นโรงเรียนขึ้นค่าเล่าเรียนสูงเกินไปเพราะรัฐยังคงให้เงินอุดหนุนโรงเรียนอยู่        

มีโรงเรียนเอกชนไม่กี่แห่งที่มุ่งแสวงกำไร โดยเก็บค่าเล่าเรียนสูงมาก โรงเรียนประเภทนี้ไม่รับเงินอุดหนุนจากรัฐ โรงเรียนเอกชนบางประเภท เช่น โรงเรียนสอนวิชาการดนตรี จะเก็บค่าเล่าเรียนสูงมาก       

ยิ่งกว่านั้นถ้ามองอีกแง่หนึ่ง การขึ้นค่าเล่าเรียนจะถูกควบคุมโดยการร้องทุกข์ของผู้ปกครอง

   มีการเรียกเก็บเงินกินเปล่าหรือไม่?        

ไม่มี แต่ถ้าโรงเรียนมีโครงการสร้างตึก หรือโครงการพัฒนาโรงเรียน สมาคมผู้ปกครองเป็นผู้จัดการเรื่องนี้น

โยบายการให้เงินอุดหนุนแก่โรงเรียนเอกชน        

   รัฐให้เงินอุดหนุนแก่โรงเรียนเอกชน ประมาณ 25%-35% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด        

   การคำนวนเงินอุดหนุนนั้น รัฐพิจารณาจาก

        - จำนวนครู (ถ้ามีครูมากไป รัฐจะแนะให้ลดจำนวนครูลง)

        - จำนวนนักเรียน

        - ห้องสมุด

        - facilities ต่าง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์การศึกษาตัวอย่างการรับเงินอุดหนุน (โรงเรียนมัธยมโชวา) โรงเรียนเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากนักเรียนแต่ละคน ดังนี้

         - ค่าเล่เรียน                  = 300,000.- เยน ต่อปี (ประมาณ 54,545 บาท)

         - ค่าอุปกรณ์เล่าเรียน      = 200,000.- เยน

         - ค่าบำรุงโรงเรียน          = 120,000.- เยน (อัตราแตกต่างกันไปแต่ละโรงเรียนบางแห่งไม่มี)

   รัฐให้เงินอุดหนุนเป็นรายหัว = 180,000.- เยน (อัตราการอุดหนุนขึ้นอยู่กับอัตราค่าธรรมเนียมการเรียนที่โรงเรียนเรียกเก็บ)

   รวมเป็นค่าใช้จ่ายรายหัว    = 800,000.- เยน        

   โรงเรียนของรัฐในระดับเดียวกันกับโรงเรียนเอกชนโชวา

   นักเรียนเสียค่าบำรุงการศึกษา     = 150,000 เยนต่อปี

   รัฐต้องจ่ายเพิ่มให้อีกคนละ          = 700,000 เยนต่อปี

   รวมค่าใช้จ่ายเป็นรายหัว            = 850,000 เยนต่อปี        

ข้อที่น่าสังเกตก็คือ ถึงแม้รัฐบาลญี่ปุ่น ไม่มีนโยบายควบคุมการเก็บค่าเล่าเรียนของโรงเรียนเอกชนก็จริง แต่ก็ไม่มีโรงเรียนเอกชนใดกล้าเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนตามใจชอบ ทั้งนี้เพราะกลไกของตลาดการศึกษาควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

   ครูโรงเรียนเอกชน        

รัฐห้ามโรงเรียนเอกชนจำหน่ายครูออกก่อนเกษียณ การจำหน่ายครูออกเป็นเรื่องยุ่งยากมาก และดูแทบจะเป็นไปไม่ได้

เพราะฉะนั้นผู้บริหารโรงเรียนต้องคัดเลือกครูให้ดี ก่อนจะรับบรรจุเป็นครู 

ถ้าครูเกิดประพฤติตนไม่เหมาะสม โรงเรียนจะต้องรับสภาพนั้นตลอดไป 

โรงเรียนจึงต้องจัดทำระบบ ทำ service education อย่างสม่ำเสมอให้แก่ครูเพื่อปรับคุณภาพของครู

รัฐไม่จ่ายเงินเดือนครู แต่รัฐจ่ายเงินอุดหนุน

โรงเรียนโรงเรียนจ่ายบำเหน็จให้แก่ครู พอครูเริ่มบรรจุ ครูต้องส่งเงินสะสมมายังโรงเรียน โรงเรียนจะสมทบให้อีกส่วนหนึ่งเท่ากับครู

โรงเรียนต้องประกันชีวิต และประกันสวัสดิการการเจ็บป่วยให้แก่ครู

โรงเรียนจะต้องจ่าย โบนัส เป็นเงินเท่ากับเงินเดือน 4 เดือนต่อปี

ส่วนเงินบำนาญนั้น รัฐเป็นผู้จ่ายให้หลังออกจากโรงเรียนเมื่ออายุ 65 ปี

ตามความเห็นชอบคนทั่วไป มีความเห็นว่า ครูมีเงินเดือนสูงกว่าอาชีพอื่น ๆ อีกมากมาย

หมายเหตุ การสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน ได้ทำขึ้นในปี พ.ศ. 2529 ต่อมาในปี 2536 ได้มีการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนอีกกลุ่มหนึ่ง และพบว่านโยบายการอุดหนุนโรงเรียนเอกชนของรัฐยังเหมือนเดิม ตัวเลขที่นำเสนอเป็นตัวอย่างในที่นี้อาจจะเปลี่ยนแปลงบ้างสำหรับปัจจุบัน        

   2.2 สิงคโปร์ 

เมื่อเดือนมีนาคม 2534 ประเทศสิคโปร์ได้มีการแถลงนโยบายปรับปรุงการประถมศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่และรับบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถม-มัธยม-อาชีวะ) ทั้งนี้เพื่อวางรากฐานการเตรียมกำลังคนเพื่อเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา โดยมีเป้าหมายที่จะเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพรับกับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี นโยบายที่ชัดเจนดังกล่าวได้ถูกตีพิมพ์เป็นเอกสารแบบ "ธรรมนูญการศึกษา" Dr. Tony Tan Keng Yam, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ (1985-1991) ได้แถลงเป็นอารัมภบทว่า        

"สิ่งที่ไม่เปลี่ยแปลงก็คือพันธะสัญญาของเราต่อการพัฒนาจนถึงขีพจำกัดของสติปัญญาและสมรรถภาพของเด็กแต่ละคน เพื่อว่าเขาจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่รู้จักรับผิดชอบ มีความจงรักภักดีต่อประเทศชาติ มีความตระหนักถึงครอบครัวของเขาและสามารถหาเลี้ยงชีพเองได้" 13        

โดยนโยบายดังกล่าว เด็กทุกคนจะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานคนละ 10 ปี เป็นอย่างน้อย คือประถมศึกษา 6 ปี และมัธยมศึกษาอีก 4 ปี ทั้งนี้รวมทั้งเด็กทุกคนไม่ว่าจะเรียนที่โรงเรียนของรัฐหรือของเอกชน

   การสัมภาษณ์ฟเกี่ยวกับการศึกษาเอกชนของสิงคโปร์        

   จากการสรุปการสัมภาษณ์ประธานชมรมโรงเรียนเอกชนในสิงคโปร์ ปี 2532 พบว่า

   สถิติโรงเรียน        

   รัฐ   :   เอกชน =  82   :   18

   โรงเรียนเอกชนมี 2 ประเภท

        - โรงเรียนราษฎร์รัฐอุปถัมภ์ (Government - aided - school)

        - โรงเรียนเอกชน (Independent School)        

   โรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่เป็นประเภท 1 คือ โรงเรียนราษฎร์รัฐอุปถัมภ์

   โรงเรียนราษฎร์รัฐอุปถัมภ์ (Government-aided-school)        

   รัฐจ่ายเป็นรายหัวนักเรียน ให้แก่โรงเรียนเอกชน ดังนี้

            ระดับประถม    =     $ 2.30 (สิงคโปร์ดอลล่าร์) / เดือน

            ระดับมัธยม     =     $ 3.80 / เดือน        

   รายหัวที่รัฐจ่ายให้นี้ สำหรับเป็นค่าบำรุงรักษาและค่าซ่อมแซม ค่าไฟฟ้า น้ำประปา ฯลฯ จ่ายเป็นรายเดือน 12 เดือนต่อปี        

   นักเรียนต้องเสียค่าเรียนเอง        

   ระดับประถม

            ค่าเล่าเรียน           = $ 3.00 (คนต่างชาติ = 25.00) / เดือน

            ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด = $ 4.00 / เดือน        

   ระดับมัธยม

            ค่าเล่าเรียน           =$ 5.00 (คนต่างชาติ = 50.00) / เดือน

            ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด =$ 5.50 / เดือน

   หมายเหตุ    เงินค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดนั้น โรงเรียนเก็บสะสมไว้เป็นเงินของโรงเรียน

รัฐมีนโยบายให้เงินอุดหนุน เพื่อพัฒนาโรงเรียนอย่างไรบ้าง? 

นอกจากการอุดหนุนเป็นรายหัวแล้ว รัฐยังมีนโยบายที่จะให้งบพัฒนาโรงเรียนอีก เช่น การสร้างอาคารเรียน และการซ่อมอาคารเรียน โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนเป็นข้อกำหนดอัตราการช่วยเหลือ

โรงเรียนที่มีผลการสอบ Entrance เข้ามหาวิทยาลัยแห่งชาติ มากกว่าครึ่งหนึ่ง เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ถ้าจะมีการสร้างอาคารใหม่ จะได้รับเงินช่วยถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของราคางบลงทุนใหม่ 

โรงเรียนที่มีผลการสอบ Entrance ต่ำกว่าที่กำหนด ถ้าจะมีการลงทุนสร้างอาคารหรือซ่อมแซมอาคาร จะได้รับเงินช่วยเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ของงบลงทุนใหม่ 

   ใครเป็นผู้จ่ายเงินเดือนครู?

รัฐเป็นผู้จ่ายเงินเดือนครูแต่ผู้เดียว ครูในโรงเรียนราษฎร์รัฐอุปถัมภ์จะได้รับการช่วยเหลือด้านสวัสดิการต่างๆ เหมือนครูของรัฐ 

   โรงเรียนเอกชน (independent school) 

   รัฐบาลช่วยอุดหนุนโรงเรียนเอกชนหรือไม่?

รัฐจ่ายเป็นรายหัวให้แก่โรงเรียนประเภทดังกล่าวเป็นเงิน $ 2,800 .- ต่อคนต่อปี 

นักเรียนของโรงเรียนเอกชนประเภทนี้ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการเรียนเท่าใด?      

ค่าธรรมเนียมการเรียน = $ 25.00 ต่อคนต่อเดือน

ในปี 1990 ค่าธรรมเนียมการเรียนจะขึ้นเป็น = $ 50.00 / เดือน

นอกจากนี้ นักเรียนยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมอื่นอีกเล็กน้อย เช่น ค่าเรียนคอมพิวเตอร์ ค่าเรียนภาษาที่ 3 

นอกจากนี้แล้วรัฐยังมีนโยบายอุดหนุนโรงเรียนเอกชนประเภท independent school อะไรอีกบ้าง? 

ในเรื่องของการสร้างตึก และซื้ออุปกรณ์การศึกษา รัฐให้การสนับสนุนแบบเดียวกับโรงเรียนประเภท government aided schools

ในปี 2536 ได้มีการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนอีกกลุ่มหนึ่งและพบว่านโยบายการอุดหนุนโรงเรียนเอกชนของรัฐยังเหมือนเดิม โดยส่วนรวม สิ่งที่เพิ่มเติมคือรัฐบาลสิงโปร์ยุคปัจจุบัน มีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนใดที่มีโครงการพัฒนา โรงเรียนไม่ว่าจะเป็นด้านอุปกรณ์การศึกษาหรือการก่อสร้างจะได้รับเงินเป็นงบลงทุนถึง 90% แต่ปัญหาอยู่ที่โรงเรียนเอกชนเอง ไม่ค่อยมีโครงการอะไรใหม่ ๆ เสนอรัฐบาลเพื่อการสนับสนุนนี้ 

ความจริงนั้น ยังมีอีกประเทศในภาคพื้นเอเซียและแปซิฟิคที่มีนโยบายสนับสนุนการศึกษาเอกชนอีกมาก เช่น อินเดีย มาเลเซีย ฮ่องกง และเกาหลี เป็นต้น แต่ไม่ได้นำมาเสนอ ณ ที่นี้ 

   3. ในสหรัฐอเมริกา 

ปัญหาโรงเรียนในสหรัฐอเมริกาและนโยบายการอุดหนุน 

เมื่อ 10 ปีก่อนได้มีการตีพิมพ์เอกสาร "A Nation at Risk" ในวารสาร The Kappan ของสมาคมเกียรตินิยมทางการศึกษา (PDK) ซึ่งเป็นเอกสารที่วิพากษ์วิจารณ์การศึกษา ระดับประถมมัธยมของอเมริกาว่ามีมาตรฐานต่ำกว่าของประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำทั้งหลาย เอกสารฉบับนี้เป็นที่กล่าวขวัญและได้รับการอภิปรายในทุกวงการการศึกษา มีการติเตียนมาตรฐานการศึกษาในโรงเรียนของรัฐเป็นอย่างมากและประชาชสส่วนใหญ่เริ่มไม่พอใจกับผลผลิตและกระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียนของรัฐ ความไม่พอใจของประชาชนในเรื่องนี้ยิ่งวันยิ่งขยายวงกว้างออกไปจนอาจมีผลต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีในอนาคตก็ได้ เพราะในเอกสารดังกล่าวมีการกล่าวอ้างว่า สถานการณ์ที่ตกต่ำเช่นนั้นอาจจะทำให้ชนชาติอเมริกาต้องตกเป็นเมืองขึ้นแก่ชาติอื่นในบั้นปลายก็ได้ 

ครั้นมาในปี 2536 สมาคมเกียรตินิยมทางการศึกษา (PDK) ได้ตีพิมพ์ทำนองประเมินสถานภาพการศึกษาของสหรัฐหลังจากได้มีการตีพิมพ์บทความ "A Nation at Risk" ทำนองวิพากษ์ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว 

ทรรศนะต่าง ๆ ที่แสดงออกครั้งนี้ในวารสาร The Kappan ดังกล่าวมีทั้งทรรศนะที่เป็นเชิงปฏิฐานแลเชิงนิเสธ นักการศึกษาบางคนยังเชื่อว่า โรงเรียนของรัฐนั้นมีมาตรฐานใช้ได้ถ้ามองในภาพรวม ส่วนนักการศึกาาคนอื่นยังคงเชื่อต่อไปว่าโรงเรียนของรัฐนั้นยิ่งวันยิ่งตกต่ำในเชิงคุณภาพสู้ของเอกชนไม่ได้

ความคิดขัดแย้งหรือข้อโต้เถียงดังกล่าวนั้นมีนัยสำคัญ ประการหนึ่งคือประชาชนบางกลุ่มต้องการให้มีการตีความใหม่ต่อข้อความที่ประกาศในรัฐธรรมนูญอเมริกันที่ว่าด้วย การแบ่งแยกหรือการวางตนเป็นกลางของรัฐ ระหว่างอาณาจักรและศาสนจักรโดยสิ้นเชิง ซึ่งมีความหมายว่ารัฐไม่สามารถที่จะนำเงินภาษีของราษฎรไปสนับสนุนการศึกษาของเอกชนหรือขององค์การศาสนาได้ นักการศึกษาจำนวนมิใช่น้อยเชื่อว่าการสนับสนุนการศึกษาเอกชนจะทำให้มาตรฐานการศึกษาของชาติสูงขึ้นทั้งนี้เพราะมีการแข่งขันมีการเปรียบเทียบและมีอิสระในการจัดการตามหลักปรัชญาและความเชื่อถือของกลุ่มปัจเจกบุคคล และกลุ่มองค์การศาสนา        

สืบเนื่องจากความไม่พอใจของประชาชนต่อโรงเรียนของรัฐซึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2535 The Gallup Organization, Inc. ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับทัศนคติของคนอเมริกันทั่วประเทศด้วยเรื่อง

1. สิทธิของพ่อแม่ผู้ปกครองที่จะเลือกโรงเรียน

2. คุณภาพของโรงเรียนของรัฐ และโรงเรียนคาทอลิกหลังจากทำการศึกษาแล้วได้มีการแถลงผลการสำรวจต่อสโมสรผู้สื่อข่าวแห่งชาติ (National Press Club) และมีการสรุปรายงานที่สภาคองเกรส เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2535 ซึ่งผลสรุปได้ ดังนี้        

  1. 70% ของคนอเมริกันมีความเห็นว่ารัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณก้อนหนึ่งเพื่อให้พ่อแม่ส่งลูกไปโรงเรียนของรัฐ หรือของเอกชน หรือขององค์การศาสนา ตามการเลือกของตน        

  2. 61% ของคนอเมริกันในกลุ่มตัวอย่างต้องการเห็นรัฐบาลแบ่งเงินภาษีส่วนหนึ่งที่ไปสนับสนุนโรงเรียนของรัฐให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง ส่งลูกไปโรงเรียนของรัฐหรือของเอกชน หรือขององค์การศาสนาตามการเลือกของตน   

  3. ถ้ารัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อการนี้แล้ว เกือบ 60% ของคนอเมริกันต้องการให้งบประมาณดังกล่าวแบ่งให้ครอบครัวทุกระดับไม่ว่าจะมีรายได้น้อยหรือมาก มีเพียง 37% ของคนอเมริกันเท่านั้นที่เชื่อว่างบประมาณดังกล่าว ควรแบ่งให้เฉพาะครอบครัวที่มีรายได้น้อยหรือพอประมาณเท่านั้น   

  4. 64% ของคนอเมริกันมีความเห็นว่าศาลสูงสุด (Supreme Court) ของประเทศควรจะอนุญาตให้รัฐบาลกลางจัดสรรงบประมาณให้ครอบครัวที่ประสงค์จะส่งลูกไปเรียนในโรงเรียนขององค์การศาสนา        

  5. 54% ของคนอเมริกันอ้างว่าตนรับทราบข้อมูลและรู้จักความแตกต่างเกี่ยวกับโรงเรียน ในเขตชุมชนของตนอย่างพอเพียงที่จะสามารถตัดสินใจและเลือกโรงเรียนที่ตนคิดว่าดีที่สุดให้แก่ลูกของตน 

  6. 62% ของคนอเมริกันจัดลำดับให้เกรด A และเกรด B แก่โรงเรียนคาทอลิก ในขณะเดียวกันมีเพียง 24% เท่านั้นที่ให้โรงเรียนของรัฐได้เกรด A และเกรด B        

นอกจากนี้ The Gallup Organization, Inc. ยังได้ทำการศึกษาเรื่อง "VOUCHER SYSTEM" หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ "คูปอง" การศึกษา โดยตั้งคำถามให้คนอเมริกันแสดงความคิดเห็น ดังนี้        

"ในบางประเทศ รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อการศึกษาของเด็กแต่ละคน ดังนั้นพ่อแม่สามารถส่งลูกไปเรียนโรงเรียนของรัฐหรือโรงเรียนของศาสนาหรือของเอกชนอื่น ตามแต่ตนจะเลือก ระบบนี้เรียกว่า "คูปองการศึกษา" ถามว่า ท่านอยากให้รัฐอเมริกันรับระบบดังกล่าวหรือไม่?" 14สำหรับหลักการใหญ่ ๆ ของการอุดหนุนโรงเรียนเอกชน คือ ความต้องการของเอกชน

        - ประชาชนอ้างสิทธิและความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา

        - พ่อแม่อ้างสิทธิในการเลือกระบบโรงเรียนให้แก่ลูกของตน

        - ประชาชนต้องการจะได้รับการศึกษาตามหลักปรัชญาชีวิตที่ตนยึดถือ

        - ประชาชนต้องการมีอิสระในการจัดการ และการให้บริการ ตามความต้องการของตน

        - ประชาชนต้องการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพดีกว่าความต้องการของรัฐ

        - ประชาชนร่วมรับภาระทางการศึกษา ซึ่งหมายถึงการร่วมลงทุนอันเป็นการแบ่งเบาภาระรายจ่ายของรัฐ

        - รัฐต้องการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชน โดยนัยนี้ นักเรียนต้องมีเสรีภาพที่จะถือศาสนาหรือไม่ถือ

          ศาสนา (freedom of conscience) ในโรงเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุน

        - โรงเรียนต้องมีมาตรฐานตามที่รัฐกำหนด

        - โรงเรียนต้องยอมให้มีมาตรการตรวจสอบ (accountability) และมีกรรมการบริหารโรงเรียน

   - รัฐต้องการแสดงเจตนาที่จะเคารพสิทธิส่วนบุคคลของประชาชนสำหรับหลักการใหญ่ๆ ของการอุดหนุนโรงเรียนเอกชน คือ ความต้องการของเอกชน

        - ประชาชนอ้างสิทธิและความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา

        - พ่อแม่อ้างสิทธิในการเลือกระบบโรงเรียนให้แก่ลูกของตน

        - ประชาชนต้องการจะได้รับการศึกษาตามหลักปรัชญาชีวิตที่ตนยึดถือ

        - ประชาชนต้องการมีอิสระในการจัดการ และการให้บริการ ตามความต้องการของตน

        - ประชาชนต้องการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพดีกว่าความต้องการของรัฐ

        - ประชาชนร่วมรับภาระทางการศึกษา ซึ่งหมายถึงการร่วมลงทุนอันเป็นการแบ่งเบาภาระรายจ่ายของรัฐ

        - รัฐต้องการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชน โดยนัยนี้ นักเรียนต้องมีเสรีภาพที่จะถือศาสนาหรือไม่ถือ

          ศาสนา (freedom of conscience) ในโรงเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุน

        - โรงเรียนต้องมีมาตรฐานตามที่รัฐกำหนด

        - โรงเรียนต้องยอมให้มีมาตรการตรวจสอบ (accountability) และมีกรรมการบริหารโรงเรียน

        - รัฐต้องการแสดงเจตนาที่จะเคารพสิทธิส่วนบุคคลของประชาชน

เชิงอรรถ

  1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, รายงานการวิจัยเรื่อง "ประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาของเอกชน", สิงหาคม 2532ม หน้า 1.

  2. เพิ่งอ้าง, หน้า 15.

  3. แผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2535 แนวนโยบายการศึกษาข้อ 18.

  4. แผนการพัมนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) นโยบายข้อ 9 หน้า 38.

  5. คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา วันที่ 21 ตุลาคม 2535.

  6. Magazine Fratelli di San Gabriele 1983. (September, 1983).

  7. George A. Male "Education in the United Kingdom", Encyclopedia Britanica, p. 1321.

  8. Ibid, p. 1321.

    *บทความเสนอต่อที่ประชุมในการสัมมนาทางวิชาการของสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย วันที่ 29     สิงหาคม –  1 กันยายน 2536 ณ โรงแรมเอเซีย พัทย

    *ครู อาจารย์ นักบริหารการศึกษา และนักบริหารการพัฒนา : ภราดา ดร. ประทีป ม.โกมลมาศ

  9. Ibid. p. 1329.

  10. Cardinal George Basil Hume, "Aims and Priorities of Catholic Education, "Catholic International. Vol. 3 No.2 (January, 1992),p. 74.

  11. Ministry of Education, Science and Culture, Government of Japan. A Brief Outline of Education in Japan : Its Present State and Its Reform, (April, 1988), p. 24.

  12. Statistics Bureau Management and Coordination Agency. Statistical Handbook of Japan 1987.

  13. Ministry of Education. Education Statistics Digest 1991. (November, 1991.). p. 3. and School Council, Ministry of Education. Improving Primary School Education. (March, 1991).

  14. The Gallup Organization, Inc., "The People's Pollon Schools and School Choice, "NCEA Notes (October, 1992), p. 2.

  15. Delegates to NCCS, "A Radical Commitment to U.S. Catholic Schools," op.cit., p. 64. 


*บทความเสนอต่อที่ประชุมในการสัมมนาทางวิชาการของสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย วันที่ 29 สิงหาคม – 
     1 กันยายน 2536 ณ โรงแรมเอเซีย พัทยา
   *ครู อาจารย์ นักบริหารการศึกษา และนักบริหารการพัฒนา : ภราดา ดร. ประทีป ม.โกมลมาศ