การวิเคราะห์ เรื่อง "วิทยาศาสตร์ กับ ความเชื่อศรัทธาทางศาสนา" และ "
เทคนิคการใช้เทคโนโลยีในการศึกษา"*
ข้าพเจ้าขอแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ตอนดังนี้
ตอนแรกอย่ากจะประสานต่อรายการเมื่อเช้านี้เอง ซึ่งพูดถึงเรื่อง "วิทยาศาตร์ความเชื่อศรัทธา และวัฒนธรรม" โดยบาทหลวงบัญชา ศรีประมงค์ และ ดร. สุมณฑา หรหมบุญ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการประสานต่อและเพื่อปูพื้นฐานให้เข้าใจเรื่องของเทคโนโลยี
ตอนที่สอง จึงจะขอพูดเรื่อง “เทคนิคของการใช้เทคโนโลยีในการศึกษายุคใหม่” พร้อมด้วยการสาธิตประกอบ
เมื่อตอนภาคเช้านี้ ดร. สุมณฑา พรหมบุญ ได้พูดถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์ในการสอนเราให้เป็นคนมีเหตุมีผล รู้จักแสวงหาความจริง โดยการพิสูจน์และทดลอก อาจารย์ขอพูดเกี่ยวกับเรื่องของวิทยาศาสตร์เท่านั้น วิทยาศาสตร์ไม่พูดถึงเรื่อง Absolute Truth หรือ สัจธรรมที่อยู่เหนือเหตุผล (นี่เป็นการแปลอย่างคร่าว ๆ ) ซึ่งเป็นเรื่องความเชื่อศรัทธาทางศาสนาสัจธรรมที่เป็น absolute หรือ “สัมบูรณ์” คือความสัตย์จริงทั้งหมดซึ่งรวมกันเป็นความจริงแท้เพียงอย่างเดียวซึ่งคริสตชนเรียกว่า “พระผู้เป็นเจ้า” ถึงแม้ว่าเราไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่ามีพระเป็นเจ้าอยู่จริงก็ตาม แต่อรรถาธิบายทางตรรกวิทยาและปรัชญา ก็มีเหตุผลเพียงพอที่จะเสริมให้เรามีความเชื่อศรัทธาในองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ซึ่งเป็นสัจธรรมสัมบูรณ์สำหรับคริสตชนและชนศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย ขณะเดียวกันคริสตชนเชื่อว่าถึงแม้ว่าจะปราชญ์เปรื่อง ในเรื่องปรัชญาและอรรถาธิบายทางตรรกวิทยาเราอาจจะไม่มีความเชื่อศรัทธาในองค์พระเป็นเจ้า ถ้าเราไม่ได้รับพระหรรษทานจากพระองค์
ในฐานะที่เราเป็นนักการศึกษาคาทอลิก เป็นครู อาจารย์ที่มีความเชื่อศรัทธาในศาสนาเราจึงมีบทบาทและมีภารกิจพิเศษที่จะต้องสอนให้ศิษย์ของเราแสวงหาความจริงหรือสัจธรรมอยู่เสมอ หน้าที่หลักสำคัญของสถาบันการศึกษาก็คือ การสอนให้ศิษย์ของเรารู้จักแสวงหาสัจธรรม ความจริง ไม่ว่าเราจะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการของศาสตร์ใดก็ตาม เราย่อมมุ่งไปสู่เอกภาพของสัจธรรมความจริงนั้นสักวันหนึ่ง นี่คือสิ่งที่ข้าพเจ้าเชื่อ!
เมื่อเราหันไปมองเครื่องหมายของสภาการศึกษาคาทอลิก เราเห็นคำจารึกเป็นภาษาละติน ว่า LUX ET VERITAS ซึ่งแปลได้ว่า “แสงสว่างและความจริง” ข้าพเจ้าได้นำข้อความ 2 ตอนจากพระวรสารมาผนวกเข้าด้วยกันเป็นคติพจน์ของสภาฯ พระเยซูเจ้า ทรงตรัสว่า “เจ้าเป็นแสงสว่างของโลก.....” และอีกตอนหนึ่งทรงกล่าวว่า “เราคือมรคา ความจริงและชีวิต” ข้าพเจ้าอยากจะบอกให้ทุกคนทราบว่านักการศึกษาคาทอลิกและครูคาทอลิกต้องเป็นแสงสว่างนำมนุษย์ไปสู่สัจธรรมความจริง ซึ่งเป็นบ่อเกิดของชีวิต นี่คือที่มาของคติพจน์ที่จารึกไว้ในตราตั้งของสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย
ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า การศึกษาเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะช่วยมนุษย์ให้หลุดพ้นจากความไม่รู้และความทุกข์ยากทั้งปวง คงไม่มีวิธีการใดที่จะช่วยมนุษย์ให้หลุดพ้นจากความไม่รู้และความทุกข์ยากทั้งหลายได้ผลดีเท่ากับการให้การศึกษาที่เป็นแบบวิทยาศาสตร์เป็นเหตุเป็นผลให้อย่างไรให้อย่างผู้ที่มีความเชื่อศรัทธาใน Absolute Truth ! นี่คือเงื่อนไขของการศึกษาคาทอลิก
เมื่อตอนเช้านี้ ดร. สุมณฑา พรหมบุญ ได้ยกตัวอย่างให้เราทั้งหลายฟัง ซึ่งเป็นที่ประทับใจข้าพเจ้ามาก ท่านบอกว่าเมื่อสมัยท่านเป็นนักเรียนอยู่กับซิสเตอร์บุญเรือน ท่านได้ถามปัญหาวิทยาศาสตร์กับซิสเตอร์ปัญหาหนึ่ง ซิสเตอร์ตอบว่า ซิสเตอร์จะไปค้นดูก่อนเพราะยังไม่สามารถตอบได้เดี๋ยวนี้ คำตอบของซิสเตอร์ประทับใจหนูสุมณฑา ซึ่งจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ในอนาคตเป็นอย่างมาก ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าซิสเตอร์ท่านนั้นเป็นผู้สร้างทัศนคติที่ถูกต้องของนักวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กนักเรียนคนนั้น และยังแสดงถึงความเป็นครูที่น่าเคารพอีกด้วย ซึ่งก็คือ การพูดสัจจะความจริงการรู้จักค้นคว้าหาความรู้ แสวงหาความจริง ความถูกต้อง ยิ่งกว่านั้น ลักษณะของครูที่ดีจะต้องเป็นคนที่ไม่ยึดมั่น ถือมั่นในเรื่องใดจนหลง เมื่อได้ค้นพบว่าสิ่งใดที่ตนเคยยึดถือว่าถูกต้องมาช้านาน แต่มาบัดนี้ได้พบแสงสว่างใหม่ ก็พร้อมที่จะปรับความเชื่อถือนั้นให้ถูกต้องตามสัจจะความจริง
ข้าพเจ้าจำได้ดีว่า เมื่อปี ค.ศ. 1956 ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาปีที่ 2 อยู่ที่ LOYOLA COLLEGE ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของคณะเยซูอิต ที่อินเดีย ปีนั้นเป็นปีที่รัสเซียได้ประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียม Sputnik ดวงแรกของโลก ข่าวการส่งดาวเทียมของมนุษย์ดวงแรกขึ้นไปโคจรรอบโลกนี้ได้สร้างความพิศวงและการวิพากษ์วิจารณ์ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อย่างมากมาย ในยุคที่มี “ประกาศกหายนะ” (Prophet of Doom) มากมายที่ชอบมองเหตุการณ์ของโลกแล้วทำนายอนาคตไปในแง่ของวันสิ้นโลก เมื่อดาวเทียมของรัสเซียถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก ผู้ที่ตั้งตนเป็นผู้รู้เหล่านั้นได้พูดกระทบกระเทียบเปรียบเปรยว่า “ดูซิ นักวิทยาศาสตร์หน้าโง่เหล่านั้นอยากทำตนเป็นใหญ่เท่าเทียมพระเจ้าอย่าลืมว่าพระเจ้าทรงสร้างดาวแท้ มนุษย์สร้างได้แต่ดาวเทียมเท่านั้น” ปัจจุบันใคร ๆ ก็ทราบดีว่าดาวเทียมมีประโยชน์สักปานใดสำหรับการสื่อสารติดต่อ ข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องบรรยายสรรพคุณอื่น ๆ มาให้ฟังในที่นี้ก็ได้ สิ่งที่สำคัญก็คือว่าครูควรรู้จักสร้างทัศนคติที่ถูกต้องให้แก่เด็ก ซึ่งควรเป็นทัศนคติที่เปิดกว้าง พร้อมเสมอที่จะรับข้อมูลใหม่อย่างคนฉลาด คือมีเหตุมีผลไม่งมงายเชื่ออะไรง่าย ๆ
ดาวเทียมที่กล่าวถึงเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ ซึ่งเป็นการพัฒนาวิธีการส่งคลื่นวิทยุข้ามมหาสมุทรนานมาแล้ว เราคงทราบกันดีว่าในปี ค.ศ. 1920 ยังไม่ถึงร้อยปีเลย นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลี่ยนชื่อ มาร์โคนี เป็นบุคคลแรกที่ค้นพบวิธีการส่งคลื่นวิทยุข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก สาส์นฉบับแรกที่นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้ส่งไปยังอเมริกาคือ “สิริมงคลจงมีแด่พระเจ้า ณ ที่สูงสุด” นี่แหละคือทัศนคติที่ถูกต้องต่อการค้นพบและสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักวิทยาศาสตร์ผู้สี้มีความเชื่อ ศรัทธา นักการศาสนาบางคนอาจมีอคติ ส่วนนักการศึกษาที่แท้จริงนั้นควรมีทัศนะเปิดกว้างต้อนรับการค้นพบและสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ซึ่งเป็นการสรรเสริญสดุดีพระเจ้า
ปัจจุบันนี้ เราพบว่ามีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากเหมือนกันที่ไม่สามารถเชื่อศรัทธา (non believers) เขาเชื่อแต่เรื่องของการพิสูจน์และทดลองหรือทดสอบได้ ซึ่งเขามีความเชื่อว่าเขาจะพบความจริงโดยวิธีการทดสอบ ทดลอง ในขณะเดียวกันเราก็พบว่ามีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากอีกนั่นแหละที่เป็นคนมีความเชื่อศรัทธา (believers)
เรานักการศึกษาคาทอลิกและครูคาทอลิก มีความคิดเห็นอย่างไรในเรื่องนี้? เราควรสอนเด็กของเราให้เชื่อนักวิทยาศาสตร์กลุ่มไหน? นี่แหละคือปัญหาที่ครูคาทอลิกจะพบในห้องเรียน ครูควรให้คำตอบอะไรแก่เด็กเกี่ยวกับเรื่องนี้? ข้าพเจ้าจำได้ว่าได้เคยศึกษาบทความ เรื่อง "วิทยาศาสตร์กับศาสนา" เขียนโดยไอสไตน์ไม่กี่ปีก่อนที่ท่านจะถึงแก่อนิจกรรม บทความของนักวิทยาศาสตร์เรืองนามท่านนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มากมายรวมทั้งมหาวิทยาลัยที่ข้าพเจ้ากำลังศึกษาอยู่ในขณะนั้น ซึ่งมีศิษย์ของไอสไตน์มาเป็นผู้ร่วมอภิปรายด้วย ไอสไตน์นักวิทยาศาสตร์เรืองนามมีความเห็นว่า "วิทยาศาสตร์ที่ปราศจากศาสนาเป็นเสมือนคนขาเป๋ ศาสนาที่ปราศจากวิทยาศาสตร์เป็นเสมือนคนตาบอด" ความเห็นของไอสไตน์อาจจะไม่ใช่คำตอบโดยตรงต่อปัญหา แต่อย่างน้อยคงจะให้ความกระจ่างแก่นักเรียนได้บ้างในเรื่องนี้ นอกจากนี้แล้วข้าพเจ้ามีความเห็นว่า นักการศึกษาคาทอลิกและครูคาทอลิกต้องสร้างความเชื่อถือต่อหน้าเด็กเสียก่อนจะให้คำตอบหรือความคิดเห็นแก่เด็ก เด็กจะมีความเชื่อถือครูก็ต่อเมื่อเห็นว่าครูของตนวางตนเป็นกลาง ปราศจากอคติ ครูอาจเสนอความคิดเห็นและแสดงความเชื่อของตนให้เด็กฟัง เด็กเห็น แล้วให้เด็กใช้อิสรภาพของตนที่จะเลือกเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้ เราต้องไม่ลืมว่าความเชื่อศรัทธาที่แท้จริงเป็นหรรษทานจากพระเจ้า ความเชื่อเป็นเสมือนเมล็ดพืชที่ผู้หว่านได้หว่านลงไปบางเมล็ดก็ตกในพงหนาม บางเมล็ดก็ตกในที่ดินอุดมสมบูรณ์.......
นี่แหละครับ เรื่องความเชื่อศรัทธาและวิทยาศาสตร์ กับทัศนคติของเยาวชนในยุคไฮเทค เยาวชนในยุคนี้มีหูตาไวมากกว่าพวกเรา เพราะเขามีโอกาสจะเห็นจะเรียนรู้ศาสตร์ใหม่ เทคโนโลยี ใหม่ ๆ มากกว่าในสมัยที่พวกเราครูบาอาจารย์เป็นเด็ก ทำไมโลกเราจึงมีการผันแปรเปลี่ยนไปดังนี้? Alvin Toffler นักเขียนเรืองนามเรื่อง "คลื่นลูกที่สาม" จะตอบว่าเรากำลังอยู่ในยุคไฮเทค ท่านคงจะจำได้ถึงเรื่องสงครามชิงหมู่เกาะโฟคแลนด์ระหว่างประเทศอังกฤษและประเทศอาร์เยนตินา เมื่อประมาณ 5-6 ปีมาแล้ว ในครั้งกระนั้นชาวโลกต้องตื่นจากพะวังรู้สึกพิศวง งงงวย เมื่อทราบว่าอาร์เยนตินาใช้จรวด "เอกซ์โซเซ่" ของฝรั่งเศสจมเรือรบเกรียบไกรของอังกฤษสิ่งที่น่าพิศวง คือ จรวด "เอกซ์โซเซ่" วิ่งเหนือผิวน้ำเพียง 5 ฟุต ส่ายหาเป้าเพื่อทำลาย และยังสามารถหลบเรดาร์ได้อีกด้วย จรวดชนิดนี้ถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์แบบอัตโนมัติ โลกเพิ่งได้เห็นว่าเขาใช้ไฮเทคกันแล้ว ฉะนั้นสงครามในอนาคตจะน่าสะพึงกลัวกว่าสงครามโลกครั้งที่สองมากมายนัก
Alvin Toffler ยังเขียนต่อไปว่า "...สังคมอิเล็กทรอนิกส์ หรือไฮเทค นี้มีลักษณะปฏิวัติที่ท้าทายความเชื่อถือเก่าแก่ของอารยธรรมเก่าที่กำลังจะสูญสิ้นไป มันท้าทายวิธีการคิดแบบเก่า ๆ ที่เรามีความเคยชิน มันตั้งข้อสงสัยในเรื่องของความมั่นใจต่อสูตรสำเร็จที่เราเคยใช้กันมานานต่ออุดมการณ์และความเชื่อศรัทธา ซึ่งเป็นที่หวงแหนมาแต่กาลก่อน"
โลกใหม่ที่กำลังค่อย ๆ โผล่ออกจากความขัดแย้งของค่านิยมใหม่ ๆ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์และการเมืองแบบใหม่ วิถีชีวิตและการสื่อสารแบบใหม่ เรียกร้องให้เราสร้างระบบความคิดแบบใหม่ และวิธีการสร้างความคิดรวบยอด โลกใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นมานี้จะใช้วิธีการแบบเก่ามาตอบปัญหาใหม่คงไม่ได้อีกแล้ว"
"อารยธรรมใหม่กำลังเกิดขึ้นในชีวิตของเรา และคนตาบอดทุกหนแห่งกำลังพยายามที่จะทำลายมัน อารยธรรมใหม่นี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตครอบครัว ชีวิตการทำงาน ชีวิตความรัก และการดำรงชีวิตอยู่ มีระบบเศรษฐกิจใหม่เกิดขึ้น การขัดแย้งทางการเมืองมีรูปแบบใหม่และสิ่งที่เหนือกว่านี้คือ การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสำนึกของเราความจริงนั้น โฉมหน้าของอารยธรรมใหม่นี้กำลังปรากฏให้เห็นในวันนี้แล้ว คนจำนวนล้าน ๆ วันนี้กำลังปรับวิถีชีวิตของตนให้เข้ากับจังหวะของอารยธรรมใหม่ของวันพรุ่งนี้ ส่วนคนอื่น ๆ อีกล้าน ๆ คนกำลังวิ่งหนี หลบหลีกเข้าไปในอดีต และกำลังวางแผนพยายามจะรื้อฟื้นโลกเก่าที่กำลังจะตายลง โลกเก่าที่ให้กำเนิดแก่เขาเหล่านั้น"
ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า มิใช่แต่นักวิทยาศาสตร์เท่านั้นที่เราครูบาอาจารย์ควรจะเปิดตาเปิดใจรับฟังความเห็น แม้แต่นักเขียนทั่ว ๆ ไปด้วย เช่น A.Toffler เราก็น่าจะเงี่ยหูฟังด้วยใจเป็นธรรม ถ้าเขามีเหตุผลดีน่าเชื่อถือ เราก็น่าจะเปิดใจรับฟังได้ หาไม่แล้วเราก็จะกลายเป็นเสมือนพวกตาบอดที่พยายามออกกำลังเฮือกสุดท้าย เพื่อรักษาความเชื่อถือคร่ำครึที่ปราศจากเหตุผลและหลักฐานที่วางอยู่บนสัจธรรม และในท้ายสุดเราก็ไม่สามารถรักษาสิ่งที่เราหวงแหนนั้นไว้ได้ คงปล่อยให้มันตายไปกับอดีต
เมื่อเดือนธันวาคม 1988 สภาพระสังฆราชคาทอลิกภาคพื้นเอเซีย* ได้จัดให้มีการประชุมศึกษาเรื่อง "วิทยาศาสตร์ ไฮเทคโนโลยี และความเชื่อศรัทธา กับบทบาทของนักวิทยาศาสตร์คาทอลิกในภาคพื้นเอเซีย"
ก่อนมีการประชุม นักวิทยาศาสตร์ในแต่ละประเทศสมาชิกได้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งคณะกรรมการจัดสัมมนาเตรียมไว้
ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของแบบสอบถามที่นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโซกัง ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยคาทอลิกในนครโซล ประเทศเกหลี เป็นผู้ตอบ (147 คำตอบที่ได้รับกลับจากจำนวน 386 คน)
ก) สำหรับนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร
1. ตามทัศนะของท่าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีผลกระทบอะไรบ้างต่อคริสตศาสนาและศาสนาอื่นๆ
- ทำให้ศาสนาบริสุทธิ์ขึ้น - ทำให้ศาสนามั่นคงและลึกซึ้ง - ทำให้ศาสนามีจุดอ่อน - ไม่มีผลกระทบอะไรเลย - ไม่รู้ - ไม่ตอบ |
13.6% 39.5% 9.5% 29.3% 7.5% 0.7% |
2. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับประชาชนโดยทั่วไปที่ได้รับอิทธิพลจากวารสาร วิทยาศาสตร์และสื่อมวลชน?
- ศาสนาไม่เหมาะกับโลกของวิทยาศาสตร์ - ศาสนาเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสังคม - ศาสนาไม่สำคัญ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถแก้ปัญหาได้ - ไม่ทราบ - ไม่ตอบ |
40.8% 2.7% 7.5% 38.8% 10.2% |
3. นักวิทยาศาสตร์มีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับวิทยาศาสตร์
ก) วิศวกร และนักฟิสิกส์-เคมี
- มีการผสมผสานและความตึงเครียดแต่มีประโยชน์ |
YES 53.1% NO 18.4% |
- ไม่ไว้ใจกันและเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน |
YES 7.5% NO 60.5% |
- วิทยาศาสตร์เท่านั้นที่อธิบายทุกสิ่งได้ |
YES 24.5% NO 45.6% |
- มีแต่โลกนี้เท่านั้นไม่มีโลกหน้า |
YES 21.1% NO 46.9% |
- วิทยาศาสตร์คือวิทยาศาสตร์ ศาสนศาสตร์ก็คือ ศาสนศาสตร์ ไม่มีความสัมพันธ์กัน |
YES 42.9% NO 25.2% |
- ความเชื่อศรัทธาในศาสนาเท่านั้นพอเพียง ไม่ต้องการสิ่งใดอีก |
YES 1.4% NO 66.75% |
- ไม่ทราบ |
3.4% |
ข) นักชีววิทยา
- มีการผสมผสานและความตึงเครียดแต่มีประโยชน์ |
YES 53.1% NO 18.4% |
- ไม่ไว้ใจกันและเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน |
YES 7.5% NO 60.5% |
- วิทยาศาสตร์เท่านั้นที่อธิบายทุกสิ่งได้ |
YES 24.5% NO 45.6% |
- มีแต่โลกนี้เท่านั้นไม่มีโลกหน้า |
YES 21.1% NO 46.9% |
- วิทยาศาสตร์คือวิทยาศาสตร์ ศาสนศาสตร์ก็คือ ศาสนศาสตร์ ไม่มีความสัมพันธ์กัน |
YES 42.9% NO 25.2% |
- ความเชื่อศรัทธาในศาสนาเท่านั้นพอเพียง ไม่ต้องการสิ่งใดอีก |
YES 1.4% NO 66.75% |
- ไม่ทราบ |
3.4% |
4. นักวิทยาศาสตร์มีทัศนคติต่อต้านศาสนาโดยทั่วไป และเป็นต้นศาสนาคริสต์ในเรื่องใดบ้าง?
- คำสอนของศาสนาล้าสมัย |
32.0% |
- กฎและศีลปฏิบัติเคร่งเกินไป |
15.0% |
- เราไม่สามารถพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ได้ว่ามีสวรรค์อยู่จริง |
42.1% |
- ศาสนามีลักษณะเป็นอนุรักษ์นิยมเกินไป |
15.0% |
- พระคัมภีร์ เต็มไปด้วยของเท็จจริงที่เข้าใจกันผิด ๆ |
57.1% |
- ไม่รู้ |
8.2% |
นักวิทยาศาสตร์ที่ตอบคำถามถือศาสนาอะไรบ้าง?
- พุทธศาสนา |
8.8% |
- คริสต์ (นิกายโปรเตสแตนต์) |
32.1% |
- คริสต์ (นิกายคาทอลิก) |
15.6% |
- ศาสนาอื่น |
2.0% |
- ไม่มีศาสนาอื่น |
38.8% |
- ไม่ตอบเลย |
1.4% |
คำตอบที่ได้จากแบบสอบถามที่นักวิทยาศาสตร์ตอบ เราพอจะเห็นได้ว่ามีนักวิทยาศาสตร์จำนวนไม่น้อยเลยที่มีความเห็นค่อนข้างจะเป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนา และเป็นวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยคาทอลิกเสียด้วย เราไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของนักวิทยาศาสตร์ในสถาบันอื่นเป็นต้น จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติเกหลี ยังมีอีกมุมหนึ่งที่เราควรจะมองก็คือว่า ประเทศเกาหลีเป็นประเทศนิกส์ไปเกือบทั้งตัวแล้ว และในขณะเดียวกันก็เป็นประเทศที่มีผู้นับถือคริสตศาสนาถึงเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์
ภาพรวมทั้งหมดที่ข้าพเจ้าพยายามจะวาดให้ท่านทั้งหลายเห็นก็คือ ในยุคไฮเทคนี้เยาวชนสนใจในผลงานของวิทยาศาสตร์มาก และความคิดเห็นของนักวิทยาศาสตร์มีอิทธิพลต่อเยาวชนมากกว่าที่เราคิด สิ่งเหล่านี้คือการท้าทายต่อนักการศึกษาคาทอลิก และครูคาทอลิกในการถ่ายทอดศาสนาวัฒนธรรมและความเชื่อศรัทธา
ทั้งหมดที่ข้าพเจ้าเพิ่งกล่าวมานี้เหมือนกับเป็นการปูพื้นฐานให้ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่อง "เทคโนโลยีในการศึกษายุคใหม่"
เวลาพูดถึงการรู้จักใช้เทคโนโลยีในการศึกษา เราหมายถึงอะไร? คำตอบง่าย ๆ ก็คือ การใช้วิธีการใด ๆ ก็ได้ที่ช่วยให้เราเข้าใจการเรียนง่ายขึ้น ทำให้เราสามารถถ่ายทอดความรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น วิธีดังกล่าวนี้แหละเรียกแบบสมัยใหม่ว่า "การรู้จักใช้เทคโนโลยีในการศึกษา" บางท่านอาจคิดว่า ข้าพเจ้ากำลังมาเสนอให้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์แบบไฮเทคอะไรทำนองนั้น สำหรับโรงเรียนเล็ก ๆ ที่ไม่มีทุนรอนอะไรมากที่จะปรับปรุงในเรื่องอุปกรณ์การศึกษาแล้วละก็ ข้าพเจ้าก็ขอเสนอว่า เราควรใช้ปัญญาที่จะหาเทคโนโลยีท้องถิ่นมาช่วยการสอนและการถ่ายทอดความรู้ของเราไปสู่นักเรียน
ตัวอย่าง เช่น เราจะสอนเด็กให้รู้จักทำความสะอาดห้องเรียนโดยใช้เทคโนโลยีเราก็อาจจะสอนว่า การทำความสะอาดนั้น ต้องใช้เทคโนโลยี (อุปกรณ์) ช่วยคือ ไม้กวาดเรามีไม้กวาดอยู่ 5 เบอร์ด้วยกัน
เบอร์ 1 เป็นไม้กวาดทำด้วยผ้า
เบอร์ 2 เป็นไม้กวาดขนไก่
เบอร์ 3 เป็นไม้กวาดทำด้วยดอกหญ้าแห้ง
เบอร์ 4 เป็นไม้กวาดทำด้วยก้านใบมะพร้าว
เบอร์ 5 เป็นไม้กวาดทำด้วยกิ่งไม้แห้ง (จำชื่อต้นไม้ไม่ได้)
เราอธิบายให้เด็กทราบว่า ไม้กวาดเบอร์อะไรควรใช้เมื่อใด เบอร์อะไรควรใช้ก่อนแล้วจึงตามด้วยเบอร์อะไร ห้องเรียนจึงสะอาด การรู้จักหาอุปกรณ์รอบตัวมาทำไม้กวาดเป็นการแสดงให้เห็นว่า ครู รู้จักใช้เทคโนโลยีท้องถิ่นนั้นๆ การรู้จักจัดหมวดหมู่ของไม้กวาดเป็นเบอร์ต่างๆ เป็นการแสดงว่าเรารู้จักการจัดระบบ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นของการใช้เทคโนโลยียุคใหม่ นี่แหละครับคือการรู้จักใช้เทคโนโลยีในการศึกษา
ส่วนการนำไฮเทคมาใช้ในการศึกษานั้น เป็นเรื่องของโรงเรียนที่มีทุนมาก ไฮเทคทั้งหลายที่มีใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ นอกจากพวก audio visual ต่างๆ แล้ว เราก็มีคอมพิวเตอร์แต่ก่อนที่จะตัดสินในการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการบริหารก็ดี หรือมาช่วยในการสอนก็ตาม ผู้บริหารควรใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบถึงผลได้ผลเสียก่อน
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มีความเห็นว่า ก่อนที่จะสอนให้เด็กรู้จักใช้คอมพิวเตอร์เป็น เราควรสอนให้เด็กรู้จักวิชาขั้นพื้นฐานให้ดีเสียก่อน คือ การอ่าน การเขียน การคิดเลข เด็กที่อ่านหนังสือเก่า มีความรู้ทั่วไปอย่างกว้างขวาง จะมีพื้นฐานดีที่สุดที่จะเตรียมให้เด็กมีความพร้อมที่จะใช้ความคิดริเริ่มเป็นเมื่อใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
ต่อไปนี้คือ ผลสรุปของการวิจัยโดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด 1986 เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษา
-
นายจ้างต้องการให้โรงเรียนสอนตามหลักสูตรให้ครบถ้วน ก่อนที่จะสอนให้เด็กมีทักษะพิเศษทางคอมพิวเตอร์
-
ความสนใจ ความกระตือรือร้น การอ่านที่มีประสิทธิภาพสูง ทักษะการเข้าใจ สิ่งที่อ่านและทักษะการหาเหตุผลสำคัญกว่าการรู้จักคอมพิวเตอร์
-
ทักษะการรู้จักประยุกต์ การนำโปรแกรมเล็กๆ ไปใช้เป็นสำคัญกว่าทักษะทางคณิตศาสตร์
-
การมีความรู้ทั่วไป อย่างมีคุณภาพ สำคัญกว่าการรู้จักเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์
-
คุณสมบัติ trainability สำคัญกว่าการรู้จักใช้เทคโนโลยีในอนาคตสำคัญมากกว่าความรู้แคบๆ ทางทักษะบางอย่าง เช่น คอมพิวเตอร์
-
ถ้านักเรียนได้รบการศึกษาอย่างถูกต้องแล้ว และมีความรู้ทางคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นอีกสิ่งนี้แหละคือข้อได้เปรียบ
-
พวก drop-outs และพวก undereducated ทำความเสียหายแก่ระบบธุรกิจทั้งน้อยและใหญ่มากกว่า การไม่รู้จัก ทักษะพิเศษ เช่น Computer
ถ้าหากจะถามว่า ในทางธุรกิจต้องการที่จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านอะไรบ้าง? คำตอบสรุปก็คือ
- needs in accounting |
68% |
- Word processing |
57% |
- billing |
51% |
- mailing lists |
45% |
- การวิเคราะห์สถานการณ์การเงิน |
43% |
- inventory |
42% |
- payroll |
40% |
และหากจะถามว่าได้ประโยชน์อะไรในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ ผลตอบสรุปก็คือ
29% improved information
26% higher productivity
21% คุณภาพของงานดีขึ้น
ส่วนคุณประโยชน์สำหรับเด็กในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเด็กในสมัยไฮเทค มีดังนี้
การใช้คอมพิวเตอร์กับเด็กอนุบาล 5 ขวบ ได้รับประโยชน์มากทั้งชายและหญิง
-
ในด้านการอ่าน ทำให้เกิดความพร้อมที่จะเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
-
เด็กที่ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านเพิ่มประสิทธิภาพ 6 เท่า ในด้านความพร้อมในการอ่าน
-
หากที่บ้านมี Micro Computer แต่ที่โรงเรียนไม่มี ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
-
การมี Micro Computer ที่บ้านจะมีประโยชน์ต่อเมื่อเสริมต่อจากการเรียนที่โรงเรียน
-
เด็กบางคนรู้จักใช้ Micro Computer ดีกว่าพ่อแม่
นอกจากนี้ เด็กของเราควรได้รับการสอนให้รู้จักเก็บข้อมูลเป็น เพราะในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารมีประสิทธิภาพสูงมาก ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ถูกถ่ายทอดโดยสื่อมวลชน และโดยเครื่องไฮเทคยุคใหม่ ทำให้ใครๆ ที่สนใจสามารถเข้าถึงความรู้หรือข้อมูลต่างๆ ฉะนั้นเด็กของเราควรได้รับการอบรมให้รู้จัก
-
รับข้อมูลเป็น (Receiving informations)
-
เลือกข้อมูล (Selecting informations)
-
หาความสำคัญของข้อมูล (Relating informations)
-
หาข้อมูลสรุปจากข้อมูล (Inferring informations)
-
สามารถสร้างรูปแบบได้จากข้อมูล (Synthesising informations model making)
-
ใช้รูปแบบให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่เป็น (Applying Model in new context)
-
ปรับรูปแบบเป็น (Modifying the Model)
นอกจากนี้ เรายังต้องเตรียมเด็กของเราให้รู้จักเผชิญชีวิตยุคไฮเทค เนื่องจากโครงสร้างของสังคมเราเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น ชีวิตครอบครัวกำลังมีรูปแบบใหม่ ฯลฯ เป็นต้น นี่เป็นปัญหาสังคมที่เราคงจะได้พูดกันต่อไปในระหว่างการสัมมนานี้
การสาธิตประกอบคำบรรยาย...
*เป็นการบรรยายตอนหนึ่ง ในการสัมมนาผู้บริหารโรงเรียนคาทอลิก วันที่ 12 กันยายน 2532.
*ครู อาจารย์ นักบริหารการศึกษา และนักบริหารการพัฒนา : ภราดา ดร. ประทีป ม.โกมลมาศ