ปัญหา “เงินกินเปล่า” หรือ “เงินบริจาคเพื่อการศึกษา”*

ผู้แทนจากคณะนักบวชต่าง ๆ ที่ดำเนินกิจการโรงเรียนได้ประชุมกัน โดยมีพระคุณเจ้ามนัส จวบสมัย เป็นประธาน ณ ตึกปิยะการุณย์ โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2530 เวลา 9.30 น.

ที่ประชุมได้อภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวางซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

  • สถานการณ์ปัจจุบัน

    1. อัตราค่าเล่าเรียนที่รัฐอนุญาตให้เก็บไม่เพียงพอแก่รายจ่ายถ้าโรงเรียนต้องการรักษามาตรฐานการศึกษา จัดสวัสดิการ

        ครู และพัฒนาบุคลากรของโรงเรียน

    2. การพัฒนาโรงเรียนจำเป็นต้อง อาศัยปัจจัยการเงิน ซึ่งจะได้มาจากการบริจาคของผู้ปกครอง

    3. ประชาชนบางกลุ่มเห็นการรับบริจาคจากผู้ปกครองเป็นการเรียก “เงินกินเปล่า” แต่บางกลุ่มเห็นว่าเป็นการร่วมทำบุญ

        กุศลเพื่อพัฒนาการศึกษา

    4. โรงเรียนคาทอลิกจำนวนมาก เป็นต้น ในต่างจังหวัด มีฐานะการเงินไม่ดี จึงขาดการพัฒนาและขาดคุณภาพ ปัญหา

        สำคัญของโรงเรียนก็คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถรักษามาตรฐานการศึกษาไว้ได้

    5. ปัจจุบันเริ่มมีการโจมตีโรงเรียนคาทอลิกอย่างเปิดเผย และได้รับความเห็นชอบอย่างเงียบ ๆ จากผู้ใหญ่บางคนใน สช. 

        และนักการศึกษาบางคน

    6. รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ กำลังมองโรงเรียนเอกชนว่าเป็น “ส่วนเกิน” ไม่ใช่เป็นผู้มา “ร่วมรับภาระ” เหมือนสมัย

        ก่อน

    7. โรงเรียนคาทอลิกบางแห่งกำลังประสบปัญหาทางการเมืองเนื่องมาจากครูภายในเป็นเหตุ

    8. จำนวนโรงเรียนเอกชนลดน้อยลงทุกปี

  • ข้อเสนอแนะ

             1. ในเมื่อการรักษามาตรฐานการศึกษา การพัฒนาโรงเรียน การพัฒนาบุคลากรเป็นสิ่งจำเป็นและต้องอาศัยปัจจัย

                  เงินเป็นหลักโรงเรียนควรปรึกษาหารือกับสมาคมผู้ปกครองและครูและสมาคมศิษย์เก่า แต่ต้องใช้ดุลยพินิจและความระมัดระวัง

                  มิให้สมาคมหรือกลุ่มบุคคลแอบอ้างชื่อโรงเรียนกระทำการเรี่ยไร หรือการใด ๆ

                  เชิงบังคับขู่เข็ญ อันจะทำให้ภาพพจน์ของโรงเรียนเสื่อมเสีย

             2.โรงเรียนต้องไม่ยอมให้ผู้ปกครองเขียนลงในใบสมัครแสดงความจำนงจะบริจาคเงินเมื่อเวลามาฝากบุตรเข้าเรียน

             3. เมื่อรับนักเรียนเข้าเรียนแล้ว ถ้าโรงเรียนมีความจำเป็นที่จะพัฒนาโรงเรียน ผู้บริหารควรทำโครงการและอาจจะเชิญชวน 

                 ผู้ปกครองร่วมบริจาค โดยไม่มีการบังคับ  

             4. ขอให้ผู้บริหารโรงเรียนระวังมิตรสหาย ผู้ใกล้ชิดเกี่ยวกับเรื่องฝากเด็กเข้าเรียน

             5. การฝากเด็กเข้าเรียนโดยผู้ใหญ่

  • ฝ่ายบ้านเมือง

            ผู้บริหารโรงเรียน ควรพิจารณาช่วยเป็นพิเศษ โดยใช้ดุลยพินิจ ไตร่ตรองให้ถ่องแท้เสียก่อน

  • ฝ่ายศาสนจักร

            ขอให้พิจารณาในแง่ของ pastoral ทั้ง 2 กรณี ควรถือตามระเบียบของโรงเรียน

             6. ผู้บริหารต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูนักบวชและครูฆราวาส


*เป็นการบรรยายในการประชุมผู้บริหารโรงเรียนคาทอลิก ณ ตึกปิยะการุณย์ โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ วันที่ 5 มิถุนายน 2530
*ครู อาจารย์ นักบริหารการศึกษา และนักบริหารการพัฒนา : ภราดา ดร. ประทีป ม.โกมลมาศ