เราจะต้องปฏิรูปการศึกษากันกี่หน?*
ในทัศนะของข้าพเจ้า มีความเห็นว่าหลักสูตร 2503 นั้นมีจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ที่ดีอยู่หลายประการ ทั้งนี้ก็เพราะประเทศของเราเป็นประเทศกสิกรรม แต่ที่ต้องประสบกับความล้มเหลวก็เพราะว่าหลักสูตร 2503 นี้ถูกประกาศใช้คลุมไปทั่วประเทศไทยโดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพของท้องถิ่น และความต้องการของประชาชน ถ้าได้มีการใช้หลักสูตรดังกล่าวในบางท้องที่ๆ เหมาะสม ก็น่าจะเป็นหลักสูตรที่ดีเลิศสำหรับท้องที่นั้น หลักสูตร 2503 นี้ดูเหมือนจะมุ่งผลิตแต่กสิกรและกำลังคนระดับกรรมกรผู้ที่กำหนดหลักสูตรดังกล่าววลืมว่าคนไทยทุกคน ไม่ใช่กสิกร ยิ่งกว่านั้นประเทศของเราต้องการกำลังคนระดับอื่นๆ อีกมากในการพัฒนาประเทศ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องผลิตคนที่มีความสามารถนำเทคโนโลยีและความเจริญทางวิทยาการในโลกปัจจุบันมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศของเรา
ในที่สุดหลักสูตร 2503 ก็เป็นหมันไปในตัวเอง โรงเรียนต่างๆ ค่อยๆ พากันเลิกไม่ปฏิบัติตาม เจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ ก็ทำเป็นลืมๆ ไปไม่เคร่งกับระเบียบและแล้วใครๆ ก็หันกลับเข้ารูปเดิมกันอีกคือ มุ่งเน้นที่จะผลิตคนไปเป็นข้าราชการ และมุ่งเน้นผลิตคนไปสู่มหาวิทยาลัย ซึ่งก็ไม่ถูกอีกเหมือนกัน ถ้าเราจะพูดในแง่ของการพัฒนาประเทศชาติให้เป็นไปตามหลักเศรษฐศาสตร์ สังคม และการเมืองตามระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตย เราก็เห็นจะต้องคิดหาหลักสูตรกันใหม่ที่จะเอื้อต่อการส่งเสริมและพัฒนาอัตภาพของบุคคล และสังคมในเวลาเดียวกัน
ครั้นต่อมาในปี 2517 เราก็มีการปฏิรูปการศึกษากันขึ้น ซึ่งดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนรอคอยกันมานานแล้ว ข้อบกพร่องต่างๆ ที่ได้พบเห็นในหลักสูตร 2503 ได้ถูกนำมาเป็นข้อสังเกตในการปฏิรูปการศึกษา ในขณะเดียวกันสังคมของเราตั้งแต่ปี พ.ศ.2516 เป็นต้นมาได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในแนวความคิด ทั้งค่านิยมใหม่ๆ และอุดมการณ์อย่างคาดไม่ถึงมาก่อน เป็นต้น พฤติกรรมที่แสดงออกตามแนวความคิดใหม่ในรูปพลังมวลชน ได้ก่อให้เกิดความสับสนในสังคมเป็นอันมาก และพฤติกรรมดังกล่าวมานี้ได้กลายเป็นแรงผลักดันอันมีอิทธิพลต่อคณะปฏิรูปการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษายังได้ระดมสรรพกำลังความคิดมาจากสารทิศก็ว่าได้ มาร่วมกันแก้ปัญหาในสังคมเราและวางแผนการศึกษาใหม่จนดูเหมือนว่าการปฏิรูปครั้งนี้เป็นการปฏิรูปการศึกษาที่สมบูรณ์แบบก็ว่าได้
หลักสูตรหลังปฏิรูปการศึกษาเรียกว่าหลักสูตร 2521 เพราะเป็นหลักสูตรที่ประกาศใช้ในปีนั้น หลักสูตรนี้จะบันดาลให้เยาวชนของเราได้บรรลุถึงเป้าหมายที่คณะปฏิรูปมีเจตจำนงวางไว้ได้เท่าไรนั้นก็ควรจะรอดูกันต่อไป ข้าพเจ้าเองได้เคยมีความหวังในการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ไว้เป็นอย่างมาก แต่เมื่อได้ลงมือปฏิบัติตามแผนแล้ว ก็บังเกิดความไม่แน่ใจในความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา ข้าพเจ้าเห็นว่าอุปสรรคอันใหญ่หลวงมิใช่อยู่ที่หลักสูตรใหม่หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้เลย หากอยู่ที่ตัวบุคคลต่างหาก มันเป็นการยากสักเท่าใดที่จะทำให้เจ้าหน้าที่และครูอาจารย์ตลอดจนผู้ปกครองนักเรียนทั้งประเทศ ได้เข้าใจเจตนารมณ์และเห็นด้วยกับการปฏิรูปการศึกษา มันเป็นการยากสักเท่าใดที่จะเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนเหล่านั้น? ตราบใดที่ผู้ปฏิบัติและผู้มีส่วนได้เสีย ยังไม่เข้าใจให้ถูกต้องตรงกันแล้ว สิ่งที่คนจะมุ่งหมายบรรลุให้ถึงนั้น ตราบนั้นเราก็เป็นเสมือนดังคนที่พายเรือกันไปคนละทาง
คราวนี้เราลองหันไปดูการปฏิรูปการศึกษาในบรรดาอารยประเทศ เช่น อเมริกาและยุโรปกันบ้างซิว่า เขาได้ทำอะไรกัน และได้ประสบกับความสำเร็จแค่ไหนในการปฏิรูปการศึกษาของเขา ข้าพเจ้าไม่มีเจตนาให้เราไปเอาเยี่ยงอย่างลอกแบบเขา เพียงแต่ปรารถนาจะให้เราศึกษาเปรียบเทียบกันดูเท่านั้น เพราะเชื่อว่าการศึกษาเปรียบเทียบจะนำประโยชน์มาสู่เรา เป็นต้น ในแง่คิดและเป็นข้อสังเกตที่จะช่วยเตือนสติเรา ข้าพเจ้านำอเมริกามาเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบก็เพราะทราบว่า นักการศึกษาของเราเป็นจำนวนมากได้รับการศึกษามาจากสหรัฐอเมริกา จึงเป็นของธรรมดาอยู่เองที่ท่านเหล่านั้นย่อมได้รับอิทธิพลในเชิงความคิดมาไม่มากก็น้อย ความคิดรวบยอดที่มีไว้เป็นสาระสำคัญในการวางพื้นฐานเพื่อปฏิรูปการศึกษาของเรา เช่น "ความเสมอภาคทางการศึกษา" ก็เป็นสิ่งที่นักการศึกษาอเมริกันได้โต้เถียงกันมาอย่างโชกโชนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เป็นต้น
นักการศึกษา เช่น Riesman แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดกล่าวว่า "โรงเรียนมัธยมของรัฐพยายามเอาใจนักเรียนวัยรุ่น แผนกที่นักเรียนทำงานกันเต็มที่เห็นจะได้แก่แผนกกีฬา และการดนตรี" ผลก็คือ การบ้านมีน้อยลงจนเกือบจะไม่มีเลยในบางแห่งส่วนเกรดนั้นสูงขึ้น เมื่อปีที่แล้วข้าพเจ้าได้เคยไปร่วมประชุมกับบรรดาผู้ปกครองของโรงเรียนเซนต์เมรี่ในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน ในโอกาสนั้นมีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิผู้หนึ่งจากมหาวิทยาลัย Berkeley ร่วมประชุมอยู่ด้วย อาจารย์ผู้นี้กล่าวว่า โรงเรียนมัธยมของรัฐมักจะให้เกรดนักเรียนสูงๆ กัน แต่นักเรียนไม่มีความรู้ได้มาตรฐาน ความเห็นของอาจารย์ผู้นี้มีส่วนถูกมากทีเดียวก็เพราะว่าท่านเป็นกรรมการรับนักเรียนเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ดูเหมือนใครๆ ก็พูดเป็นเรื่องเดียวกันว่า โรงเรียนมัธยมของรัฐมักให้คะแนนกันเฟ้อและมีการเรียนแบบง่ายๆ ในสายตาของคนอเมริกันนั้น โรงเรียนมัธยมของเอกชนโดยทั่วไปแล้วมีมาตรฐานสูงกว่าของรัฐ เพราะในโรงเรียนเอกชนนั้น คณะผู้บริหารมีสิทธิที่จะเข้มงวดกับเด็กของตนได้มากกว่าโรงเรียนของรัฐ
ปัจจุบันมีนักการศึกษาอเมริกันมากมายเรียกร้องให้มีการปรับปรุงหลักสูตร ส่วนใหญ่มักจะขอให้กลับไปใช้หลักสูตรแบบเก่า หรือ "ขอให้เหมือนเดิม" หรือ "Back-to-Basics" คือ เน้นการเขียน การอ่าน คณิตศาสตร์ และศาสนาเป็นพื้นฐาน โรงเรียนเอกชนที่ยังรักษาความดีเลิศทางวิชาการไว้ได้ มักจะเป็นโรงเรียนที่ยึดระเบียบวินัยเป็นที่ตั้ง โรงเรียนเหล่านี้ยังคงสอนวิชาแบบ "classics" คือ เน้นความสำคัญของภาษา แม้ว่าภาษากรีกละติน ก็ยังคงมีสอนกันอยู่ ส่วนคณิตศาสตร์ ปรัชญา และวิทยาศาสตร์นั้นถือเป็นวิชาหลักที่ทุกคนจะต้องเรียน ในโรงเรียนเอกชนดังกล่าวนั้น นักเรียนต้องเรียนหนัก มีการบ้านมาก มีการแข่งขันกัน และนักเรียนมักจะมีความใฝ่สูงที่จะเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ด้วยเหตุนี้โรงเรียนเอกชนในสหรัฐ ยังคงเป็นที่นิยมของผู้ปกครองที่มีเงินทองอยู่ ทั้งๆ ที่โรงเรียนเก็บค่าเล่าเรียนสูงมาก โรงเรียนเอกชนในสหรัฐดำเนินกิจการโดยองค์การศาสนาหรือมูลนิธิ หรือชุมชน จึงมีความแตกต่างจากลักษณะโรงเรียนเอกชนในเมืองไทย
มหาวิทยาลัยในสหรัฐหลายแห่ง เริ่มเข้มงวดกับนักศึกษาที่เพิ่งเข้าใหม่ หรือ "freshmen" โดยการบังคับให้เรียนซ่อมและเรียนเสริมในวิชาภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ ในเวลาเดียวกันผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาได้โจมตีระบบการวัดผล และการให้เกรดแก่นักเรียนด้วย เช่น ดร. N.L. Gage แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นปรมาจารย์ในวิชาจิตวิทยาการศึกษา ท่านผู้นี้ได้ให้ความเห็นว่า ระบบ "grading on the curve" หรือการวัดผลโดยใช้วิธีตัดเกรดนั้นเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ในปัจจุบันโรงเรียนมากมายได้เลิกใช้วิธีประเมินผลการเรียนของนักเรียนแบบนี้ แต่หลังจากมีการปฏิรูปการศึกษาในประเทศของเราแล้ว เรากำลังลงมือใช้ระบบตัดเกรดกัน ชึ่งเป็นระบบที่อเมริกา กำลังเลิกใช้ นักการศึกษาส่วนมากเห็นว่าเราควรวัดผลตามมาตรฐานที่สถาบันได้วางไว้จึงจะถูกต้อง ไม่ควรใช้วัดโดยวิธีตัดเกรด แต่ถ้าเราต้องการศึกษาเปรียบเทียบ การก้าวหน้าของนักเรียนในชั้นเดียวกัน ระบบตัดเกรดก็วัดได้ดี การวัดผลแบบตัดเกรดนี้ไม่มีใช้ในยุโรป
เท่าที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการสรุปผลของการปฏิรูปการศึกษาในอเมริกา ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีก่อน อันบังเกิดผลให้เห็นในปัจจุบัน และเป็นการสรุปมาจากรายงานของนิตยสาร "ไทม์" เสียส่วนใหญ่ถึงแม้ว่ารายงานของนิตยสารฉบับนี้ไม่ใช่รายงานจากวงการการศึกษาก็ตาม แต่ก็เป็นรายงานที่สะท้อนให้เห็นภาพพจน์ของการศึกษา ในปัจจุบันได้ดีพอควร อย่างน้อยก็ทำให้เราเห็นว่าคนภายนอกวงการศึกษามองเห็นการศึกษาอย่างไร บุคคลที่ได้เคยไปศึกษาต่อในสหรัฐคงทราบดีว่า ในช่วงระหว่าง 10 ปีที่แล้วมานี้ โรงเรียนต่างๆ ได้พากันใช้นวกรรมการศึกษาใหม่ๆ โดยหวังว่าจะช่วยให้เกิดผลดีแก่การเรียนการสอน ในปัจจุบันหลายโรงเรียนได้เลิกใช้นวกรรมการศึกษาดังกล่าวก็เพราะว่า โรงเรียนของตนประสบแต่ความล้มเหลวจากวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่านวกรรมการศึกษานั้นจะเกิดผลดีก็ต่อเมื่อรู้จักใช้ให้ถูกกาลเทศะ ยิ่งกว่านั้น นวกรรมการศึกษาบางอย่างเหมาะสำหรับโรงเรียนบางประเภทเท่านั้น มีครูอาจารย์บางท่านคิดว่า วิธีการสมัยใหม่ช่วยทำให้บทเรียนง่ายขึ้นและเรียนสนุกสนาน ข้าพเจ้าเองมีความเห็นว่า การทำให้เกิดความสนใจ เกิดความสนุกสนานในการเรียนการสอนนั้น เป็นสิ่งที่พึงปรารถนา แต่จะทำให้เกิดสภาวะสนุกสนานในการเรียนการสอนทุกครั้งไปนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ การเรียนการสอนยังต้องการสมาธิ และวินัยจากตัวผู้เรียนและผู้สอนอยู่
นักการศึกษา เช่น Riesman แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดกล่าวว่า "โรงเรียนมัธยมของรัฐพยายามเอาใจนักเรียนวัยรุ่น แผนกที่นักเรียนทำงานกันเต็มที่เห็นจะได้แก่แผนกกีฬา และการดนตรี" ผลก็คือ การบ้านมีน้อยลงจนเกือบจะไม่มีเลยในบางแห่งส่วนเกรดนั้นสูงขึ้น เมื่อปีที่แล้วข้าพเจ้าได้เคยไปร่วมประชุมกับบรรดาผู้ปกครองของโรงเรียนเซนต์เมรี่ในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน ในโอกาสนั้นมีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิผู้หนึ่งจากมหาวิทยาลัย Berkeley ร่วมประชุมอยู่ด้วย อาจารย์ผู้นี้กล่าวว่า โรงเรียนมัธยมของรัฐมักจะให้เกรดนักเรียนสูงๆ กัน แต่นักเรียนไม่มีความรู้ได้มาตรฐาน ความเห็นของอาจารย์ผู้นี้มีส่วนถูกมากทีเดียวก็เพราะว่าท่านเป็นกรรมการรับนักเรียนเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ดูเหมือนใครๆ ก็พูดเป็นเรื่องเดียวกันว่า โรงเรียนมัธยมของรัฐมักให้คะแนนกันเฟ้อและมีการเรียนแบบง่ายๆ ในสายตาของคนอเมริกันนั้น โรงเรียนมัธยมของเอกชนโดยทั่วไปแล้วมีมาตรฐานสูงกว่าของรัฐ เพราะในโรงเรียนเอกชนนั้น คณะผู้บริหารมีสิทธิที่จะเข้มงวดกับเด็กของตนได้มากกว่าโรงเรียนของรัฐ
ปัจจุบันมีนักการศึกษาอเมริกันมากมายเรียกร้องให้มีการปรับปรุงหลักสูตร ส่วนใหญ่มักจะขอให้กลับไปใช้หลักสูตรแบบเก่า หรือ "ขอให้เหมือนเดิม" หรือ "Back-to-Basics" คือ เน้นการเขียน การอ่าน คณิตศาสตร์ และศาสนาเป็นพื้นฐาน โรงเรียนเอกชนที่ยังรักษาความดีเลิศทางวิชาการไว้ได้ มักจะเป็นโรงเรียนที่ยึดระเบียบวินัยเป็นที่ตั้ง โรงเรียนเหล่านี้ยังคงสอนวิชาแบบ "classics" คือ เน้นความสำคัญของภาษา แม้ว่าภาษากรีกละติน ก็ยังคงมีสอนกันอยู่ ส่วนคณิตศาสตร์ ปรัชญา และวิทยาศาสตร์นั้นถือเป็นวิชาหลักที่ทุกคนจะต้องเรียน ในโรงเรียนเอกชนดังกล่าวนั้น นักเรียนต้องเรียนหนัก มีการบ้านมาก มีการแข่งขันกัน และนักเรียนมักจะมีความใฝ่สูงที่จะเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ด้วยเหตุนี้โรงเรียนเอกชนในสหรัฐ ยังคงเป็นที่นิยมของผู้ปกครองที่มีเงินทองอยู่ ทั้งๆ ที่โรงเรียนเก็บค่าเล่าเรียนสูงมาก โรงเรียนเอกชนในสหรัฐดำเนินกิจการโดยองค์การศาสนาหรือมูลนิธิ หรือชุมชน จึงมีความแตกต่างจากลักษณะโรงเรียนเอกชนในเมืองไทย
มหาวิทยาลัยในสหรัฐหลายแห่ง เริ่มเข้มงวดกับนักศึกษาที่เพิ่งเข้าใหม่ หรือ "freshmen" โดยการบังคับให้เรียนซ่อมและเรียนเสริมในวิชาภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ ในเวลาเดียวกันผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาได้โจมตีระบบการวัดผล และการให้เกรดแก่นักเรียนด้วย เช่น ดร. N.L. Gage แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นปรมาจารย์ในวิชาจิตวิทยาการศึกษา ท่านผู้นี้ได้ให้ความเห็นว่า ระบบ "grading on the curve" หรือการวัดผลโดยใช้วิธีตัดเกรดนั้นเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ในปัจจุบันโรงเรียนมากมายได้เลิกใช้วิธีประเมินผลการเรียนของนักเรียนแบบนี้ แต่หลังจากมีการปฏิรูปการศึกษาในประเทศของเราแล้ว เรากำลังลงมือใช้ระบบตัดเกรดกัน ชึ่งเป็นระบบที่อเมริกา กำลังเลิกใช้ นักการศึกษาส่วนมากเห็นว่าเราควรวัดผลตามมาตรฐานที่สถาบันได้วางไว้จึงจะถูกต้อง ไม่ควรใช้วัดโดยวิธีตัดเกรด แต่ถ้าเราต้องการศึกษาเปรียบเทียบ การก้าวหน้าของนักเรียนในชั้นเดียวกัน ระบบตัดเกรดก็วัดได้ดี การวัดผลแบบตัดเกรดนี้ไม่มีใช้ในยุโรป
เท่าที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการสรุปผลของการปฏิรูปการศึกษาในอเมริกา ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีก่อน อันบังเกิดผลให้เห็นในปัจจุบัน และเป็นการสรุปมาจากรายงานของนิตยสาร "ไทม์" เสียส่วนใหญ่ถึงแม้ว่ารายงานของนิตยสารฉบับนี้ไม่ใช่รายงานจากวงการการศึกษาก็ตาม แต่ก็เป็นรายงานที่สะท้อนให้เห็นภาพพจน์ของการศึกษา ในปัจจุบันได้ดีพอควร อย่างน้อยก็ทำให้เราเห็นว่าคนภายนอกวงการศึกษามองเห็นการศึกษาอย่างไร บุคคลที่ได้เคยไปศึกษาต่อในสหรัฐคงทราบดีว่า ในช่วงระหว่าง 10 ปีที่แล้วมานี้ โรงเรียนต่างๆ ได้พากันใช้นวกรรมการศึกษาใหม่ๆ โดยหวังว่าจะช่วยให้เกิดผลดีแก่การเรียนการสอน ในปัจจุบันหลายโรงเรียนได้เลิกใช้นวกรรมการศึกษาดังกล่าวก็เพราะว่า โรงเรียนของตนประสบแต่ความล้มเหลวจากวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่านวกรรมการศึกษานั้นจะเกิดผลดีก็ต่อเมื่อรู้จักใช้ให้ถูกกาลเทศะ ยิ่งกว่านั้น นวกรรมการศึกษาบางอย่างเหมาะสำหรับโรงเรียนบางประเภทเท่านั้น มีครูอาจารย์บางท่านคิดว่า วิธีการสมัยใหม่ช่วยทำให้บทเรียนง่ายขึ้นและเรียนสนุกสนาน ข้าพเจ้าเองมีความเห็นว่า การทำให้เกิดความสนใจ เกิดความสนุกสนานในการเรียนการสอนนั้น เป็นสิ่งที่พึงปรารถนา แต่จะทำให้เกิดสภาวะสนุกสนานในการเรียนการสอนทุกครั้งไปนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ การเรียนการสอนยังต้องการสมาธิ และวินัยจากตัวผู้เรียนและผู้สอนอยู่
คงจะไม่เป็นการเสียเวลาผู้อ่านมากนัก ถ้าเราจะลองศึกษาเปรียบเทียบพอเป็นสังเขป การศึกษาในบางประเทศของยุโรปดูบ้าง โรงเรียนมัธยมในฝรั่งเศส โดยทั่วไปแล้วมีการเรียนหนักกว่าของอเมริกัน นักเรียนมัธยมปลายของฝรั่งเศสนั้นต้องเรียนถึง 8-10 ชม. ต่อวัน การบ้านนั้นมีมาก นักเรียนต้องใช้เวลาประมาณ 3 ชม. ทำการบ้านทุกคืน สำหรับคนที่จะเรียนต่อในมหาวิทยาลัยต้องผ่านการสอบ "bacalaureat" ระดับชาติซึ่งประกอบด้วยข้อสอบเขียนวิชาละ 4 ชม. และข้อสอบปากเปล่าอีกด้วย สถิติล่าสุดปรากฎว่า มีนักเรียนเพียง 67 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สอบผ่านมัธยมปลายได้ทุกปี
ส่วนในประเทศอังกฤษนั้นเล่า มีทั้งระบบการศึกษาที่แย่ที่สุดและดีที่สุดด้วยการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยดูจะยากเย็นยิ่งกว่าของฝรั่งเศสเสียอีก นักเรียนทุกคนต้องสอบ 0-level และคนที่สอบผ่านได้ดีจึงจะมีสิทธิ์สอบ A-level ได้ ความยากง่ายของ A-level นั้นดูเหมือนจะเท่ากับมาตรฐานปี 2 ของมหาวิทยาลัยในอเมริกา สถิติบ่งไว้ว่ามีนักเรียนเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สามารถสอบผ่านเข้ามหาวิทยาลัยได้ ในปี 1960 รัฐบาลพรรคกรรมกรของอังกฤษได้พยายามที่จะยุบเลิกโรงเรียนประเภท "grammar schools" (โรงเรียนเอกชน สำหรับลูกผู้มีอันจะกิน) และจัดตั้งโรงเรียนมัธยมแบบประสมขึ้น (comprehensive schools) ทั้งนี้ ก็เพื่อจะยึดนโยบาย "ความเสมอภาค" ในที่แห่งใดที่โรงเรียนประเภท "grammar schools" ถูกยุบเลิกไป ผู้ปกครองก็ร้องทุกข์ว่ามาตรฐานการศึกษาเสื่อมต่ำลง มีอันธพาลเพิ่มมากขึ้น มีการหนีเรียนขาดเรียนมากขึ้น ผู้ปกครองยังให้ความเห็นอีกว่า ในโรงเรียนมัธยมแเบบประสมดังกล่าวนั้น การเรียนภาษาต่างประเทศไม่ได้รับการสนใจและนักเรียนมักไม่เลือกเรียนวิชาที่ยาก เช่น คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์
เราได้เห็นแล้วว่า แต่ละประเทศก็มีการปรับปรุงหลักสูตร ส่วนหลักสูตร 2521 ของเรานั้น จะได้ผลมากน้อยเพียงใดก็คงจะเห็นกันในไม่ช้า ในระยะที่เริ่มใช้หลักสูตรใหม่นี้ บรรดาครูบาอาจารย์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเริ่มร้องทุกข์กันบ้างแล้ว บ้างก็ว่านักเรียนสนใจการเรียนน้อยลง นักเรียนไม่ทำงานหนักดังเช่นแต่ก่อน ทั้งนี้ ก็เพราะว่านักเรียนรู้ว่าในระบบใหม่นี้ไม่มีการสอบตก ถ้ามีการตกก็มีการสอบซ่อม นักเรียนหลายคนจึงไม่ขวนขวายที่จะเรียนเหมือนแต่ก่อน นิสัยผัดวันประกันพรุ่งก็เริ่มเพาะตัวขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะนักเรียนคิดว่า วันนี้ตนขี้เกียจก่อน พรุ่งนี้ค่อยขยัน แต่พอถึงวันรุ่งขึ้นก็ผลัดวันไปอีกเพราะ "วันพรุ่งนี้" มีมาเสมอ การวัดผลแบบตัดเกรดที่ใช้อยู่ในขณะนี้ก็มีส่วนทำให้นักเรียนบางคนไม่ตั้งใจเรียนเท่าที่ควร ครูอาจารย์ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้คงทราบดีว่านักเรียนบางคนไม่ต้องออกแรงทำอะไรเลยก็สอบได้ เพราะบังเอิญตกอยู่ในช่วงเกรดที่ตัดนั่นเอง ครูบางท่านก็ว่าการให้โรงเรียนออกข้อสอบเองวัดผลเองนั้น ทำให้มาตรฐานต่ำลง ซึ่งก็เป็นความจริงในหลายแห่ง แต่ผลดีจากระบบใหม่ก็มีเหมือนกันคือ เมื่อโรงเรียนสอบเองวัดผลเอง การเรียนการสอนที่แท้จริงก็เกิดขึ้นได้ ซึ่งผิดกับแต่ก่อนที่โรงเรียนทั้งหลายมุ่งสอนเด็กเพื่อสอบมากกว่าให้ความรู้อย่างแท้จริง ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นระบบใหม่หรือเก่า ย่อมจะมีข้อดีและข้อเสียด้วยกันทั้งนั้น สิ่งที่เราพึงสังวรไว้ก็คือ ตัวบุคคลเป็นปัญหามากกว่าระบบเป็นต่างหาก
ยังมีข้อสังเกตอีกข้อหนึ่งที่ควรได้รับการพิจารณาโดยรอบคอบ ข้อสังเกตนี้ได้แก่การออกข้อสอบแบบปรนัยซึ่งก็มีมาก่อนที่จะมีการปฏิรูปการศึกษาเสียอีก การสอบแบบปรนัยนั้นดีเมื่อเราต้องการวัดว่านักเรียนรู้เนื้อหาที่คลุมไปทั่วทั้งบทเรียนหรือไม่ แต่ถ้าใช้ข้อสอบแบบปรนัยมากเกินไป จะทำให้นักเรียนจำนวนมากทีเดียวเขียนเรียงความไม่เป็น โรงเรียนบางแห่งใช้ข้อสอบปรนัยเสียจนขาดความรอบคอบ เช่น ข้อสอบเรียงความออกแบบปรนัยก็มี (ในสหรัฐนิยมใช้กันทั่ว) ข้อสอบเขียนคำบอกออกแบบปรนับก็เห็นมีอยู่ถมเถ ผู้ออกข้อสอบดังกล่าวหารู้ไม่ว่า ข้อสอบเขียนคำบอกนั้นนอกจากจะวัดดูว่านักเรียนสามารถเขียนได้ถูกแค่ไหน แล้วยังจะวัดสมรรถภาพการฟังของนักเรียนอีกด้วย ถ้าเราขืนใช้ข้อสอบแบบปรนัยโดยขาดความพอดีแล้ว ผลเสียจะตกอยู่กับนักเรียน มิช้ามินานเด็กของเราก็จะเป็นดังเช่นเด็กอเมริกันพวกนั้น คือนักศึกษาปีที่หนึ่งมีสมรรถภาพการเขียนการอ่านเพียงแค่เด็ก ป.6 เท่านั้น ครูบางคนชอบข้อสอบปรนัยก็เพราะต้องการให้เกิดความยุติธรรมในการตรวจข้อสอบ ซึ่งก็เป็นความดีที่ต้องยึดไว้เป็นหลัก แต่ข้อสอบปรนัยไม่ช่วยวัดความสามารถในการเขียนแบบวิจารณ์หรือความสามารถที่แท้จริงของนักเรียนเลย วิชา เช่น วรรณคดี ภาษา ภูมิ-ประวัติศาสตร์แม้แต่วิทยาศาสตร์ ยังต้องการข้อสอบ 2 แบบคือ แบบปรนัยและอัตนัย จึงจะวัดความรู้ความสามารถของนักเรียนได้ ถ้าจะอ้างปรัชญาการเรียนของฝรั่งเศสละก็ เขาถือว่าการสามารถเขียนวิพากษ์วิจารณ์ รู้จักใช้ถ้อยสำนวนโวหาร และทัศนความคิดเห็นโต้แย้งในเชิงวิชาการเป็น นั่นแหละถือว่าเป็นการวัดขั้นรวบยอดของนักเรียนที่ควรจะได้รับประกาศนียบัตร "bacalaureat" คือ สำเร็จมัธยมศึกษาบริบูรณ์
อย่างไรก็ดี ข้าพเจ้าเพียงแต่จะเน้นให้เห็นว่า ครูบาอาจารย์ควรใช้การสอบทั้งสอง แบบคือ ปรนัยและอัตนัย จึงจะวัดผลได้ถูกต้องกว่า แต่จะมีครูสมัยนี้สักกี่คนมีเวลาพอที่ จะตรวจข้อสอบแบบอัตนัย และตรวจอย่างยุติธรรม? ถ้าจะมีการประเมินผลของหลักสูตร 2521 อีก 9 ปีข้างหน้า ข้าพเจ้าไม่อยากเห็นว่าเราประสบกับความล้มเหลวเหมือนดังหลักสูตร 2503 หรือได้รับผลอันไม่พึงปรารถนาดังเช่นเด็กอเมริกัน ตามรายงานของนิตยสาร "ไทม์"
จึงขอเสนอความคิดเห็นนี้มาเป็นข้อคิดแด่ทุกท่านที่สนใจในการศึกษาของบุตร หลานของเรา หากเราแต่ละคนช่วยกันแนะบุตรหลานของเราให้รู้จักเรียนโดยถูกวิธีแล้ว และครูบาอาจารย์ยังยึดหลักวิชาครูอันแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้รับผิดชอบวางแผน ฝ่ายบ้านเมืองไม่พยายามเปลี่ยนนโยบายกันบ่อยๆ เราก็คงจะหวังได้ว่าหลักสูตร 2521 คงประสบความสำเร็จในบั้นปลาย และเราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูปการศึกษา กันอีกก่อนเวลาอันสมควร
*ครู อาจารย์ นักบริหารการศึกษา และนักบริหารการพัฒนา : ภราดา ดร. ประทีป ม.โกมลมาศ