ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศไทย
ในบริบทของการอุดมศึกษาไทยสู่ความสามารถ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์*
ภราดาประทีป ม.โกมลมาศ
อธิการบดีกิตติคุณ
28 พฤศจิกายน 2546
บทนำ
ในบริบทของการอุดมศึกษา ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอยู่ที่มหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพราะมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งรวมทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพที่จะได้รับการพัฒนาและการเพิ่มขีดความสามารถให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของสังคมและของประเทศ
ตามนัยดังกล่าวข้างต้น การศึกษาระดับปริญญาตรี จึงถือได้ว่าเป็นระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สำคัญที่สุดของอุดมศึกษา เพราะเป็นพื้นฐานของการวิจัยและพัฒนาระดับสูงต่อไป รวมทั้งการค้นคว้าและการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่มีความจำเป็นสำหรับการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ
เพราะฉะนั้นยุทธศาสตร์ของการจัดการศึกษาน่าจะเริ่มด้วยคำถามที่น่าจะถามกันคือคุณภาพ การศึกษาระดับปริญญาตรีของประเทศเราได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของโลกหรือไม่? หรือเทียบเท่ากับประเทศที่เจริญแล้ว เราได้เคยมีการศึกษาวิจัยระดับชาติด้วยเรื่องนี้หรือไม่ บัณฑิตที่ผลิตออกไปโดยสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่ยอมรับของสังคมเพียงใด? ในเมื่อเราได้ยินบ่อยครั้งกับคำวิพากย์ วิจารย์มากมาย จากผู้ใช้ผลผลิตของเรา
ในประเทศโลกตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกาได้มีการตั้งคำถามทำนองเดียวกันนี้ และในระหว่างปี ค.ศ.1991-1993 ได้มีการศึกษาและวิจัยอย่างจริงจังเกี่ยวกับคุณภาพของบัณฑิตทั้งประเทศ จนได้กลายเป็นรายงานชิ้นสำคัญระดับชาติ ซึ่งมีชื่อว่า “An American Imperative : Higher Expectation for Higher Education” เสนอโดยคณะกรรมการระดับประเทศที่ได้รับการแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัยต่างๆ กรรมการดังกล่าวมีชื่อว่า The Wingspread Group สาระสำคัญของการรายงานที่นำมาเสนอในที่นี้คือ The Secretary’s Commission on Achieving Necessary Skills หรือ The SCANS Agenda ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะต่อสถาบันการศึกษาทั้งประเทศให้มีการปรับปรุงระบบการศึกษา และระบบการผลิตบัณฑิต คณะกรรมการมีความเชื่อว่าข้อเสนอแนะดังกล่าว คือ “FOUNDATION SKILLS and COMPETENCIES” สำหรับโลกสมัยใหม่
ทักษะขั้นพื้นฐานกับการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
I. FOUNDATION SKILLS
สมรรถนะสำหรับทุกคนใน high – performance workplace ที่จำเป็นต้องมี
1. Basic Skills |
: reading, writing, arithmetic and mathcmatics, speaking and listening. |
- Reading |
: บัณฑิตที่อ่านเป็นต้องสามารถบอกได้ว่าสิ่งที่อ่านนั้นมาจากไหน และสามารถตีความหมายของ written information ในเอกสารได้ เช่น คู่มือกราฟ และข้อกำหนด |
- Writing |
: มีความสามารถที่จะ communicate ความคิดและข้อคิด ข้อมูล ข่าวสาร ในการเขียน และสามารถทำ documents เช่น ข้อเสนอแนะ คู่มือ รายงาน กราฟ และ flow charts. |
- Arithmetic / Mathematics |
: มีความรู้คณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่นำมาใช้ได้ รู้จักเลือกใช้สูตรคณิตศาสตร์อย่างเหมาะสม จากเทคนิคทางคณิตศาสตร์มากมาย |
- Speaking |
: สามารถจัดและลำดับ ความคิดและ communicate ด้วยวาจาได้อย่างมี คุณภาพ |
- Listening |
: สามารถฟังแล้วจับประเด็นได้ ตีความได้ และตอบรับกับ verbal messages and other cues. |
2. Thinking Skills |
: think creatively, make decision, solve problems, visualize, know how to learn and reason. |
- Creative Thinking |
: สามารถ generate new ideas |
- Decision Making |
: ทักษะการคิดและตัดสินใจสามารถ specify เป้าหมาย และ constraints สามารถ generate ทางเลือก รู้จักพิจารณาความเสี่ยง และรู้จักประเมิน รู้จักเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด |
- Problem Solving |
: รู้จักรับรู้ปัญหา และแสวงหาวิธี implement plan of Action |
- Visualizing |
: รู้จักมองด้วยสายตาของปรัชญา สามารถ organize and process symbols, pictures, graphs, objects and other information. |
- Knowing how to learn |
: รู้จักวิธีเรียน และรู้จักการใช้ learning techniques และสามารถประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ |
- Reasoning |
: ค้นหาหลักการหรือสร้างกฎ เพื่อใช้ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่ง 2 สิ่ง และใช้หลักการที่ค้นพบในการแก้ปัญหา |
3. Personal Quality |
: display responsibility, self-esteem, sociability, self-management, and integrity and honesty. |
- Responsibility |
: การแสดงความพยายามถึงขีดสุดและมุมานะที่จะบรรลุถึงเป้าหมาย |
- Self-Esteem |
: เชื่อในความสามารถของตนเองรู้จักมองชีวิตเชิงสร้างสรรค์ positive view of self. |
- Sociability |
: สามารถปรับตัวได้ รู้จักสร้างมิตรภาพ และรู้จักเข้าใจเห็นใจผู้อื่น |
- Self-Management |
: รู้จักประเมินและประมาณตัวเองอย่างถูกต้อง ตั้งเป้าหมายของชีวิตและ แสดงออกซึ่งความสามารถในการบังคับควบคุมตนเอง |
- Integrity and honesty |
: ความน่าเชื่อถือไว้ใจได้ซื่อสัตย์สุจริต |
II. COMPETENCIES
สมรรถนะสำหรับผู้ที่มีประสิทธิผลสูง จำเป็นต้องรู้จักใช้ปัจจัยต่อไปนี้ อย่างได้ผลสูงสุด
- Resources |
: บัณฑิตจะต้องรู้จักการบริหารและการจัดการเรื่อง เวลา การเงิน วัสดุ สถานที่และบุคลากร |
- Interpersonal Skills |
: บัณฑิตจะต้องรู้จักทำงานเป็นทีมเข้ากับคนอื่นได้ และสอนเขาให้สามารถบริการคนอื่น เป็นผู้นำในการต่อรอง และทำงานกับคนต่างวัฒนธรรมได้ |
- Information |
: บัณฑิตจะต้องสามารถเข้าถึงข้อมูล และรู้จักประเมินข้อมูลจัดระบบข้อมูลและจัดเก็บในรูป Filing สามารถสื่อสารและใช้ computer ในการ process information |
- Systems |
: บัณฑิตจะต้องสามารถเข้าใจเรื่องของระบบ รู้จักระบบสังคม องค์กรและ เทคโนโลยี สามารถทำงานและบริหารอย่างได้ผลกับระบบต่างๆ บัณฑิตต้อง สามารถวิเคราะห์ตรวจสอบ และปรับปรุงขีดความสามารถอีกทั้งยังสามารถ ออกแบบ และปรับระบบให้เข้ากับสภาพขององค์กรที่มีการปรับตัวอยู่ตลอด เวลาได้ |
- Technology |
: บัณฑิตต้องสามารถเลือกใช้เครื่องมือ อุปกรณ์และประยุกต์ใช้กับงานได้อย่างเหมาะสม และสามารถที่จะคงไว้ หรือแก้ไขเครื่องมือและอุปกรณ์นั้นได้ |
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า “ความรู้เป็นสากล” และมหาวิทยาลัยมีความเป็นสากลในตัวเอง ดังเป็นที่ประจักษ์ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติว่า ที่ไหนมีมหาวิทยาลัย ที่นั่นเป็นศูนย์การเรียนรู้ และสามารถดึงดูดบรรดาผู้ใฝ่รู้ทั้งหลายจากทุกทิศทุกทาง ที่มุ่งหน้ามาแสวงหา “ปัญญา” (wisdom) เพื่อพัฒนาตนเองจนสำเร็จการศึกษาแล้วออกไปพัฒนาสังคมต่อไป
จากข้อมูลเบื้องต้นดังที่กล่าวมา เราจะเห็นได้ว่า ทักษะขั้นพื้นฐานและการเสริมสร้างสมรรถนะระดับปริญญาตรีให้แก่บัณฑิตเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันไม่ว่าบัณฑิตผู้นั้นจะเลือกเรียนปริญญาตรีในสาขาใดหรือคณะใด เงื่อนไขของการเพิ่มขีดความสามารถเป็นสิ่งจำเป็น ไม่ใช่เฉพาะสำหรับบัณฑิตในโลกตะวันตกเท่านั้น แต่หมายถึงบัณฑิตทั่วโลกอีกด้วย
สำหรับประเทศไทยเรานั้น มหาวิทยาลัยควรจะมุ่งเน้นปรับปรุง และพัฒนาการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นต้น ในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป ซึ่งมีจำนวนหน่วยกิต 30-36 หน่วยกิต ให้มีความเข้มข้น ทัดเทียมนานาอารยประเทศ สถาบันการศึกษาต้องประเมินตนเองและเอาจริงกับมาตรฐานการศึกษาตามควรลองของวิสัยทัศน์และพันธกิจที่มีเขียนไว้ ผู้บริหาร คณาจารย์และนักศึกษาเข้าใจถึงปรัชญาและจุดมุ่งหมายของมหาวิทยาลัยเพียงใด สิ่งที่น่าจะทำมากที่สุดในเวลานี้ คือ ในระบบของ The New Economy* เราจำเป็นต้อง internationalize และ digitize หลักสูตรและระบบการเรียนการสอน เป็นต้น ในยุค cyberspace ซึ่งมีการปฏิรูปการศึกษาแบบถอนรากถอนโคนกัน คือ จะต้องมี new paradigm เช่น customized learning plan, etc. ทั้งนี้ เพื่อว่านักศึกษาของเราจะได้เข้าถึงวิทยาการความรู้จากแหล่งต่างๆ ทั่วโลก สามารถมีปฏิสัมพันธ์ในขณะเรียนกับนักศึกษาอื่นในภูมิภาคและในโลก พร้อมทั้งเน้นด้านการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่เก่งพร้อมด้วยวุฒิภาวะเชิงศิลธรรมด้วย จึงจะทำให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืนต่อไป _______________________________________
* ตามทรรศนะใน Encyclopedia of The New Economy เมื่อเราพูดถึงเรื่อง The New Economy เรามักจะเข้าใจว่านั่นคือ “เศรษฐกิจแบบใหม่” ซึ่งก็มีส่วนถูกแต่ความหมายของ The New Economy มีนัยสำคัญมากกว่านี้ สำหรับยุคโลกาภิวัฒน์ หมายถึงโลกของตลาดแรงงานซึ่ง knowledge worker ทำงานโดยใช้สมองมากกว่าใช้มือทำ เป็นโลกใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร สร้างการแข่งขันเชิงธุรกิจในโลกดังกล่าว knowledge worker ไม่เพียงแต่ใช้ laptop computers เป็น แต่ยังรวมถึงการปฏิวัติระบบการเงินและระบบการธนาคารแบบใหม่อีกด้วย The New Economy ยังหมายถึงการรู้จักใช้ “นวตกรรม” ซึ่งสำคัญกว่า “mass production” ในโลกแบบใหม่นี้ การลงทุนหมายถึง การซื้อความคิดใหม่หรือ concepts ใหม่ มากกว่าการซื้อ วัสดุและเครื่องจักรอุปกรณ์เพราะในโลกใหม่นี้สิ่งที่แน่นอนคือการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้กลายเป็นสิ่งถาวร หรือ constant เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน ดุจดังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งเข้ามาแทนที่ยุคเกษตรกรรม ฉะนั้นจึงเป็นโลกใหม่ซึ่งแตกต่างจากยุคเก่าๆ โดยสิ้นเชิง ซึ่งอาจจะเรียกว่า “การปฏิวัติ” ก็ว่าได้
*จุลสารมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2546) : ภราดาประทีป ม. โกมลมาศ