การประกันคุณภาพการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน*
การประกันคุณภาพการศึกษาในสถานการศึกษาเอกชนมีความเป็นมาช้านาน เป็นต้นในสหรัฐอเมริกาซึ่งจัดในรูปแบบของ Accreditation โดยกลุ่มวิชาชีพต่างๆ นับตั้งแต่ภาคธุรกิจเอกชนได้คิดมาตรฐานสากล ISO 9000 ขึ้นมาสถาบันระดับอุดมศึกษาเช่นในประเทศอังกฤษมีการตื่นตัวมากที่จะนำหลักการของ ISO 9000 มาใช้ประกันคุณภาพการอุดมศึกษา โดยที่หลายสถาบันได้เปลี่ยนจุดเน้นจาก TQM (Total Quality Management) ไปใช้ BS 5750-BS EN ISO 9000 ในการประกันคุณภาพทางการศึกษา (Quality Assurance in Education) แทน
ส่วนในประเทศไทยเรานั้น ทบวงมหาวิทยาลัยได้พยายามสร้างระบบเพื่อประกันคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขึ้นมาเช่นเดียวกับกระแสความคิดในประเทศอังกฤษ ออสเตรเลียฯ หลักการใหญ่ของทบวงมหาวิทยาลัย คือ เน้น
-
กระบวนการจัดตั้งสถาบัน
-
กระบวนการผลิตบัณฑิต และ
-
กระบวนการประเมินผล
การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ทบวงมหาวิทยาลัยถือเป็นนโยบายหลักที่จะเน้น
-
ความมั่นคงของสถาบัน
-
การพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
-
คุณภาพมาตรฐานทางวิชาการ
โดยกำหนดเกณฑ์ต่างๆ เอาไว้ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
1. เกณฑ์การจัดตั้ง
ทบวงมหาวิทยาลัยได้กำหนดเกณฑ์การจัดตั้ง การรับรองวิทยฐานะ และการเปลี่ยนประเภทไว้อย่างชัดเจน ซึ่งจะประกอบด้วย
1.1 วัตถุประสงค์และภารกิจ
-
ผู้รับใบอนุญาตจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา
-
ต้องปฏิบัติภารกิจ 4 ประการ คือ
-
การเรียนการสอน
-
การวิจัย
-
การให้บริการสังคม
-
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
-
1.2 ความพร้อมขั้นต่ำด้านกายภาพ ตามเกณฑ์ที่ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนด (ตรวจสอบโดยคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ)
-
มีหลักฐานแสดงทุนประเดิมการจัดตั้ง
-
ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ทบวงกำหนดที่ว่าด้วยเรื่องชื่อสถาบันเครื่องหมาย กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ขอจัดตั้ง ฯลฯ
-
ถ้าเป็นมหาวิทยาลัย ต้องเปิดดำเนินการสอนอย่างน้อย 2 กลุ่มสาขาวิชาหลัก และ 5 สาขาวิชาย่อย และต้องมีบัณฑิตศึกษาด้วย
-
ถ้าเป็นมหาวิทยาลัย ต้องมีที่ดินเป็นผืนเดียวกัน 100 ไร่ขึ้นไป
-
ถ้าเป็นวิทยาลัยหรือสถาบันต้องมีที่ดิน 6-8 ไร่
-
มีแผนผังแสดงบริเวณและแผนผังการก่อสร้าง รวมทั้งรายการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ฯลฯ
2. มาตรฐานทางวิชาการ (กำกับดูแลคุณภาพมาตรฐานโดยคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ)
-
หลักสูตร ทบวงมหาวิทยาลัยได้กำหนดเกณฑ์การขอเปิดดำเนินการสาขาวิชาและการพิจารณาหลักสูตรระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาในสถาบัน
-
ศักยภาพและความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน
-
มีโครงสร้างวิชาการของหลักสูตร ตามที่ทบวงกำหนด
-
มีบุคลากรที่มีวุฒิการศึกษาตามที่ทบวงกำหนด เช่น วุฒิของผู้บริหารสถาบัน หัวหน้าสาขาวิชา อาจารย์ประจำ และสัดส่วนของอาจารย์ประจำต่อนักศึกษา รวมถึงสัดส่วนคุณวุฒิของอาจารย์ประจำ: ตรี: โท: เอก
-
มีแผนพัฒนาอาจารย์และบุคลากรทั่วไป ฯลฯ
2.2 การวัดผลทางการศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัยได้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณารัรบรองมาตรฐานการศึกษา และการพิจารณาประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาสาขาวิชาหลักสูตร ระดับอุดมศึกษาที่ไม่สูงกว่าระดับปริญญาตรี และหลักสูตรระดับบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยมีสาระสำคัญในเรื่องต่อไปนี้
-
หลักการวัดผลเป็นไปตามข้อกำหนดที่ทบวงเป็นผู้อนุมัติ
-
มีคณะอนุกรรมการแต่งตั้ง โดยทบวงคอยตรวจสอบกระบวนการวัดผล และอนุมัติผลการสอบ
-
วุฒิอาจารย์และสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่ทบวงกำหนด
2.3 ห้องสมุดและห้องปฏิบัติการ
-
มีการตรวจสอบจำนวนหนังสือในห้องสมุดตามสาขาวิชาที่จะมีการรับรองมาตรฐาน
-
มีการตรวจสอบห้องปฏิบัติและเครื่องมือตามเกณฑ์ที่ทบวงกำหนด ทุกครั้งที่มีการตรวจรับรองมาตรฐานในสาขานั้นๆ
-
จำนวนที่นั่งในห้องสมุดต้องได้สัดส่วนกับจำนวนนักศึกษาทั้งหมด
3. งบดุลประจำปี
สถาบันอุดมศึกษาเอกชนต้องส่งดุลประจำปีที่ได้รับการตรวจสอบจาก
-
สภาสถาบันซึ่งมีผู้แทนทบวงเป็นกรรมการรวมอยู่ด้วย
-
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
นอกจากนี้ ทบวงยังมีคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ที่กำลังศึกษา เพื่อหารูปแบบและมาตรการที่จะออกเป็นระเบียบปฏิบัติต่อไป โดยหวังที่จะให้เกิดการประกันคุณภาพอุดมศึกษาของเอกชนต่อผู้บริโภคและสังคมไทยต่อไป
อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญที่นักการศึกษาพึงตระหนักคือ กลไกการควบคุมมาตรฐานและคุณภาพของการศึกษาที่แท้จริงนั้น ขึ้นอยู่กับ
-
กลไกภายในสถาบันที่แต่ละสถาบันกำหนดสำหรับ Self-regulation และ
-
ปณิธาน (Institutional Will) อันแน่วแน่ของผู้บริหารสถาบันทุกระดับ
สิ่งที่น่าจะพิจารณาและตั้งเป็นประเด็นคำถามคือ
-
แต่ละสถาบันต่างก็ประกาศว่าสถาบันของตนยึดหลัก “Academic Excellence” แต่ในทางปฏิบัตินั้น สถาบันเคยนิยามหรือให้คำจำกัดความของ Academic Excellence หรือไม่ และ Standard of Excellence นั้นเป็นอย่างไร
-
สถาบันมี Operational Guidelines ให้แก่คณบดี หัวหน้าภาควิชา และคณาจารย์ผู้สอนหรือไม่
-
วินัยการเรียนของนักศึกษา และวินัยการถ่ายทอดวิชาของอาจารย์เป็นอย่างไร
-
และอื่นๆ
การประกันคุณภาพการศึกษายังเป็นของใหม่สำหรับประเทศไทย ISO 9000 อาจจะไม่เหมาะสมสำหรับสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง (Prof. G.D. DOHERTY) ปัญหาที่ต้องพิจารณาก็คือ
1) Autonomy และ Accountability
2) Standard ของใคร
3) Whether it is worth it?