ค่านิยมพื้นฐานและค่านิยมสัมพัทธ์ในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม*

ภราดามาร์ติน ประทีป โกมลมาศ*

ปัญหาเรื่องค่านิยม

      เมื่อพูดถึงกฏหมายขั้นมูลฐานของประเทศแล้วทุกคนก็หมายถึงรัฐธรรมนูญ ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญบางประเทศถูกเขียนขึ้นตามเจตนารมย์ของฝ่ายปกครองไม่กี่คนก็ตาม รัฐธรรมนูญนั้นก็ผูกมัดทั้งผู้ปกครองและประชาชน เช่นเดียวกัน

      รัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศย่อมแฝงไว้ด้วยหลักจริยธรรม และจรรยาบรรณตามขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมนั้นๆ

      ในการตีความหมายรัฐธรรมนูญโดยทั่วไป ตุลาการรัฐธรรมนูญไม่จำกัดตัวเอง ด้วยการตีความหมายตามตัวอักษรอย่างเดียว แต่ยังแสวงหาวิธีทางที่จะทำให้นิยาม และตีความหมายรัฐธรรมนูญตามหลักศีลธรรม และวัฒนธรรมประเพณีซึ่งประชาชนยึดถือ

      เมื่อพูดถึงบทบาท และ วิธีปฏิบัติของตุลาการรัฐธรรมนูญแล้ว Alfred Grosser เน้นความคิดที่ว่า เจตนารมณ์ของคนส่วนใหญ่ ก็คือ การยึดหลักของกฏทั่วไปของสามัญชน

      จากข้ออภิปรายข้างบนนี้ นักสังคมศาสตร์และคนทั่วไปมีความคิดเห็นอย่างไรในเรื่องของค่านิยม ? เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก ? เป็นเรื่องซับซ้อน ? หรือเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน ?

ค่านิยมคืออะไรและเป็นอะไรกันแน่ ?

      ค่านิยมเป็นผลผลิตของสังคม (ถ้าเป็นเช่นนี้ก็มีลักษณะเป็นสัมพัทธ์และเปลี่ยนแปลงเสมอ) หรือว่าประวัติศาสตร์ทำให้ค่านิยมบางอย่างมีความสำคัญ (ซึ่งในกรณีนี้ค่านิยมอยู่เหนือกาลเวลา และอำนาจของสมัยปกครอง) ?

      ตัวอย่างเช่น ในสมัยหนึ่งหญิงไทยไม่นิยมทาปาก เพราะถือว่าเป็นการผิดต่อคุณสมบัติที่ดีของหญิงไทย แต่เดี๋ยวนี้การทาปากถือเป็นเรื่องของการนิยมที่ดี ซึ่งใครๆ ก็ปฏิบัติกัน ในกรณีนี้การทาปากเป็นผลิตผลของสังคม ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถือว่า เป็นเรื่องไม่ดี แต่เดี๋ยวนี้เห็นว่าดี หรืออย่างน้อย ก็เป็นที่นิยมเป็นสัมพัทธ์ เพราะวันหนึ่งคนอาจเลิกปฏิบัติก็ได้

      หรือตัวอย่างเช่น ประเพณีลอยกระทง ซึ่งเริ่มขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ประเพณีนี้ยังเป็นที่นิยมกันอยู่ในปัจจุบัน ในกรณี ประเพณีลอยกระทงอยู่เหนือกาลเวลา และสมัยการปกครอง เพราะไม่ว่าคนไทยจะอยู่ภายใต้การปกครองในระบอบใดก็ยังยึดมั่นอยู่กับการถือประเพณีนี้

      ถ้าค่านิยมของเรามีคุณสมบัติเป็นปัจจุบันและเปลี่ยนแปลง มันก็หมายความว่า ค่านิยมนั้นถูกกลืนโดยการปฏิรูปของสังคมตามยุคตามกาลสมัยได้หรือว่า เรายอมรับค่านิยม เฉพาะที่มีอิทธิพลทำให้เราแตกต่างจากคนอื่น ? หรือว่าเราใช้วิจารณญาณที่จะยึดถือเอาเฉพาะค่านิยมบางอย่าง ซึ่งอยู่เหนือกาลเวลา และวัฒนธรรมที่เราสามารถยึดถือร่วมกับคนชาติอื่นได้ ?

      ตัวอย่างเช่น การแต่งตัวของคนไทย เครื่องแต่งกายแบบไทยโบราณ เช่น แบบสุโขทัยก็ดี แบบศรีสัชนาลัยก็ตาม ยังเป็นที่นิยมของหญิงไทย แต่เครื่องแต่งกายของชายแบบโบราณดังกล่าว เราก็เลิกถือปฏิบัติแล้ว และพยายามใช้เครื่องแต่งกายที่เป็นสากล ในอนาคต สังคมเราอาจจะกลับไปยึดถือค่านิยมแบบเก่าก็ได้

ค่านิยมเป็นสัมพัทธ์ทั้งหมดหรือ (relative values) ?

      สังคมศาสตร์แบบคลาสิก (พร้อมด้วยประเพณีนิยมทาง positivism) มีทฤษฏีซึ่งเริ่มโดยการแสดงให้เห็นว่า ปรากฏการณ์ทางสังคมหนึ่งสามารถอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมอีกแห่งหนึ่งได้ ในระบบความคิดเช่นนี้ ข้อมูลทาง meta social (เช่น กรรมพันธุ์ หรือภาวะแวดล้อมทางกายภาพ) ไม่นับรวมอยู่ด้วย ความจริงนั้น ข้อมูลทาง meta social กลับถูกปฏิเสธเสียด้วยซ้ำ (เช่น สังคมเป็นตัวกำหนดว่าการปฏิบัติแบบนี้เป็นชาย การปฏิบัติแบบนั้นเป็นหญิง) หรือได้รับการวิเคราะห์ภายใต้รูปแบบ ซึ่งมันถือกำเนิดเท่านั้น

      ตามทรรศนะเช่นนี้ ค่านิยมถือกำเนินมาจากระบบสังคม และเศรษฐกิจ และแปรผันตามระบบไปด้วยค่านิยมดังกล่าวจะสะท้อนสภาวะของสังคม ค่านิยมในแง่นี้จะเป็นสัมพันธภาค (relative) กับระบบที่มันถือกำเนิด เพราะฉะนั้น การพูดถึงค่านิยมสมบรูณ์ (absolute values) จะไร้ความหมาย

      ผู้ที่มีความคิดเช่นนี้ ไม่ใช่ผู้ที่มีความคิดแบบฝ่ายซ้าย หรือฝ่ายขวา ถ้าจะเข้าใจระบบความคิดของคนประเภทนี้ เราควรรับทราบก่อนว่า คนประเภทนี้มองปัญหาในแง่ปัจจุบันนั้นสมบรูณ์ในตัวเองแล้ว

      ความคิดแบบเป็นสัมพันธภาคนี้ พบในหลักกฎหมายภายในประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศด้วย ระบบกฏหมายในประเทศถือว่า กฏหมายควรจะยึดหลักการวิวัฒนาการทางขนบธรรมเนียมประเพณี และกฏหมายระหว่างประเทศถือว่า รัฐบาลใดก็ตามควรได้รับการรับรองตั้งแต่วินาทีที่รัฐบาลนั้นสามารถพิสูจน์ได้ว่า ตนสามารถปกครองประเทศได้

      เพราะฉะนั้น เราจะเห็นว่านักสังคมศาสตร์แบบคลาสิกนั้น (ซึ่งยึด traditional positivism) ไม่ยอมรับปัญหาทางด้านจริยธรรมว่า เป็นวิทยาศาสตร์และ ยังไม่ยอมให้เอาปัญหาแบบนี้เข้ามารวมอยู่ข่ายพิจารณาอีกด้วย สังคมศาสตร์แบบคลาสิก ไม่ยอมรับรองกฏศีลธรรมใดที่เป็น absolute และไม่ยอมรับว่ามีมาตรฐานสังคมที่เรียกว่าสิ่งดี และสิ่งชั่วอีกด้วย เพราะถือว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นผลของการที่เราตีความหมาย

ประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่า ในสังคมมนุษย์มีค่านิยมสมมบรูณ์ ( absolute values ) ซึ่งไม่แปรผัน

      Pro. Rudolf ไม่เห็นด้วยกับพวกสังคมศาสตร์แบบคลาสิก ซึ่งพยายามอธิบายการปรากฎการณ์ทางสังคมหนึ่งด้วยการปรากฏการณ์ของอีกสังคมหนึ่ง และพวกนี้ยังไม่ยอมรับข้อมูลทาง meta social อีกด้ยว เพราะตามความจริงนั้น ข้อมูลประกอบ (meta social data) เช่น กรรมพันธุ์สิ่งแวดล้อมมากมายเสริมการตัดสินใจของมนุษย์

      Pro. Rudolf มีความเห็นว่า การกำจัดขอบเขตของค่านิยมด้วยกาลเวลานั้นไม่ถูก คือรับแต่สิ่งที่เป็นปัจจุบัน ท่านให้ความเห็นว่า สถาบันหลายแห่งดำรงอยู่ได้ทั้งๆ ที่ได้ผ่านการทดลองของกาลเวลามาหลายศตวรรษ และ ถึงแม้ว่าสถาบันเหล่านั้นจะมีสีสรรค์ รูปร่าง เปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลาก็จริง แต่ในแก่นสารแล้วสถาบันนั้นรักษาเอกลักษณ์ของตนไว้ได้ไม่หมดบุคลิกไป

      ยิ่งกว่านั้น Pro. Rudolf เชื่อว่า ประสบการณ์ของมนุษย์ที่ได้สะสมมามากกว่า 40,000 ปี และยังคงเป็นส่วนประกอบของมนุษย์ในอนาคตต่อไป เช่น สัญชาติญาณ ความต้องการขั้นพื้นฐานความรู้สึกบางอย่างซึ่งมนุษย์มีเหมือนๆ กัน ความนึกคิดต่อสื่อข่าวสาระระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองและอื่นๆ Pro. Rudolf เชื่อว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสมบัติประจำตัวของมนุษย์ ที่ได้สะสมมานานหลายพันปีและยังคงมีลักษณะเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และสิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้เรามนุษย์รู้สึกพิศวงใจเมื่อได้เห็นภาพเขียนในถ้ำของมนุษย์ยุคหิน เห็นภาพเขียนของศิลปินต่างๆ หรือ เมื่ออ่านบทประพันธ์ของปราชญ์ หรือกวี และสิ่งนี้เหมือนกันที่ทำให้เราเป็นคริสตชนตามแบบพระวรสาร ทั้งหมดนี้ เราเรียกว่า ค่านิยมสมบรูณ์ (absolute values)

ความหนึ่งเดียวของมนุษย์ (คุณสมบัติต่างๆ ของมนุษย์ที่กล่าวมาแล้ว) นี้เอง ที่เป็นรากฐานของกฏธรรมชาติ (natural law) แต่หลายคนจะค้านว่ากฏธรรมชาตินั้นกำกวมเข้าใจยาก

      ปัญหาของการไม่เข้าใจกฏธรรมชาติ ไม่ใช่อยู่ที่ว่าเราไม่สามารถรู้ว่ามีกฏธรรมชาติหรือไม่แต่อยู่ที่การเจาะจงให้ชัดลงไปว่า อะไรเป็นกฏธรรมชาติ อะไรไม่ใช่ อะไรเป็นเงื่อนไขของกฏธรรมชาติ ตามโครงสร้างสังคม และ อะไรเป็นเพียงรูปธรรมเท่านั้น

      เพื่อจะเข้าใจเรื่องนี้ให้ถ่องแท้ Pro. Rudolf เ สนอว่า เราควรศึกษาจากประสบการณ์ของมนุษย์ เพื่อจะเข้าใจค่านิยมสมบรูณ์ (absolute values) เราควรศึกษาประสบการณ์ของมนุษย์ในประวัติศาสตร์

      ความเห็นของนักสังคมศาสตร์แบบคลาสิกเป็นทรรศนะแคบ และพ่ายแพ้ในตัวเอง เพราะผู้สังเกตการณ์ (พวกคลาสิก) ถูกตัดขาดจากขอบข่ายมหาศาลของประวัติศาสตร์ เราต้องไม่ลืมว่า มนุษย์เป็นผู้ชม และเป็นผู้แสดงในคลื่นของประวัติศาสตร์ ซึ่งสร้าง และทำลายค่านิยม ในบางครั้งมนุษย์ดูเหมือนจะจมลงในคลื่นของข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้เขามักจะมีสายตาสั้นเมื่อมองปรากฏการณ์ของโลกเหมือนดังที่ Tristan Bernard ได้อุทานไว้ว่า “หลังจากที่มนุษย์มีประสบการณ์มากกว่า 5,000 ปี แล้ว มนุษย์แต่ละยุคยังคงทำผิดแบบโง่ๆ อีกหรือ ?

      แต่มนุษย์มีสมรรถภาพที่จะปรับทัศนียภาพของการมองตนได้ เมื่อมีเหตุการณ์ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เกิดขึ้น เช่น สงครามในเวียดนามในปี ค.ศ. 1965 เราใช้คำพิพากษาตัดสินสงครามเวียดนามด้วยทรรศนะอีกแบบหนึ่งก็จริง แต่ด้วยความเข้าใจในสถานการณ์ดีกว่า และด้วยการใช้วิจารณญานที่ดีกว่า และก็เช่นเดียวกัน ในเรื่องของประวัติศาสตร์อื่นๆ เช่น สนธิสัญญา Versailles เป็นต้น ตัวอย่างดังกล่าวมานี้ ช่วยให้เราหลุดพ้นจากความคิดแบบพวกสังคมศาสตร์แบบคลาสิก เพราะฉะนั้น เมื่อเราพิพากษาตัดสินฮิตเล่อร์ก็ดี หรือพลพรตผู้สร้างระบบทรราชขึ้นมาในเขมรก็ตาม เราไม่ใช้ค่านิยมที่ฮิตเล่อร์ยึดถือเป็นมาตรการตัดสินในการพิจารณาเท่านั้น แต่ยังใช้ข้อมูลที่ได้มาจากผลของการกระทำของเขาอีกด้วย

ค่านิยมีที่ผ่านการพิสูจน์และการบรรลุถึงความดีเชิงประวัติศาสตร์

      ข้อคิดต่อไปนี้ อาจจะไม่มีผลเชิงปฏิบัติแก่มนุษย์ เพราะทุกๆ วันในชีวิตประจำวัน มนุษย์เราต้องตัดสินแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เราจะไปรอฟังคำตัดสินของประวัติศาสตร์อยู่ไม่ได้

      เพราะฉะนั้น เราจะใช้หลักประสบการณ์ของชีวิตเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจ เมื่อเรามองดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา และข้อมูลต่างๆ ที่เรามนุษย์เก็บมาได้ เราพบว่ามนุษย์เรารู้จักเลือกเป็นในการเก็บข้อมูลบางอย่างเท่านั้น จากประสบการณ์นี้ เราพบอีกว่ามีค่านิยมบางอย่างที่มนุษย์เลือกสรรไว้ และยึดถือปฏิบัติเรื่อยมา ซึ่งเราถือเป็นค่านิยมที่ได้รับการทดสอบด้วยเวลานานพอแล้ว ซึ่งอีกนัยหนึ่ง จะเรียกว่ามรดกจากบรรพบุรุษก็ได้ ความคิดรวบยอดแบบนี้เป็นแบบเปิด คือ ยอมรับว่าค่านิยมมีการวิวัฒนาการ ซึ่งจะทำให้ค่านิยมนั้นงอกงามยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น Magna Carta ของอังกฤษการปฏิวัติฝรั่งเศส การปฏิวัติในอเมริกา ตลอดจนการประกาศกฤษฎีกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และข้อตกลงที่เมือง Helsinki ซึ่งมนุษย์ชาติค่อยๆ สร้างขึ้นมาจนเป็นที่ยอมรับของทุกคน และได้กลายเป็นแรงกระตุ้นทางศีลธรรม ซึ่งไม่มีใครกล้าปฏิเสธหรือพยายามทำลายลงได้ง่ายๆ

     การมีชีวิตร่วมกันของมนุษย์ (co-existence) ย่อมเป็นไปไม่ได้ ถ้ามนุษย์ไม่มีค่านิยมที่เป็นของร่วมกัน หรือเป็นหลักปฏิบัติที่ทุกๆ ชาติยอมรับ เช่น การประกาศชัยชนะ การยอมแพ้ การเจรจาต่อรอง ทั้งหมดนี้ เป็นวิธีการที่มนุษย์ชาติรับรองตั้งแต่แรกเริ่มประวัติศาสตร์แล้ว มนุษย์ยอมรับข้อตกลงแบบสุภาพบุรุษ คือ ยุติสงคราม เพื่อเจรจาหาทางสัติภาพ นี่เป็นเงื่อนไขและเป็นหลักการที่จะช่วยให้สังคมมนุษย์อยู่ได้

     การบรรลุถึงความดีเชิงประวัติศาสตร์นี้ เป็นเครื่องรับรองความปลอดภัยของมนุษยชาติ ซึ่งหมายถึงค่านิยมอันสูงส่ง ซึ่งมนุษยชาติได้สะสมมาจากประสบการณ์ในอดีตเป็นเวลานาน เพราะฉะนั้นนักกฏหมายบางคนกล้ากล่าวว่า “ถ้ารัฐสภาออกกฏหมายขัดต่อเหตุผล และสิทธิของคนสามัญแล้ว กฏหมายประชาชน (common law) จะลงมือปฏิบัติการแทน” ซึ่งแสดงให้เห็นว่า มนุษยชาติต้องการให้รัฐทุกแห่งรับรองสิทธิมนุษยชนนั่นเอง

      แต่เราก็ต้องยอมรับว่า ประวัติศาสตร์นั้น เป็นที่รวมของข้อมูลที่ส่งเสริม และต่อต้านทฤษฎีอะไรก็ได้เพราะฉะนั้น จึงเป็นความจริงที่จะกล่าวว่าไม่มีอะไรที่จะเกิดขึ้นไม่ได้เช่น ผู้มีอำนาจทำถูกเสมอ ฯลฯ อย่างไรก็ดี เราต้องไม่สิ้นหวัง และเลิกคิดที่จะก้าวหน้าความสัมฤทธิผลในทุกด้านตั้งแต่เริ่มประวัติศาสตร์จนถึงบัดนี้ จะช่วยเรามิให้ท้อแท้ใจ

      ถ้าเรายอมรับว่ามีความก้าวหน้าในโลกของวิทยาศาสตร์ และเทคนิคแล้ว เราก็ควรจะยอมรับว่ามีความก้าวหน้าในเรื่องของ “ค่านิยม” ด้วย

      ข้าพเจ้าขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบ ดังนี้

      ชาย 2 คน บังเอิญได้ที่นั่งติดกันในรถไฟสายหนึ่ง คนหนึ่งกำลังอ่านหนังสือพิมพ์อยู่ อีกคนหนึ่งใช้สายตาของตนแลเหนือบ่าอ่านหนังสือพิมพ์นั้นบ้าง ถ้าชานคนหลังนี้อยากจะอ่านหนังสือพิมพ์ให้ได้ใจความสมบรูณ์จากฉบับนั้น ซึ่งเขาเองไม่ได้ซี้อ เขาควรทำอะไร ? และไม่ควรทำอะไร ? คำตอบก็คือว่า ไม่ว่าในกรณีใดๆ หรือในสถานการณ์ใดๆ ชายคนที่ 2 จะเหยียบเท้าชายคนที่กำลังอ่านหนังสือพิมพ์อยู่ แล้วฉวยหนังสือพิมพ์มาอ่าน ทำไมได้เป็นอันขาด สิ่งที่เขาต้องทำ ก็คือ ควาบคุมความอยากอ่านของเขาให้อยู่ในดษณีภาพ

      ต่อมาชาย 2 คนนั้น บังเอิญทะเลาะกันอย่างรุนแรงจนถึงกับมีการฆ่ากัน คนที่รอดชีวิตอยู่ก็ประกาศว่า เขาเป็นฝ่ายถูก เพราะว่าเขายังมีชีวิตอยู่ ผู้ตายเป็นฝ่ายผิด คนที่ใช้เหตุผล และวิธีการคิดแบบนี้ยังมีอยู่มากในสังคมเรา และแม้ในสังคมระดับนานาประเทศ

      หากในกรณีที่ว่าชาย 2 คนนั้น เป็นคนฉลาดมีไหวพริบพอๆ กัน บังเอิญเกิดขัดใจกันขึ้น ชาย 2 คนนั้นทราบว่าถ้าเขาใช้อาวุธ เขาทั้งสองอาจจะถึงแก่ความตายด้วยกันทั้งคู่ เพราะต่างคนต่างมีวิชาความรู้ความสามารถ ที่จะประหัดประหารอีกฝ่ายหนึ่งให้ราบคาบไปได้พอๆ กัน เขาทั้งสองจึงตัดสินใจไปหาบุคคลที่ 3 ให้ทำการประนีประนอมและเจรจาหาข้อตกลง และสัญญาว่าจะยอมรับมติคำตัดสินจากบุคคลที่ 3 นั้นอย่างสุภาพบุรุษ

      จุดนี้แหละที่เป็นจุดที่เราพูดว่า เราได้สำเร็จแล้ว เราได้บรรลุถึงความดีเชิงประวัติศาสตร์ และเป็นจุดเริ่มต้นในการก้าวต่อไปของมนุษยชาติ

      เราจงพิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อ 140 ปีมาแล้ว พวกเหมืองถ่านหินในประเทศสก๊อตแลนด์ต้องมีอาชีพเป็นคนขุดถ่านหินชั่วลูกชั่วหลาน พวกอาชญากรในฝรั่งเศสยังคงได้รับการทรมานตามกฏหมายพวกล้มละลายยงคงถูกติดคุกตลอดชีวิตในอังกฤษ เด็กอายุ 6-8 ปี ยังต้องทำงานถึง 12-14 ชั่วโมงต่อวัน และพวกมีหน้ามีตาในสังคมยังคงทำการค้าทาษขายทาษอยู่ในสหรัฐอเมริกา และอาฟริกา และในประเทศไทยของเราอง เหตุการณ์ทำนองนี้เคยเกิดขึ้นมาครั้งหนึ่งแล้วเหมือนกันมีหลายคนพูดว่า สถาบันการต่างงานของเราอยู่ในขั้นวิกฤต ถึงแม้ว่าสถาบันการแต่งงานของเราอาจจะเลวร้ายตามที่กล่าวมานี้ก็จริง แต่หากเราเปรียบกับระบบการแต่งงานในสมัยโบราณในบางวัฒนธรรมแล้ว เราจะเห็นว่าสถาบันสมัยนี้ยังดีกว่าในสมัยก่อน ซึ่งมีการซื้อขายบังคับเจ้าสาวให้แต่งงานกันยิ่งกว่านั้น ในสมัยนี้ ความป่าเถื่อนทรรุณกรรมเริ่มมีน้อยลง ระหว่างชายกับหญิง ระหว่างบิดามารดากับลูกๆ ระหว่างครูกับนักเรียนอีกด้วย

       มีหลายคนพูดว่า สถาบันการแต่งงานของเราอยู่ในขั้นวิกฤต ถึงแม้ว่าสถาบันการแต่งงานของเราอาจจะเลวร้ายตามที่กล่าวมานี้ก็จริง แต่หากเราเปรียบกับระบบการแต่งงานในสมัยโบราณในบางวัฒนธรรมแล้ว เราจะเห็นว่าสถาบันสมัยนี้ยังดีกว่าในสมัยก่อน ซึ่งมีการซื้อขายบังคับเจ้าสาวให้แต่งงานกันยิ่งกว่านั้น ในสมัยนี้ ความป่าเถื่อนทารุณกรรมเริ่มมีน้อยลง ระหว่างบิดามารดากับลูกๆ ระหว่างครูกับนักเรียนอีกด้วย

    เพียงเมื่อ 50 ปีมานี้เอง ใครๆ ก็คิดว่าวิธีที่ดีที่สุดในการระงับข้อพิพาทระหว่างชาติในยุโรปด้วยกัน ก็คือ การทำสงคราม ในทุกวันนี้เพิ่งเป็นวันแรกในประวัติศาสตร์ที่ใครๆ เริ่มเห็นแล้วว่า สงครามคือความชั่วร้าย และเป็นวิธีการป่าเถื่อน ในการหาทางระงับข้อพิพาทกันระหว่างฝ่ายที่ชิงดีชิงเด่น เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมันนี เป็นต้น

       มนุษย์ทุกคนมองโลกในแง่ดี หรือ แง่ร้าย ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละคน แต่เราก็ทราบดีว่ามาตรฐานการตีค่าต่อสิ่งใดตามความคิดของตัวเราเองนั้น ไม่ใช่เป็นมาตรฐานที่ทุกคนจะยอมรับได้เพราะฉะนั้น มติของคนส่วนใหญ่อาจจะไม่เป็นที่ยอมรับของคนบางคน การที่เราพูดถึงว่า สงครามเป็นความชั่วร้าย และควรอยู่นอกวิธีการขจัดข้อแตกต่างระหว่างกัน เราก็ควรตระหนักดีว่า ในโลกนี้ยังมีตัวอย่างของการขัดแย้งในเรื่องนี้ เช่น กรณีประเทศอาฟกานิสถาน หรือประเทศเขมร เป็นต้น

      เพราะฉะนั้น เมื่อเราใช้คำว่า “ความดีเชิงประวัติศาสตร์” เราหมายความถึงความคิดรวบยอดซึ่งรวมทั้งค่านิยมและกฏต่างๆ ที่มนุษยชาติได้พยายามสร้างขึ้นมาในประวัติศาสตร์ของมนุษย์

ค่านิยม เกิด เปลี่ยน หรือ อยู่ตลอดไปได้อย่างไร ?

      ในเมื่อพื้นฐานของ “ค่านิยม” มาจากประสบการณ์ จึงเป็นความจำเป็นที่เราจะต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า ประสบการณ์นั้นได้มาอย่างไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

      ในทุกสังคมการถ่ายทอดวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอาจเป็นไปอย่างสม่ำเสมอราบรื่นหรือค่อยๆ แปรรูปเป็นอย่างอื่นไป ไม่ว่าจะเป็นในกรณีใดก็ตาม ชบวนการถ่ายทอดนี้อย่อมมีปัญหาซึ่งเกิดมาจากภายในสังคมเอง ปัญหานี้จะเกิดขึ้นเมื่อขบวนการถ่ายทอดนี้เกิดชะงัก หรือขาดตอนไป เนื่องจากสังคมกำลังปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมใหม่ ซึ่งกำลังเข้ามาแทนที่

   ปัญหาที่ว่านี้ บางปัญหาผูกพันอยู่กับความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่น การปรับตัวเข้ากับสมัยใหม่การออกกฏหมายป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น การบริหารท้องถิ้นในยุคใหม่ ฯลฯ นอกจากนี้ ปัญหาเดียวกันอาจจะดึงดูดความสนใจของแต่ละยุคต่างกัน เช่น ปัญหาใน พ.ศ. 2522 อาจต่างกับปัญหาเดียวกันใน พ.ศ. 2525 หรือคนหนุ่มมีปัญหาต่างกับคนมีอายุ กรรมกรพบปัญหาที่แตกต่างไปจากนายจ้าง เป็นต้น

      เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ทันทีเรื่องของค่านิยมก็ได้รับการกระทบกระเทือน หรือไม่ก็มีส่วนพัวพันกับปัญหานั้น ความจริงนั้น ค่านิยมที่สังคมยึดไว้ ช่วยทำให้สังคมตระหนักถึงปัญหา และในบางครั้งค่านิยมก็เป็นเครื่องมือที่ดีที่ช่วยให้สังคมรับคำท้าทายของปัญหาได้เป็นอย่างดี

      ค่านิยม ยังเป็นเครื่องกระตุ้นให้คนในสังคมเกิดพลังกลุ่มขึ้น เมื่อมีข้อขัดแย้งในเรื่องของค่านิยมเกิดขึ้นแก่สังคมใด มันก็เป็นการยากที่จะแก้ปัญหานั้น พลังกลุ่มต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพราะกลุ่มนั้นต้องการยึดค่านิยมที่ตนหวงแหนไว้

      มนุษย์ตั้งแต่แรกเกิด จะต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าวนี้ ตราบเท่าที่มีชีวิตอยู่ เมื่อมนุษย์เดอนมาถึงทางสี่แยกของชีวิต ค่านิยมที่เขาเคยยึดถือมาแต่เยาว์วัยอาจได้รับการท้าทาย ปัญหาก็คือว่าเขาผู้นั้นสามารถซื่อสัตย์ต่อตัวของเขาเองได้แค่ไหนเขาควรจะเปลี่ยนแปลงค่านิยมของเขาหรือไม่ หรือควรยึดถือค่านิยมเก่าๆ เอาไว้ ทั้งๆ ที่รายรอบตัวของเขาเปลี่ยนค่านิยมเป็นอย่างอื่นไป

      การที่คนในสังคมใดสังหนึ่ง เริ่มสงสัยในความถูกต้องของค่านิยมของตน ระบบค่านิยมของสังคมนั้นก็ได้รับการกระทบกระเทือน ถูกสั่นคลอน

        ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงค่านิยมมี 2 ขั้น คือ ขั้นทำลาย หรือสลายตัวค่านิยมนั้น และขั้นจัดรูปแบบค่านิยมใหม่ เช่น สงคราม เป็นสิ่งที่ใครๆ ยอมรับว่าไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างมนุษย์ด้วยกัน คนก็เลยมองหาวัตถุประสงค์ของสังคมใหม่ เช่น สันติภาพ และอาจจะยึดเป็นค่านิยมใหม่ขึ้นในสังคมก็ได้

       สรุปก็คือ ปัญหา และการท้าทายของสังคมเป็นเหตุให้สังคมเปลี่ยนแปลงค่านิยม และค่านิยมเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่าง การท้าทาย และการแก้ปัญหา

      วิถีทางต่างๆ ที่ปัญหาในสังคมได้รับการแก้ใขให้ลุล่วงไปด้วยดีหรือไม่นั้น เป็นประสบการณ์อันมีค่าแก่สังคม ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการรักษาค่านิยม หรือสร้างค่านิยมใหม่ขึ้น ซึ่งเราอาจถือได้ว่าสังคมนั้นได้สัมฤทธิผล ในการบรรลุถึงคุณค่าอันสูงส่ง (ค่านิยม) เชิงประวัติศาสตร์

ฐานรากของการบรรลุถึงคุณค่าอันสูงส่งเชิงประวัติศาสตร์ (ค่านิยม)

      บางคนอาจจะถามว่า จากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และวิธีการแก้ปัญหาของสังคม ตลอดจนขบวนการซึ่งสังคมได้คำตอบต่อปัญหานั้นมา และยึดถือเป็นหลักปฏิบัตินั้น สังคมได้ใช้มาตรฐานอะไรเป็นเครื่องตัดสินใจ ? อะไรเป็นค่านิยม อะไรเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่ไม่มีความหมายทางประวัติศาสตร์ เราทราบได้อย่างไรว่า ค่านิยมใดควรยึดถือไว้ ? ค่านิยมใดควรปล่อยให้หมดไป และค่านิยมใดควรได้รับการปรับปรุงพัฒนา ?

      ต่อคำถามนี้ Prof, Rudolf Rezsohazy เสอน 2 คำตอบ

      คำตอบแรกนั้น เป็นคำตอบแบบยกตังอย่าง เช่น ในยุคปัจจุบัน Pologamy (การมีภรรยาหลายคน) ค่อยๆ หมดไปจากสังคมสมัยใหม่ ซึ่งยึดหลัก Monogamy (การมีภรรยาคนเดียว) เป็นวิธีปฏิบัติเหตุผลก็คือว่า โครงสร้างของสังคมยุคใหม่ การศึกษาค้นคว้า ปัญหาเศรษฐกิจ การเรียกร้องสิทธิและความเสมอภาคของสตรี ฯลฯ เรียกร้องให้คนในสังคมที่มีการศึกษาเลือกปฏิบัติ Monogamy เป็นประเพณีของสังคม

      คำตอบแบบที่ 2 ใช้หลัก Metahistorical ซึ่งหมายความว่า ค่านิยมใดก้ตามที่สังคมยอมรับ ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามหลักเหตุผล และธรรมชาติของมนุษย์ ความรักอยู่เหนือความเกลียดชัง สันติภาพย่อมดีกว่าสงคราม เป็นต้น

    คำตอบทั้งสองแบบนี้ทำให้เกิดปัญหาต่อการเข้าใจ และการยอมรับของคนบางกลุ่มก็ได้ เพราะคำตองทั้งสองแบบนั้น มีหลักมาจากการสังเกต และข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องใช้เวลานานพิสูจน์ ยิ่งกว่านั้น ข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาเพื่อสนับสนุนคำตอบนี้ได้มาจากการสะสมข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ซึ่งมนุษย์ค่อยๆ วิวัฒนาการขึ้นมา

      การเลือกตัดสินใจที่จะรับหลักปฏิบัติใดเป็นค่านิยมของสังคม จึงมาจากความคิดไตร่ตรองของนักคิดระดับโลก เช่น นักปราชญ์ นักการศึกษา นักเทววิทยา นักปรัชญา ประกาสก เป็นต้น

      เราจะรักษาค่านิยมที่ได้ผ่านการพิสูจน์ของกาลเวลาได้อย่างไร

      เราทราบดีว่า ความสัมฤทธิผลของมนุษย์ที่ได้มาซึ่งคุณค่าอันสูงส่งเชิงประวัติศาสตร์ เช่น ข้อตกลงที่เมือง Helsinki กฤษฎิกาว่าด้วยสิทธมนุษยชนของสหประชาชาติ ไม่ใช้เครื่องรับรองว่าจะไม่มีการละเมิดข้อตกลงดังกล่าวในสังคมนุษย์ตังอย่างที่เห็นได้ชัด คือสิทธืของนักการฑูตไม่ได้รับการคุ้มครองในประเทศอิหร่าน เป็นต้น

      เพราะฉะนั้น เราจะหวังว่ามนุษย์ทุกคนจะให้ความเคารพต่อกฏหมายที่ถูกต้องกับหลักศีลธรรมก็หาได้ไม่ แต่อย่างน้องทุกประเทศ ทุกสังคมก็พยายามที่จะให้สมาชิกของตนเข้าใจ และเคารพต่อกฏหมาย โดยวิธีการ socializing เพื่อว่าใครก็ตามที่ละเมิดต่อกฏหมาย จะเกิดความรู้สึกผิดชอบขึ้นในมโนธรรม พฤติกรรมดังกล่าวนี้เป็นวิธีการปฏิบัติของมนุษย์เท่านั้น

      ด้วยเหตุผลนี้ การให้การศึกษาอบรมจึงเป็นวิธีที่ดีเลิศวิธีหนึ่ง ที่จะพยุงรักษาค่านิยมที่ได้ผ่านการพิสูจน์ของกาลเวลา ไว้ในสังคมมนุษย์

      ในเวลาเดียวกัน เราก็ตระหนักดีว่า ในสังคมยุคใหม่นี้ มีผู้ได้รับการศึกษาสูงมากมาย มักจะสงสัยในความถูกต้องของค่านิยมบางอย่างของสังคม ที่ได้รับการเชื่อถือมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ สิ่งที่น่าสังเกตอีกสิ่งหนึ่งในเรื่องนี้ก็คือในขณะที่มีปัญญาชนบางกลุ่มต้องการจะขจัดค่านิยมบางประการที่ถือมาเป็นเวลานานออกไป ก็มีการเสนอนำเอาค่านิยมอื่นเข้ามา แทนที่ เช่น เราต้องการจะมีเสรีภาพในการทำแท้ง หรือกำหนดการเกิดของมนุษย์ ในเวลาเดียวกัน เราก็อยากจะออกกฏหมายควบคุมภาวะแวดล้อม เพราะเราเกรงว่า ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมกำลังถูกทำลาย

บทส่งท้าย

      ไม่มีอะไรน่ากลัวสำหรับประเทศหรือวัฒนธรรมใด เท่ากับการปล่อยให้สังคมพัฒนาสวนทางกับหลักจริยธรรม ซึ่งมนุษย์ชาติได้บรรลุถึง ในแง่นี้ เราอาจถามตัวเองว่า

      “การปฏิวัติเป็นวิธีสุดท้ายสำหรับมนุษยชาติที่จะกระทำหรือ เพื่อจะรักษาไว้ซึ่งคุณค่าอันสูงส่งเชิงประวัติศาสตร์ ที่มนุษย์ใช้เวลาหลายพันปีจึงได้สัมฤทธิ์ในเมื่อ

  • คนไม่กี่คนกุมอำนาจทางการเมืองไว้ในสังคม”

  • หนทางที่จะเผยแพร่ความคิด และอุดมการถูกอุดตันหมด ?

  • ไม่มีโอกาสอยู่อีกแล้วที่จะนำสังคมนั้นไปสู้ทิศทางเดินที่ถูกต้อง ? 

      โดยนัยนี้ คุณธรรมความดีจำเป็นสำหรับทุกคน คุณธรรมความดีไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ของชนชั้นกลางหรือพวกมีอันจะกิน คุณธรรมเป็นที่พึ่งของชนชั้้นอ่อนแอและของทุกคน เพราะฉะนั้น มโนธรรมของสังคมไปคู่กับการบรรลุถึงคุณค่าสูงส่งเชิงประวัติศาสตร์

ฝากผู้อ่าน : วิธีทำงานให้รวดเร็ว

      ความรวดเร็วนั้น ช่วยส่งเสริมการพัฒนาการทำงานได้มาก และในเมื่อการแก้ไขระบบงานนั้นยังทำไม่ได้ ก็ควรที่เราจะแก้ไขด้วยการปรับปรุงอุปนิสัยของตัวเราไปก่อน เราอาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวเองให้ทำงานรวดเร็วได้ ดังนี้

1. ต้องไม่เป็นคนที่ลังเลตัดสินใจยาก ต้องกล้าวินิจฉัยตัดสินใจ และกล้ารับผิดชอบต่องานในหน้าที่ของเรา

2. ต้องปลุกตัวเราเองให้กระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าคนรอบข้างจะเกียจคร้านอย่างไรก็ช่างเขา

มีพุทธภาษิตว่า “ใครจะหลับไหลก็ช่างเขา เราตื่นตัวก้าวไปข้างหน้าอยู่เสมอ เสมือนม้าฝีเท้าดีย่อมวิ่งขึ้น

หน้าม้าฝีเท้าเลว ฉะนั้น”

3. ฝึกทำงานด้วยความมีสมาธิ และพยายามทำลายสถิติของตนเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่าให้คุณภาพลดลง

4. ต้องหาวิธีลัด และวิธีที่ง่ายที่สุดในการทำงาน

5. ต้องหาวิธีลดขั้นตอนการทำงานให้มากที่สุด

6. เมื่อมีงานอยู่เฉพาะหน้า ต้องลงมือทำงานทันที ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง ไม่เฉี่อยชาเก็บงานหรือดองงาน

     (จากหนังสือเรื่อง “การพัฒนาตนเอง” โดยสมิตอาชวนิจกุล)


*จุลสาร วิทยาลัยอัสสัมชัญ ABAC NEWSLETTER ปีที่ 7 ฉบับที่ 31 เดือนกันยายน 2529* หน้า 4-11