การวิเคราะห์ เรื่อง "วิทยาศาสตร์ กับ ความเชื่อศรัทธาทางศาสนา" และ "
เทคนิคการใช้เทคโนโลยีในการศึกษา"*

ข้าพเจ้าขอแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ตอนดังนี้

ตอนแรกอย่ากจะประสานต่อรายการเมื่อเช้านี้เอง ซึ่งพูดถึงเรื่อง "วิทยาศาตร์ความเชื่อศรัทธา และวัฒนธรรม" โดยบาทหลวงบัญชา ศรีประมงค์ และ ดร. สุมณฑา หรหมบุญ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการประสานต่อและเพื่อปูพื้นฐานให้เข้าใจเรื่องของเทคโนโลยี

ตอนที่สอง จึงจะขอพูดเรื่อง “เทคนิคของการใช้เทคโนโลยีในการศึกษายุคใหม่” พร้อมด้วยการสาธิตประกอบ

เมื่อตอนภาคเช้านี้ ดร. สุมณฑา พรหมบุญ ได้พูดถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์ในการสอนเราให้เป็นคนมีเหตุมีผล รู้จักแสวงหาความจริง โดยการพิสูจน์และทดลอก อาจารย์ขอพูดเกี่ยวกับเรื่องของวิทยาศาสตร์เท่านั้น วิทยาศาสตร์ไม่พูดถึงเรื่อง Absolute Truth หรือ สัจธรรมที่อยู่เหนือเหตุผล (นี่เป็นการแปลอย่างคร่าว ๆ ) ซึ่งเป็นเรื่องความเชื่อศรัทธาทางศาสนาสัจธรรมที่เป็น absolute หรือ “สัมบูรณ์” คือความสัตย์จริงทั้งหมดซึ่งรวมกันเป็นความจริงแท้เพียงอย่างเดียวซึ่งคริสตชนเรียกว่า “พระผู้เป็นเจ้า” ถึงแม้ว่าเราไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่ามีพระเป็นเจ้าอยู่จริงก็ตาม แต่อรรถาธิบายทางตรรกวิทยาและปรัชญา ก็มีเหตุผลเพียงพอที่จะเสริมให้เรามีความเชื่อศรัทธาในองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ซึ่งเป็นสัจธรรมสัมบูรณ์สำหรับคริสตชนและชนศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย ขณะเดียวกันคริสตชนเชื่อว่าถึงแม้ว่าจะปราชญ์เปรื่อง ในเรื่องปรัชญาและอรรถาธิบายทางตรรกวิทยาเราอาจจะไม่มีความเชื่อศรัทธาในองค์พระเป็นเจ้า ถ้าเราไม่ได้รับพระหรรษทานจากพระองค์

ในฐานะที่เราเป็นนักการศึกษาคาทอลิก เป็นครู อาจารย์ที่มีความเชื่อศรัทธาในศาสนาเราจึงมีบทบาทและมีภารกิจพิเศษที่จะต้องสอนให้ศิษย์ของเราแสวงหาความจริงหรือสัจธรรมอยู่เสมอ หน้าที่หลักสำคัญของสถาบันการศึกษาก็คือ การสอนให้ศิษย์ของเรารู้จักแสวงหาสัจธรรม ความจริง ไม่ว่าเราจะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการของศาสตร์ใดก็ตาม เราย่อมมุ่งไปสู่เอกภาพของสัจธรรมความจริงนั้นสักวันหนึ่ง นี่คือสิ่งที่ข้าพเจ้าเชื่อ!

เมื่อเราหันไปมองเครื่องหมายของสภาการศึกษาคาทอลิก เราเห็นคำจารึกเป็นภาษาละติน ว่า LUX ET VERITAS ซึ่งแปลได้ว่า “แสงสว่างและความจริง” ข้าพเจ้าได้นำข้อความ 2 ตอนจากพระวรสารมาผนวกเข้าด้วยกันเป็นคติพจน์ของสภาฯ พระเยซูเจ้า ทรงตรัสว่า “เจ้าเป็นแสงสว่างของโลก.....” และอีกตอนหนึ่งทรงกล่าวว่า “เราคือมรคา ความจริงและชีวิต” ข้าพเจ้าอยากจะบอกให้ทุกคนทราบว่านักการศึกษาคาทอลิกและครูคาทอลิกต้องเป็นแสงสว่างนำมนุษย์ไปสู่สัจธรรมความจริง ซึ่งเป็นบ่อเกิดของชีวิต นี่คือที่มาของคติพจน์ที่จารึกไว้ในตราตั้งของสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย

ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า การศึกษาเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะช่วยมนุษย์ให้หลุดพ้นจากความไม่รู้และความทุกข์ยากทั้งปวง คงไม่มีวิธีการใดที่จะช่วยมนุษย์ให้หลุดพ้นจากความไม่รู้และความทุกข์ยากทั้งหลายได้ผลดีเท่ากับการให้การศึกษาที่เป็นแบบวิทยาศาสตร์เป็นเหตุเป็นผลให้อย่างไรให้อย่างผู้ที่มีความเชื่อศรัทธาใน Absolute Truth ! นี่คือเงื่อนไขของการศึกษาคาทอลิก

เมื่อตอนเช้านี้ ดร. สุมณฑา พรหมบุญ ได้ยกตัวอย่างให้เราทั้งหลายฟัง ซึ่งเป็นที่ประทับใจข้าพเจ้ามาก ท่านบอกว่าเมื่อสมัยท่านเป็นนักเรียนอยู่กับซิสเตอร์บุญเรือน ท่านได้ถามปัญหาวิทยาศาสตร์กับซิสเตอร์ปัญหาหนึ่ง ซิสเตอร์ตอบว่า ซิสเตอร์จะไปค้นดูก่อนเพราะยังไม่สามารถตอบได้เดี๋ยวนี้ คำตอบของซิสเตอร์ประทับใจหนูสุมณฑา ซึ่งจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ในอนาคตเป็นอย่างมาก ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าซิสเตอร์ท่านนั้นเป็นผู้สร้างทัศนคติที่ถูกต้องของนักวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กนักเรียนคนนั้น และยังแสดงถึงความเป็นครูที่น่าเคารพอีกด้วย ซึ่งก็คือ การพูดสัจจะความจริงการรู้จักค้นคว้าหาความรู้ แสวงหาความจริง ความถูกต้อง ยิ่งกว่านั้น ลักษณะของครูที่ดีจะต้องเป็นคนที่ไม่ยึดมั่น ถือมั่นในเรื่องใดจนหลง เมื่อได้ค้นพบว่าสิ่งใดที่ตนเคยยึดถือว่าถูกต้องมาช้านาน แต่มาบัดนี้ได้พบแสงสว่างใหม่ ก็พร้อมที่จะปรับความเชื่อถือนั้นให้ถูกต้องตามสัจจะความจริง

ข้าพเจ้าจำได้ดีว่า เมื่อปี ค.ศ. 1956 ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาปีที่ 2 อยู่ที่ LOYOLA COLLEGE ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของคณะเยซูอิต ที่อินเดีย ปีนั้นเป็นปีที่รัสเซียได้ประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียม Sputnik ดวงแรกของโลก ข่าวการส่งดาวเทียมของมนุษย์ดวงแรกขึ้นไปโคจรรอบโลกนี้ได้สร้างความพิศวงและการวิพากษ์วิจารณ์ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อย่างมากมาย ในยุคที่มี “ประกาศกหายนะ” (Prophet of Doom) มากมายที่ชอบมองเหตุการณ์ของโลกแล้วทำนายอนาคตไปในแง่ของวันสิ้นโลก เมื่อดาวเทียมของรัสเซียถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก ผู้ที่ตั้งตนเป็นผู้รู้เหล่านั้นได้พูดกระทบกระเทียบเปรียบเปรยว่า “ดูซิ นักวิทยาศาสตร์หน้าโง่เหล่านั้นอยากทำตนเป็นใหญ่เท่าเทียมพระเจ้าอย่าลืมว่าพระเจ้าทรงสร้างดาวแท้ มนุษย์สร้างได้แต่ดาวเทียมเท่านั้น” ปัจจุบันใคร ๆ ก็ทราบดีว่าดาวเทียมมีประโยชน์สักปานใดสำหรับการสื่อสารติดต่อ ข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องบรรยายสรรพคุณอื่น ๆ มาให้ฟังในที่นี้ก็ได้ สิ่งที่สำคัญก็คือว่าครูควรรู้จักสร้างทัศนคติที่ถูกต้องให้แก่เด็ก ซึ่งควรเป็นทัศนคติที่เปิดกว้าง พร้อมเสมอที่จะรับข้อมูลใหม่อย่างคนฉลาด คือมีเหตุมีผลไม่งมงายเชื่ออะไรง่าย ๆ

ดาวเทียมที่กล่าวถึงเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ ซึ่งเป็นการพัฒนาวิธีการส่งคลื่นวิทยุข้ามมหาสมุทรนานมาแล้ว เราคงทราบกันดีว่าในปี ค.ศ. 1920 ยังไม่ถึงร้อยปีเลย นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลี่ยนชื่อ มาร์โคนี เป็นบุคคลแรกที่ค้นพบวิธีการส่งคลื่นวิทยุข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก สาส์นฉบับแรกที่นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้ส่งไปยังอเมริกาคือ “สิริมงคลจงมีแด่พระเจ้า ณ ที่สูงสุด” นี่แหละคือทัศนคติที่ถูกต้องต่อการค้นพบและสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักวิทยาศาสตร์ผู้สี้มีความเชื่อ ศรัทธา นักการศาสนาบางคนอาจมีอคติ ส่วนนักการศึกษาที่แท้จริงนั้นควรมีทัศนะเปิดกว้างต้อนรับการค้นพบและสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ซึ่งเป็นการสรรเสริญสดุดีพระเจ้า

ปัจจุบันนี้ เราพบว่ามีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากเหมือนกันที่ไม่สามารถเชื่อศรัทธา (non believers) เขาเชื่อแต่เรื่องของการพิสูจน์และทดลองหรือทดสอบได้ ซึ่งเขามีความเชื่อว่าเขาจะพบความจริงโดยวิธีการทดสอบ ทดลอง ในขณะเดียวกันเราก็พบว่ามีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากอีกนั่นแหละที่เป็นคนมีความเชื่อศรัทธา (believers)

เรานักการศึกษาคาทอลิกและครูคาทอลิก มีความคิดเห็นอย่างไรในเรื่องนี้? เราควรสอนเด็กของเราให้เชื่อนักวิทยาศาสตร์กลุ่มไหน? นี่แหละคือปัญหาที่ครูคาทอลิกจะพบในห้องเรียน ครูควรให้คำตอบอะไรแก่เด็กเกี่ยวกับเรื่องนี้? ข้าพเจ้าจำได้ว่าได้เคยศึกษาบทความ เรื่อง "วิทยาศาสตร์กับศาสนา" เขียนโดยไอสไตน์ไม่กี่ปีก่อนที่ท่านจะถึงแก่อนิจกรรม บทความของนักวิทยาศาสตร์เรืองนามท่านนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มากมายรวมทั้งมหาวิทยาลัยที่ข้าพเจ้ากำลังศึกษาอยู่ในขณะนั้น ซึ่งมีศิษย์ของไอสไตน์มาเป็นผู้ร่วมอภิปรายด้วย ไอสไตน์นักวิทยาศาสตร์เรืองนามมีความเห็นว่า "วิทยาศาสตร์ที่ปราศจากศาสนาเป็นเสมือนคนขาเป๋ ศาสนาที่ปราศจากวิทยาศาสตร์เป็นเสมือนคนตาบอด" ความเห็นของไอสไตน์อาจจะไม่ใช่คำตอบโดยตรงต่อปัญหา แต่อย่างน้อยคงจะให้ความกระจ่างแก่นักเรียนได้บ้างในเรื่องนี้ นอกจากนี้แล้วข้าพเจ้ามีความเห็นว่า นักการศึกษาคาทอลิกและครูคาทอลิกต้องสร้างความเชื่อถือต่อหน้าเด็กเสียก่อนจะให้คำตอบหรือความคิดเห็นแก่เด็ก เด็กจะมีความเชื่อถือครูก็ต่อเมื่อเห็นว่าครูของตนวางตนเป็นกลาง ปราศจากอคติ ครูอาจเสนอความคิดเห็นและแสดงความเชื่อของตนให้เด็กฟัง เด็กเห็น แล้วให้เด็กใช้อิสรภาพของตนที่จะเลือกเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้ เราต้องไม่ลืมว่าความเชื่อศรัทธาที่แท้จริงเป็นหรรษทานจากพระเจ้า ความเชื่อเป็นเสมือนเมล็ดพืชที่ผู้หว่านได้หว่านลงไปบางเมล็ดก็ตกในพงหนาม บางเมล็ดก็ตกในที่ดินอุดมสมบูรณ์.......

นี่แหละครับ เรื่องความเชื่อศรัทธาและวิทยาศาสตร์ กับทัศนคติของเยาวชนในยุคไฮเทค เยาวชนในยุคนี้มีหูตาไวมากกว่าพวกเรา เพราะเขามีโอกาสจะเห็นจะเรียนรู้ศาสตร์ใหม่ เทคโนโลยี ใหม่ ๆ มากกว่าในสมัยที่พวกเราครูบาอาจารย์เป็นเด็ก ทำไมโลกเราจึงมีการผันแปรเปลี่ยนไปดังนี้? Alvin Toffler นักเขียนเรืองนามเรื่อง "คลื่นลูกที่สาม" จะตอบว่าเรากำลังอยู่ในยุคไฮเทค ท่านคงจะจำได้ถึงเรื่องสงครามชิงหมู่เกาะโฟคแลนด์ระหว่างประเทศอังกฤษและประเทศอาร์เยนตินา เมื่อประมาณ 5-6 ปีมาแล้ว ในครั้งกระนั้นชาวโลกต้องตื่นจากพะวังรู้สึกพิศวง งงงวย เมื่อทราบว่าอาร์เยนตินาใช้จรวด "เอกซ์โซเซ่" ของฝรั่งเศสจมเรือรบเกรียบไกรของอังกฤษสิ่งที่น่าพิศวง คือ จรวด "เอกซ์โซเซ่" วิ่งเหนือผิวน้ำเพียง 5 ฟุต ส่ายหาเป้าเพื่อทำลาย และยังสามารถหลบเรดาร์ได้อีกด้วย จรวดชนิดนี้ถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์แบบอัตโนมัติ โลกเพิ่งได้เห็นว่าเขาใช้ไฮเทคกันแล้ว ฉะนั้นสงครามในอนาคตจะน่าสะพึงกลัวกว่าสงครามโลกครั้งที่สองมากมายนัก

Alvin Toffler ยังเขียนต่อไปว่า "...สังคมอิเล็กทรอนิกส์ หรือไฮเทค นี้มีลักษณะปฏิวัติที่ท้าทายความเชื่อถือเก่าแก่ของอารยธรรมเก่าที่กำลังจะสูญสิ้นไป มันท้าทายวิธีการคิดแบบเก่า ๆ ที่เรามีความเคยชิน มันตั้งข้อสงสัยในเรื่องของความมั่นใจต่อสูตรสำเร็จที่เราเคยใช้กันมานานต่ออุดมการณ์และความเชื่อศรัทธา ซึ่งเป็นที่หวงแหนมาแต่กาลก่อน"

โลกใหม่ที่กำลังค่อย ๆ โผล่ออกจากความขัดแย้งของค่านิยมใหม่ ๆ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์และการเมืองแบบใหม่ วิถีชีวิตและการสื่อสารแบบใหม่ เรียกร้องให้เราสร้างระบบความคิดแบบใหม่ และวิธีการสร้างความคิดรวบยอด โลกใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นมานี้จะใช้วิธีการแบบเก่ามาตอบปัญหาใหม่คงไม่ได้อีกแล้ว"

"อารยธรรมใหม่กำลังเกิดขึ้นในชีวิตของเรา และคนตาบอดทุกหนแห่งกำลังพยายามที่จะทำลายมัน อารยธรรมใหม่นี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตครอบครัว ชีวิตการทำงาน ชีวิตความรัก และการดำรงชีวิตอยู่ มีระบบเศรษฐกิจใหม่เกิดขึ้น การขัดแย้งทางการเมืองมีรูปแบบใหม่และสิ่งที่เหนือกว่านี้คือ การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสำนึกของเราความจริงนั้น โฉมหน้าของอารยธรรมใหม่นี้กำลังปรากฏให้เห็นในวันนี้แล้ว คนจำนวนล้าน ๆ วันนี้กำลังปรับวิถีชีวิตของตนให้เข้ากับจังหวะของอารยธรรมใหม่ของวันพรุ่งนี้ ส่วนคนอื่น ๆ อีกล้าน ๆ คนกำลังวิ่งหนี หลบหลีกเข้าไปในอดีต และกำลังวางแผนพยายามจะรื้อฟื้นโลกเก่าที่กำลังจะตายลง โลกเก่าที่ให้กำเนิดแก่เขาเหล่านั้น"

ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า มิใช่แต่นักวิทยาศาสตร์เท่านั้นที่เราครูบาอาจารย์ควรจะเปิดตาเปิดใจรับฟังความเห็น แม้แต่นักเขียนทั่ว ๆ ไปด้วย เช่น A.Toffler เราก็น่าจะเงี่ยหูฟังด้วยใจเป็นธรรม ถ้าเขามีเหตุผลดีน่าเชื่อถือ เราก็น่าจะเปิดใจรับฟังได้ หาไม่แล้วเราก็จะกลายเป็นเสมือนพวกตาบอดที่พยายามออกกำลังเฮือกสุดท้าย เพื่อรักษาความเชื่อถือคร่ำครึที่ปราศจากเหตุผลและหลักฐานที่วางอยู่บนสัจธรรม และในท้ายสุดเราก็ไม่สามารถรักษาสิ่งที่เราหวงแหนนั้นไว้ได้ คงปล่อยให้มันตายไปกับอดีต

เมื่อเดือนธันวาคม 1988 สภาพระสังฆราชคาทอลิกภาคพื้นเอเซีย* ได้จัดให้มีการประชุมศึกษาเรื่อง "วิทยาศาสตร์ ไฮเทคโนโลยี และความเชื่อศรัทธา กับบทบาทของนักวิทยาศาสตร์คาทอลิกในภาคพื้นเอเซีย"

ก่อนมีการประชุม นักวิทยาศาสตร์ในแต่ละประเทศสมาชิกได้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งคณะกรรมการจัดสัมมนาเตรียมไว้

ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของแบบสอบถามที่นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโซกัง ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยคาทอลิกในนครโซล ประเทศเกหลี เป็นผู้ตอบ (147 คำตอบที่ได้รับกลับจากจำนวน 386 คน)

ก) สำหรับนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร
        1. ตามทัศนะของท่าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีผลกระทบอะไรบ้างต่อคริสตศาสนาและศาสนาอื่นๆ

- ทำให้ศาสนาบริสุทธิ์ขึ้น 

- ทำให้ศาสนามั่นคงและลึกซึ้ง                                         

- ทำให้ศาสนามีจุดอ่อน  

- ไม่มีผลกระทบอะไรเลย 

- ไม่รู้   

- ไม่ตอบ 

13.6%

39.5%

9.5%

29.3%

7.5%

0.7%

        2. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับประชาชนโดยทั่วไปที่ได้รับอิทธิพลจากวารสาร วิทยาศาสตร์และสื่อมวลชน?

 - ศาสนาไม่เหมาะกับโลกของวิทยาศาสตร์ 

 - ศาสนาเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสังคม 

- ศาสนาไม่สำคัญ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถแก้ปัญหาได้ 

- ไม่ทราบ 

- ไม่ตอบ 

40.8%

2.7%

7.5%

38.8%

10.2%

      3. นักวิทยาศาสตร์มีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับวิทยาศาสตร์

           ก) วิศวกร และนักฟิสิกส์-เคมี

- มีการผสมผสานและความตึงเครียดแต่มีประโยชน์

YES    53.1%

 NO    18.4% 

- ไม่ไว้ใจกันและเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน

YES    7.5%

 NO    60.5%

- วิทยาศาสตร์เท่านั้นที่อธิบายทุกสิ่งได้

YES    24.5%

 NO     45.6%

- มีแต่โลกนี้เท่านั้นไม่มีโลกหน้า 

YES    21.1%

 NO    46.9%

- วิทยาศาสตร์คือวิทยาศาสตร์ ศาสนศาสตร์ก็คือ ศาสนศาสตร์ ไม่มีความสัมพันธ์กัน

YES    42.9%

 NO    25.2%

- ความเชื่อศรัทธาในศาสนาเท่านั้นพอเพียง ไม่ต้องการสิ่งใดอีก

YES   1.4%

 NO   66.75%

- ไม่ทราบ  

3.4%  

            ข) นักชีววิทยา

 - มีการผสมผสานและความตึงเครียดแต่มีประโยชน์ 

YES    53.1%

 NO    18.4%

- ไม่ไว้ใจกันและเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน

YES    7.5%

 NO    60.5%

- วิทยาศาสตร์เท่านั้นที่อธิบายทุกสิ่งได้

YES    24.5%

 NO    45.6%

- มีแต่โลกนี้เท่านั้นไม่มีโลกหน้า

YES    21.1%

 NO    46.9%

- วิทยาศาสตร์คือวิทยาศาสตร์ ศาสนศาสตร์ก็คือ ศาสนศาสตร์ ไม่มีความสัมพันธ์กัน

YES    42.9%

 NO    25.2%

- ความเชื่อศรัทธาในศาสนาเท่านั้นพอเพียง ไม่ต้องการสิ่งใดอีก

YES    1.4%

 NO   66.75%

- ไม่ทราบ   

3.4%  

          4. นักวิทยาศาสตร์มีทัศนคติต่อต้านศาสนาโดยทั่วไป และเป็นต้นศาสนาคริสต์ในเรื่องใดบ้าง?

- คำสอนของศาสนาล้าสมัย

32.0%

- กฎและศีลปฏิบัติเคร่งเกินไป               

15.0%

- เราไม่สามารถพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ได้ว่ามีสวรรค์อยู่จริง

42.1%

- ศาสนามีลักษณะเป็นอนุรักษ์นิยมเกินไป 

15.0%

- พระคัมภีร์ เต็มไปด้วยของเท็จจริงที่เข้าใจกันผิด ๆ

57.1%

- ไม่รู้  

8.2%    

             นักวิทยาศาสตร์ที่ตอบคำถามถือศาสนาอะไรบ้าง?

- พุทธศาสนา                                                   

8.8%

- คริสต์ (นิกายโปรเตสแตนต์)

32.1%

- คริสต์ (นิกายคาทอลิก) 

15.6% 

- ศาสนาอื่น  

2.0% 

- ไม่มีศาสนาอื่น

38.8%

- ไม่ตอบเลย

1.4%

คำตอบที่ได้จากแบบสอบถามที่นักวิทยาศาสตร์ตอบ เราพอจะเห็นได้ว่ามีนักวิทยาศาสตร์จำนวนไม่น้อยเลยที่มีความเห็นค่อนข้างจะเป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนา และเป็นวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยคาทอลิกเสียด้วย เราไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของนักวิทยาศาสตร์ในสถาบันอื่นเป็นต้น จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติเกหลี ยังมีอีกมุมหนึ่งที่เราควรจะมองก็คือว่า ประเทศเกาหลีเป็นประเทศนิกส์ไปเกือบทั้งตัวแล้ว และในขณะเดียวกันก็เป็นประเทศที่มีผู้นับถือคริสตศาสนาถึงเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์

ภาพรวมทั้งหมดที่ข้าพเจ้าพยายามจะวาดให้ท่านทั้งหลายเห็นก็คือ ในยุคไฮเทคนี้เยาวชนสนใจในผลงานของวิทยาศาสตร์มาก และความคิดเห็นของนักวิทยาศาสตร์มีอิทธิพลต่อเยาวชนมากกว่าที่เราคิด สิ่งเหล่านี้คือการท้าทายต่อนักการศึกษาคาทอลิก และครูคาทอลิกในการถ่ายทอดศาสนาวัฒนธรรมและความเชื่อศรัทธา

ทั้งหมดที่ข้าพเจ้าเพิ่งกล่าวมานี้เหมือนกับเป็นการปูพื้นฐานให้ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่อง "เทคโนโลยีในการศึกษายุคใหม่" 

เวลาพูดถึงการรู้จักใช้เทคโนโลยีในการศึกษา เราหมายถึงอะไร? คำตอบง่าย ๆ ก็คือ การใช้วิธีการใด ๆ ก็ได้ที่ช่วยให้เราเข้าใจการเรียนง่ายขึ้น ทำให้เราสามารถถ่ายทอดความรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น วิธีดังกล่าวนี้แหละเรียกแบบสมัยใหม่ว่า "การรู้จักใช้เทคโนโลยีในการศึกษา" บางท่านอาจคิดว่า ข้าพเจ้ากำลังมาเสนอให้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์แบบไฮเทคอะไรทำนองนั้น สำหรับโรงเรียนเล็ก ๆ ที่ไม่มีทุนรอนอะไรมากที่จะปรับปรุงในเรื่องอุปกรณ์การศึกษาแล้วละก็ ข้าพเจ้าก็ขอเสนอว่า เราควรใช้ปัญญาที่จะหาเทคโนโลยีท้องถิ่นมาช่วยการสอนและการถ่ายทอดความรู้ของเราไปสู่นักเรียน

ตัวอย่าง เช่น เราจะสอนเด็กให้รู้จักทำความสะอาดห้องเรียนโดยใช้เทคโนโลยีเราก็อาจจะสอนว่า การทำความสะอาดนั้น ต้องใช้เทคโนโลยี (อุปกรณ์) ช่วยคือ ไม้กวาดเรามีไม้กวาดอยู่ 5 เบอร์ด้วยกัน
        เบอร์ 1 เป็นไม้กวาดทำด้วยผ้า
        เบอร์ 2 เป็นไม้กวาดขนไก่
        เบอร์ 3 เป็นไม้กวาดทำด้วยดอกหญ้าแห้ง
        เบอร์ 4 เป็นไม้กวาดทำด้วยก้านใบมะพร้าว
        เบอร์ 5 เป็นไม้กวาดทำด้วยกิ่งไม้แห้ง (จำชื่อต้นไม้ไม่ได้)

เราอธิบายให้เด็กทราบว่า ไม้กวาดเบอร์อะไรควรใช้เมื่อใด เบอร์อะไรควรใช้ก่อนแล้วจึงตามด้วยเบอร์อะไร ห้องเรียนจึงสะอาด การรู้จักหาอุปกรณ์รอบตัวมาทำไม้กวาดเป็นการแสดงให้เห็นว่า ครู รู้จักใช้เทคโนโลยีท้องถิ่นนั้นๆ การรู้จักจัดหมวดหมู่ของไม้กวาดเป็นเบอร์ต่างๆ เป็นการแสดงว่าเรารู้จักการจัดระบบ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นของการใช้เทคโนโลยียุคใหม่ นี่แหละครับคือการรู้จักใช้เทคโนโลยีในการศึกษา

ส่วนการนำไฮเทคมาใช้ในการศึกษานั้น เป็นเรื่องของโรงเรียนที่มีทุนมาก ไฮเทคทั้งหลายที่มีใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ นอกจากพวก audio visual ต่างๆ แล้ว เราก็มีคอมพิวเตอร์แต่ก่อนที่จะตัดสินในการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการบริหารก็ดี หรือมาช่วยในการสอนก็ตาม ผู้บริหารควรใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบถึงผลได้ผลเสียก่อน

 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มีความเห็นว่า ก่อนที่จะสอนให้เด็กรู้จักใช้คอมพิวเตอร์เป็น เราควรสอนให้เด็กรู้จักวิชาขั้นพื้นฐานให้ดีเสียก่อน คือ การอ่าน การเขียน การคิดเลข เด็กที่อ่านหนังสือเก่า มีความรู้ทั่วไปอย่างกว้างขวาง จะมีพื้นฐานดีที่สุดที่จะเตรียมให้เด็กมีความพร้อมที่จะใช้ความคิดริเริ่มเป็นเมื่อใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ 

ต่อไปนี้คือ ผลสรุปของการวิจัยโดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด 1986 เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษา

  1. นายจ้างต้องการให้โรงเรียนสอนตามหลักสูตรให้ครบถ้วน ก่อนที่จะสอนให้เด็กมีทักษะพิเศษทางคอมพิวเตอร์

  2. ความสนใจ ความกระตือรือร้น การอ่านที่มีประสิทธิภาพสูง ทักษะการเข้าใจ สิ่งที่อ่านและทักษะการหาเหตุผลสำคัญกว่าการรู้จักคอมพิวเตอร์

  3. ทักษะการรู้จักประยุกต์ การนำโปรแกรมเล็กๆ ไปใช้เป็นสำคัญกว่าทักษะทางคณิตศาสตร์

  4. การมีความรู้ทั่วไป อย่างมีคุณภาพ สำคัญกว่าการรู้จักเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์

  5. คุณสมบัติ trainability สำคัญกว่าการรู้จักใช้เทคโนโลยีในอนาคตสำคัญมากกว่าความรู้แคบๆ ทางทักษะบางอย่าง เช่น คอมพิวเตอร์

  6. ถ้านักเรียนได้รบการศึกษาอย่างถูกต้องแล้ว และมีความรู้ทางคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นอีกสิ่งนี้แหละคือข้อได้เปรียบ

  7. พวก drop-outs และพวก undereducated ทำความเสียหายแก่ระบบธุรกิจทั้งน้อยและใหญ่มากกว่า การไม่รู้จัก ทักษะพิเศษ เช่น Computer

        ถ้าหากจะถามว่า ในทางธุรกิจต้องการที่จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านอะไรบ้าง? คำตอบสรุปก็คือ

- needs in accounting 

68%

- Word processing 

57%

- billing  

51%

- mailing lists

45%

- การวิเคราะห์สถานการณ์การเงิน 

43%

- inventory 

42%

- payroll  

40%

และหากจะถามว่าได้ประโยชน์อะไรในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ ผลตอบสรุปก็คือ

        29% improved information
        26% higher productivity
        21% คุณภาพของงานดีขึ้น

ส่วนคุณประโยชน์สำหรับเด็กในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเด็กในสมัยไฮเทค มีดังนี้
การใช้คอมพิวเตอร์กับเด็กอนุบาล 5 ขวบ ได้รับประโยชน์มากทั้งชายและหญิง

  • ในด้านการอ่าน ทำให้เกิดความพร้อมที่จะเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

  • เด็กที่ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านเพิ่มประสิทธิภาพ 6 เท่า ในด้านความพร้อมในการอ่าน

  • หากที่บ้านมี Micro Computer แต่ที่โรงเรียนไม่มี ไม่มีอะไรเกิดขึ้น

  • การมี Micro Computer ที่บ้านจะมีประโยชน์ต่อเมื่อเสริมต่อจากการเรียนที่โรงเรียน

  • เด็กบางคนรู้จักใช้ Micro Computer ดีกว่าพ่อแม่

        นอกจากนี้ เด็กของเราควรได้รับการสอนให้รู้จักเก็บข้อมูลเป็น เพราะในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารมีประสิทธิภาพสูงมาก ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ถูกถ่ายทอดโดยสื่อมวลชน และโดยเครื่องไฮเทคยุคใหม่ ทำให้ใครๆ ที่สนใจสามารถเข้าถึงความรู้หรือข้อมูลต่างๆ ฉะนั้นเด็กของเราควรได้รับการอบรมให้รู้จัก

  1. รับข้อมูลเป็น (Receiving informations)

  2. เลือกข้อมูล (Selecting informations)

  3. หาความสำคัญของข้อมูล (Relating informations)

  4. หาข้อมูลสรุปจากข้อมูล (Inferring informations)

  5. สามารถสร้างรูปแบบได้จากข้อมูล (Synthesising informations model making)

  6. ใช้รูปแบบให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่เป็น (Applying Model in new context)

  7. ปรับรูปแบบเป็น (Modifying the Model)

นอกจากนี้ เรายังต้องเตรียมเด็กของเราให้รู้จักเผชิญชีวิตยุคไฮเทค เนื่องจากโครงสร้างของสังคมเราเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น ชีวิตครอบครัวกำลังมีรูปแบบใหม่ ฯลฯ เป็นต้น นี่เป็นปัญหาสังคมที่เราคงจะได้พูดกันต่อไปในระหว่างการสัมมนานี้

การสาธิตประกอบคำบรรยาย... 


 *เป็นการบรรยายตอนหนึ่ง ในการสัมมนาผู้บริหารโรงเรียนคาทอลิก วันที่ 12 กันยายน 2532.
 *ครู อาจารย์ นักบริหารการศึกษา และนักบริหารการพัฒนา : ภราดา ดร. ประทีป ม.โกมลมาศ