Brother Martin: An Educator born to live Forever 

Brother Martin

An educator born to 

live forever

The best tribute to be given to Rev.Brother Prathip Martin Komolman, the Rector Emeritus of Assumption University as he marks his 80th  Birthday Anniversary, is to recognize him for his life-long learning skills. Indeed an academic career spanning more than 65 years and encompassing five different countries in three of the world's continents can be best summarized in the manifestation of the Assumption University's three campuses in Bangkok and the one campus for experiential learning at Kanchanaburi.

Entrance to the Brother Martin Collection on the 6th Floor of the Cathedral of Learning Suvanabhumi Campus

    

Brother Martin is aware that change is constant and inevitable as it is with history, human systems and life itself. He therefore advocates the management of change as the capacity to keep agile and relevant. Brother Martin's highest academic qualification is in Interdisciplinary studies and management of organizations as a focus. This ignited in Brother Martin's vision to launch two degree programs-at Master and Doctoral levels in Organization Management and Development. Assumption University today is perhaps a premiere International University in Asia with trendsetting Organization Change Management studies. Conversations with Brother Martin yield a high awareness in him that Chagne is ineviable and indispensible in organization growth. To such extent is the Change agenda present in Brother Martin's work, one clearly witnesses the creative destruction of the old and archaic, for the new and innovative growth.

The lessons which Brother Martin teaches us include the following:

Let education liberate the mind from its limitations in the spiritual, material and intellectual spheres. By liberating the mind, education builds in new ways so that appreciative enquiry ensues in the approacha to thinking and perceiving the opportunities that come to us. At the entrance to the Brother Martin Collection, the 6th Floor of the Cathedral of Learning the clearest expression of this is found in the statement: There is much to love and to learn in others.

There is no single discipline which arguably accomplishes the human mind. Interdisciplinary learning is far more recommended to deal with the challenges and the opportunities we encounter in our living. The campuses erected by Brother Martin address this very scope and wisdom. The Hua mak campus is conspicuous for the use of its limited space and yet copious facilities. The Suvarnabhumi campus is a campus in a park where nature is brought back to students and students brought to nature so that they may think and fashion their minds and philosophies in life. The ABAC City campus is a lifestyle campus where the dignity of learning is located in the center of Bangkok city. The Kanchanaburi campus is resort styled where students can indulge in their favorite camping activities but also learn to be mindful of nature all around them.

Hard work and diligence pays richa dividends in the enterprise of learning. The constant and invariable message that Brother Martin imparts to his students of all ages is that learning diligently and with the enterprising mind can never hurt anyone. It only builds the capacity of resourcefulness,and the readiness to act. While walking around the Brother Martin collections, one comes across the reading shelves of Brother Martin's book collection. There one encounters an impressive collection of books in the realms of philosophy, politics, art, architecture, history, language, education,religion, business, and economics. Brother Martin most certainly is an avid reader. But what ne reads, he also translates into action and when one considers all that he has accomplished in building institutions, one also has to understand that Brother Martin's ultimate end is to build people. The teams of assistants that Bother Martin has built over the past many years have helped him accomplish the unimaginable in areas of education, culture, religion and art in the form of music. 

Finally, among all ther things Brother Martin inspires us with his open mindedness, his humility, his intelligence and his willingness to embrace all alike into his vision of learning and growing for the sake of dignity and happiness. What one takes away from any interaction with Brother Martin is his thughtfulness with imagination, his civility and generosity, his deference and moderation and his affirmation that all of all in God's creation, humankind is the crown.

If one were to equate the life of Brother Martin to that of Angel Gabriel, in the 21st Century one would have to acknowledge the presence of optimism and fulfillment in his life as an educator,bringing to new relevance and importance the Christian God's dictum: Behold I come to make all things new.

Happy 80th Birthday Rev.Brother Martin. May you have many more happy returns of the day with long life and God's choicest blessings.

Written by:Glen Chatelier (Director, the Office of International Affairs)


*วารสาร CONNECT GSB Newsletter (YEAR 2 ISSUE 5 January 2014)

80th Birthday Anniversary
ภารดาประทีป มาร์ติน โกมลมาศ 

 .. แค่เพียงก้าวย่างเข้ามา ณ สถานที่แห่งนี้ ความรู้สึกแรกที่ได้สัมผัสคือ กลิ่นอายของความสงบและความเป็นธรรมชาติที่แฝงไปด้วยมนต์เสน่ห์แห่งการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เรากล้าการันตีให้ว่า ไม่ว่าใครก็ตามที่ได้เข้ามาสัมผัสสถานที่แห่งนี้ เป็นต้องหลงเสน่ห์ของที่นี่อย่างแน่นอน 

“ University in a park” มหาวิทยาลัยในสวน ที่สร้างให้ผู้เรียนรู้มีบรรยากาศแห่งการเรียนรู้และเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งการสร้างสรรค์ เพราะความสงบและร่มรื่นนี่เองที่จะมีส่วนช่วยอันสำคัญในการเกิดกระบวนการเรียนรู้อันไม่รู้จบให้กับผู้เรียนเพราะเราคงไม่อาจปฏิเสธว่า ความสวยงามของสถานที่บรรยากาศที่เอื้อต่อการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นบ่อเกิดแห่งการเรียนรู้สิ่งใหม่ ผลิตความคิดที่งอกงามและสร้างสรรค์

ไอเดียหรือแนวคิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในยุคแรก ๆ ที่ยังเรียกตัวเองว่าเป็น “วิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ” หรือ ABAC (เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2515) มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่กว่าจะมาเป็นมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญทุกวันนี้ได้ มีบุคคลท่านหนึ่งที่มีส่วนสำคัญต่อการก่อร่างสร้างมหาวิทยาลัยและเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ

ภารดาประทีป มาร์ติน โกมลมาศ อธิการบดีกิตติคุณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญหนึ่งในผู้วางรากฐานทางการศึกษาให้กับมหาวิทยาลัย โดยในยุคที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีนั้น ท่านไม่ได้ให้ความสำคัญแต่งานด้านการบริหารเท่านั้น ทว่า สิ่งสำคัญของการทำงานด้านการศึกษาคือ การที่ผู้บริหารจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักนักศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุดังนั้น ภราดามาร์ติน จึงได้สอนหนังสือด้วยตนเองนับแต่เมื่อมารักษาการอธิการบดี จวบจนวันนี้ วันที่ภราดามาร์ติน โกมลมาศมีอายุครบ 80 ปี เราก็ยังคงได้เห็นท่านทุ่มเททำงานเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยให้สมบรูณ์พร้อมคุณูปการทางการศึกษาที่วางรากฐานการศึกษาให้กับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญยากที่จะมีผู้ใดเทียบ

ขุมทรัพย์ในตน

จากวลีที่กล่าวข้างต้น “ขุมทรัพย์ในตน” นั้น หมายถึง ความรู้ที่มนุษย์แสวงหา วลีนี้ได้ยินครั้งแรกเมื่อตอนที่ได้นั่งพูดคุยกับ ภราดาประทีป มาร์ติน โกมลมาศ อธิการบดีกิตติคุณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) ยิ่งเมื่อได้ฟังอย่างลึกซึ้ง ความหมายยิ่งกินใจความมากนัก บราเดอร์มาร์ติน เล่าให้ฟังว่า ขุมทรัพย์ในตนนั้น มาจากแนวคิดของ Pierre Lecomte du Nouy (ดูร์นุย) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ เขียนหนังสือชื่อ “Human Destiny โดยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมี “สะเก็ดไฟของพระเจ้า” (Divine Spark) ที่สถิตอยู่ซึ่งเป็น “สะเก็ดไฟแห่งการสร้างสรรค์” (Creative Spark) ซึ่งเกิดขึ้นกับทุกคน แต่มีวันดับมอดลงไป สะเก็ดไปจึงเทียบเท่ากับการมี


“ขุมทรัพย์ในตน”

“ตัวอย่างที่เห็นง่ายสุดคือ ให้ลองนึกถึงว่า เอาตัวเองเปรียบไปเป็นเด็ก โดนครูตี ทำโทษเพราะคิดเลขไม่ออก หรืออ่านเขียนไม่ได้ เจ้าสิ่งที่เรียกว่า Divine Spark มันไม่เกิดหรอก ไฟที่ลุกโชติแห่งการเรียนรู้ มันจะค่อยๆ มอดดับลงไป หรือในทางกลับกันเด็กดื้อที่ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ ให้ทำอะไรก็ไม่ทำ จะเอาแต่ใจตน เด็กคนนั้นก็จะดับไฟของเขาเอง และท้ายสุด ไฟที่มีอยู่จะดับลงไม่เกิดการเรียนรู้อะไรเลย ”

การให้การศึกษาและอบรมนี้ ก่อนอื่นเลย ครูอาจารย์ต้องเข้าใจว่าเป็นกระบวนการที่ยาวนานและทำไม่มีที่สิ้นสุด เป็นการทดลองความอดทนและความมีจิตวิญญาณของความเป็นครูอาจารย์ อย่างแท้จริง เพื่อให้ท้ายที่สุดผู้เรียนได้บรรลุถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ เพราะจุดหมายของการศึกษาที่บราเดอร์บอกคือ ต้องสะท้อนให้เป้าหมายปลายทางว่า ชีวิตคนนั้นเกิดมาทำไมมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร และท้ายสุดแล้วไปไหน นี่คือกระบวนการให้การศึกษาและอบรมที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญสนใจเป็นพิเศษให้แก่ผู้เรียน

“LABOR MONIA VINCIT” จึงเป็นเหมือนกุศโลบายที่มหาวิทยาลัยนำใช้มาตั้งแต่แรกตั้ง เปรียบประดุจสัญลักษณ์ของการทำงาน ที่หมายถึง การให้ความสำคัญกับการทำงาน ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมปฏิบัติของคณะภราดามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว และอาจเรียกได้ว่าเป็นอุดมคติของการทำงานเลยก็ว่าได้

 

เช่นเดียวกับบราเดอร์มาร์ตินเมื่อเริ่มเข้ามาบริหารงานและสอนในมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ช่วงแรกๆ ก็ประสบปัญหามากมายในการดำเนินการบริหารปัญหาผู้เรียน ตลอดจนการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เรียนและสาธารณชน แต่แม้ว่าสิ่งนี้จะเป็นอุปสรรคต่อการก้าวไปสู่การวางรากฐานทางการศึกษาและการก่อเกิดมหาวิทยาลัยเอกชนในยุคแรกๆ ท่านก็มิได้ย่อท้อแม้แต่น้อย ไม่ละทิ้งเรื่องการงาน แม้ปัจจุบันภราดามาร์ตินจะมีอายุย่างเข้าปีที่ 80 แล้วก็ตาม แต่ท่านก็ยังคงมุ่งหน้าพัฒนาให้มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญก้าวหน้าไปตามครรลองของการพัฒนา ทั้งในด้านของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น สร้างตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ ตึกพยาบาลศาสตร์และตึกเทคโนโลยีชีวภาพ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน

 

แรงใจที่ส่งให้บราเดอร์มาร์ตินพัฒนาและทำงานอย่างต่อเนื่อง และเรียกว่าเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้เข็มแข็งคือความมุ่งมั่น

 “เมื่อบราเดอร์ได้รับมอบหมายงานแล้ว ก็จะต้องแก็ปัญหาให้สำเร็จ และแต่ไหนแต่ไรมาแล้วทำงานอะไรก็ต้องทำจริงจัง ไม่ยอมแพ้ ยินดีรับฟังความคิดเห็น ยินดีรับต่อความเปลี่ยนแปลง และยึดถือความถูกต้องเป็นสำคัญ และปัญหาต่างๆ ก็สามารถลุล่วงไปได้ด้วยดี”

การทำงานของคณะภราดาในปัจจุบันจึงเปรียบเทียบกับการทำงานในโลกสมัยก่อน ที่เรามักจะพูดถึงคณะฤาษีของโลกตะวันตกที่เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ (The Monk of the West) เราจะหมายถึงนักบวชในคณะเบเนดิกติน ผู้มีอุดมคติต่อการทำงานว่า คือ การภาวนา การทำงานเป็นการบูชาอันสูงส่งที่มนุษย์พึงจะกระทำเพื่อถวายแด่พระเจ้าสรรเสริญพระเจ้า การทำงานยังมีความหมายอีกว่า มนุษย์ได้รับเกียรติให้มีส่วนร่วมกับพระผู้สร้างโลก ยิ่งกว่านั้น การทำงานยังมีคุณค่าของการไถ่บาป (Redemptive Value) อีกด้วย เพราะการทำงานทำให้มนุษย์หลุดพ้นจากความเกียจคร้าน กิเลส และความชั่วร้ายทั้งปวง

ไม่แปลกที่บราเดอร์มาร์ตินแม้ท่านจะขึ้นนั่งตำแหน่งผู้บริหารและประสบกับปัญหาในการดำเนินการวิทยาลัยมากมายเพียงใด แต่ท่านก็สามารถแก้ปัญหาไปพร้อมกับทำหน้าที่สอนหนังสือไปด้วย ความพิเศษของการสอนหนังสือด้วยนั้นอยู่ที่ การได้บ่มเพาะผู้เรียนไปพร้อมกับการสอนวิชาการ เช่น วิชาที่เป็นพื้นฐานของการเรียนที่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญต้องเรียนกันทุกคนคือ วิชา Western Civilization วิชาที่ว่าด้วยพื้นฐานแห่งการเรียนรู้สรรพสิ่งรอบตัว ประวัติศาสตร์และอารยธรรมตะวันตก เป็นรากฐานของการสร้างความเป็นมนุษย์

วิชานี้ในสายตาของบราเดอร์มาร์ติน เป็นวิชาที่เป็นจุดกำเนินอารยธรรมโลก และเป็นวิชาที่มีศีลธรรมหรือ Ethic แทรกอยู่ในนั้น แทนที่บราเดอร์จะต้องแยกสอนศีลธรรมออกมาต่างหาก บราเดอร์ก็สอนวิชา Western Civilization ไปพร้อมกับเนื้อหาวิชาการทีเดียวเลย ยิ่งช่วยให้ผู้เรียนเรียนศีลธรรมได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

บราเดอร์มาร์ตินเปรียบเทียบให้ฟังว่า การสอนเรื่องศีลธรรมที่แทรกอยู่ในเนื้อหานั้น เป็นเรื่องของการตัดสินใจของมนุษย์ที่มีเหตุและผล และยิ่งเมื่อได้นำมาเปรียบเทียบกับหลักทางศาสนา เช่น ศาสนาพุทธมีวิธีการมองโลกหรือ Perception ที่วางอยู่บนพื้นฐานของการนิพพาน ยิ่งทำให้เห็นถึงเหตุและผลของการตัดสินใจในแต่ละการกระทำของมนุษย์ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นกฎธรรมชาติที่ผู้เรียนต้องศึกษา

การเกิด “mind” หรือปัญญาของผู้เรียนขึ้นได้จึงขึ้นอยู่กับบรรยากาศ สภาพแวดล้อมและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เรียน เพราะสิ่งที่จะเป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างขุมทรัพย์ที่อยู่ในตนเองได้ผ่านกระบวนการศึกษาและการอบรม (Formation Process) เพื่อให้บรรลุถึงความเป็นมนุษย์ได้อย่างสมบรูณ์ (Complete Man) การศึกษาที่แท้จริงนั้นคือ การพัฒนาและการบูรณาการ 4 สมรรถนะของมนุษย์ ได้แก่ ร่างกาย ปัญญา อารมณ์ และจิตใจ ซึ่ง 4 สมรรถนะนี้รวมกันเป็นมนุษย์ขึ้นมา และต้องมีการพัฒนาและบูรณาการจนถึงขีดสูงสุดของศักยภาพของผู้เรียน โดยไม่ทำให้ผู้เรียนสูญเสียความเป็นตัวของตังเอง และกระบวนการให้การศึกษานี้ต้องตั้งอยู่ในบรรยากาศที่ผู้เรียนมีอิสรภาพและเสรีภาพในการเลือก ซึ่งผู้เรียนจะบรรลุซึ่งความสมบรูณ์ของความเป็นมนุษย์ 

 Learning by Doing

Student Center คือแนวทางการสอนที่บราเดอร์มาร์ตินยึดถือมาโดยตลอดตั้งแต่ท่านสอนหนังสือ ซึ่งในระยะหลัง เรามักจะได้ยินว่าการศึกษาต้องให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และต้องเป็นความต้องการของผู้เรียนเป็นหลักคือ Student Center นี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นกับการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจของเอแบคในสมัยแรกๆ
     จากการบอกเล่าของบราเดอร์มาร์ติน ท่านได้ถ่ายทอดประสบการณ์ส่วนตัวให้ฟังว่า “มีวันหนึ่งนักศึกษาคนหนึ่งเดินมาหาข้าพเจ้าและพูดเสียงดังว่า ที่นี่สอนอะไรก็ไม่รู้ สอนตามตำราหมดเลย ไม่มีภาคปฏิบัติ นักศึกษาบอกว่าเรียนบริหารธุรกิจต้องลงมือทำจริงและแนะนำด้วยว่าต้องทำอย่างนี้ ข้าพเจ้าบอกนักศึกษาว่าให้ไปเขียนโครงการมา ในไม่ช้านักศึกษาได้นำโครงการมาเสนอ เรียก โครงการจัดตั้งบริษัทจำลอง (Dummy Company) และข้าพเจ้าบอกให้นักศึกษาทำได้เลย ปรากฏว่าสิ่งที่ทำนั้นดีที่สุด ประสบความสำเร็จและสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษาอย่างดีและมีประสิทธิภาพ”

นี้คือตัวอย่างอันหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า การจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมีผลดี เพราะหลังจากนั้นไม่นานมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทยก็ได้บรรจุโครงการบริษัทจำลองให้อยู่ในภาคปฏิบัติของหลักสูตรบริหารธุรกิจด้วย สิ่งนี้จึงเป็นบทพิสูจน์ว่า สิ่งที่นักศึกษาทำไปนั้นถูกต้อง และมีความคิดสร้างสรรค์และเป็นประโยนช์ต่อแนวทางการจัดการศึกษาให้กับมหาวิทยาลัยในระยะแรกและต่อมา

และเป็นอีกเครื่องพิสูจน์หนึ่งว่า “อย่าเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน” ในหลักกาลามสูตร การเป็นครู อาจารย์ไม่ได้แปลว่าตนเองมีความรู้และเก่งกว่าลูกศิษย์ไปเสียทุกเรื่อง ความคิดเห็นของศิษย์บางแง่มุมย่อมคมคายกว่าอาจารย์ก็มีให้เห็น

 กระบวนการให้การศึกษาและอบรม ครูอาจารย์ต้องทราบดีว่าในการอบรมเพื่อช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาได้ ผู้เรียนต้องมีทักษะขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การอ่าน การเขียน คณิตศาสตร์ การฟังและการพูด ทักษะการคิด (ความคิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา) และคิดแบบใช้สายตาของปัญญามอง

ทักษะที่กล่าวมานั้น เป็นสิ่งที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนรู้ ขณะเดียวกัน ครูอาจารย์ต้องคอยส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับศิษย์ ศิษย์กับศิษย์ ศิษย์กับอาจารย์ และอาจารย์กับอาจารย์ เพราะ

ตามความเห็นของ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ที่เน้นเรื่อง Learning by Doing และ ชองเปียเจต์ (Jean Piaget) ให้ความเห็นว่า การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน Two Developing Minds จะก่อให้เกิดปัญญาและวุฒิภาวะเชิงศิลธรรม (Moral Maturity) ขึ้นในตัวผู้เรียน 

“การมีบรรยากาศที่สร้างมนุษย์ในเชิงปัญญา ช่วยกระตุ้นให้เกิดการคิด การเรียนรู้ของผู้เรียน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญต้องสร้างให้เกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ใครที่จบจากที่นี่จึงถือเป็น A new man & A new woman เป็นคนใหม่ที่อยากเรียนรู้ตลอดเวลา”
คำครู
     เมื่อตัดสินใจเข้ามาศึกษาที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญแล้ว ระยะเวลา 4 ปีของการศึกษาจึงค่อย ๆ หล่อหลอมผู้เรียนให้เป็นคนใหม่ที่เมื่อจบการศึกษาออกไปแล้วเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงและเป็นคนที่มีทัศนะเปิดกว้าง (Healthy and open-mined person) เมื่อร่างกายแข็งแรงย่อมต้องตั้งอยู่บนจิตใจที่แข็งแรงเช่นกัน “อีกสิ่งหนึ่งคือการมีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่นและแก้ปัญหาข้อขัดแย้งโดยสันติวิธี เป็นความหมายแบบนี้ personal integrity มีความซื่อสัตย์สุจริต ไว้ใจได้ เชื่อถือได้ เด็กเอแบคที่จบไปต้องเป็นอย่างนี้”  

สิ่งที่บราเดอร์มาร์ตินอยากเห็นเมื่อผู้เรียนเข้ามาศึกษาที่นี่คือผู้เรียนมีความคิดเป็นของตัวเอง มีความคิดอิสระหมายถึง การไม่ถูกครอบงำทางความคิดหรือเชื่ออะไรง่าย ๆ (นัยของม้าที่วิ่งโลดแล่นอยู่บนผืนน้ำคือ ความมีอิสระ) 

แนวคิดการสอนเช่นนี้มีความสำคัญและมีอิทธิพลอย่างมากต่อโลกปัจจุบันเพราะในสภาพบรรยากาศที่เต็มไปด้วยการท่วมท้นของเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารอิทธิพลเชิงลบของโลกาภิวัฒน์รังแต่จะทำให้คนที่ขาดวิจารณญาณในการไตร่ตรองข้อมูลต่าง ๆ ให้ถ้วนถี่ ทำให้ขาดการพิจารณาอย่างรอบคอบ ความคิดก็จะเอาพลิ้วไหวไปตามกระแส   

อิทธิพลของการครอบงำจะมีอำนาจเหนื่อการตัดสินใจและความคิด “การมีความคิดอิสระและเป็นตัวของตัวเอง” จะเป็นเกราะป้องกันให้ผู้เรียนคิดไตร่ตรองพิจารณาสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างระมัดระวังและถี่ถ้วนขึ้น และมีความคิดเชิงบวก คือสร้างสรรค์ ทำงานหนัก สู้ชีวิต ไม่ยอมท้อยถอย เวลามีอุปสรรคไม่ยอมแพ้ต้องต่อสู้     

นอกจากนั้นแล้ว ความสามารถในเชิงการบริหาร ความรอบรู้ในสาขาวิชาที่เรียน (Professional Competent) และพร้อมที่จะออกไปประกอบอาชีพและพัฒนาความเป็นผู้นำของตนเองเพื่อสร้างสังคม ประเทศชาติให้อยู่ดีกินดี เป็นอีกแรงหนึ่งในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า “บัณฑิตเราต้องตอบแทนสังคมและมีความสามารถในการสื่อสารกับคนนานาชาติได้ทุกคน Able to communicate และปรับตัวเข้ากับสังคมได้”     

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว สิ่งที่บราเดอร์มาร์ตินให้ความสำคัญคือ การสร้าง “คน” ที่เต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ใครก็ตามเมื่อได้เข้ามาสัมผัสกับบรรยากาศภายในมหาวิทยาลัย ย่อมเห็นความแตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพราะที่นี่อุดมไปด้วยพรรณไม้ ความร่มรื่นนี้เองที่จะช่วยสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ทำให้สุขภาพกายและจิตแข็งแรง มีปัญญา กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ และบรรยากาศเหล่านี้จะช่วยสร้างให้เกิดคนใหม่ (A new man/woman)      

การบ่มเพาะผู้เรียนเพื่อให้เป็น “คนใหม่” จึงไม่ใช่เรื่องง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง โลกาภิวัตนีที่แผ่ขยายไปทุกอาณาบริเวณ การประคับประคองให้ผู้เรียนรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงจึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งต่อสถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง สิ่งที่บราเดอร์มาร์ตินยึดถือมาโดยตลอดคือแนวทางของมีจิตวิญญาณของความเป็นครู และเชื่อว่า แนวทางบ่มเพาะผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีความคิดเป็นอิสระ เป็นเอกเทศ ตั้ง่อยู่บนความถูกต้องเป็นสิ่งที่พึงกระทำ ยิ่งความรวดเร็วและกระแสของระบบทุนนิยมที่ไม่สามารถต้านทานได้ ยิ่งต้องอบรมสั่งสอนผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีความคิด พร้อมกับรอบรู้กับสถานการณ์ ปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลง

ถ้อยคำที่ภราดาประทีป มาร์ติน โกมลมาศ บอกเล่าให้ทีมงานนิตยสาร MBA ฟังนั้น เป็นคำครูโดยแท้จริง ความยากลำบากในช่วงของ

การพัฒนาวิทยาลัยจนก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเป็นบทสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาตน พัฒนาความอดทนจากความยากลำบากที่เกิดขึ้น แต่ ภราดา มาร์ติน โกมลมาศ มิได้ย่อท้อต่ออุปสรรคเพราะท่านรู้ว่า ความยากลำบากนั้นจะช่วยพัฒนาความอดทน(โรม 5:1-5) ที่ในพระคัมภีร์ได้บอกไว้ และการทำงานของท่านแสดงให้เห็นว่า เป็นการทำงานที่ไม่ได้ทำไปเพื่อตนเองแต่เป็นการทำงานประหนึ่งว่างานนี้ทำเพื่อพระเจ้า (เอเฟซัส 6:5-9) และความเป็นผู้นำที่เสียสละเพื่อส่วนรวมโดยไม่นึกถึงความเหน็ดเหนื่อยหรือผลประโยชน์ส่วนตน

อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยอัสสัมมชัญจึงไม่เพียงอยู่แค่การเป็นมหาวิทยาลัยทีเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ จัดการเรียนการสอนแบบ International เท่านั้น แต่เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคณะภารดาที่ทุ่มเทและอุทิศตนเดพื่อการศึกษาอย่างแท้จริง อย่าง ภารดาประทีป มาร์ติน โกมลมาศ อธิการบดีกิตติคุณ ที่มีคุณูปการอย่างยิ่งต่อการพัฒนาและวางรากฐานทางการศึกษาให้มหาวิทยาลัยเติบโตได้อย่างสง่างาม

ยากที่สุด

บทเรียนของ “การยอมแพ้” สิ่งที่ยากแม้ว่าจะยึดถือความถูกต้องเป็นหลัก บางจังหวะคนเราก็ต้องรู้จักปล่อยวางและยอมแพ้ แต่การยอมแพ้ในที่นี้ไม่ได้เพื่อตัวเอง แต่เพื่อให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “สันติ” กรณีนี้ยราเดอร์มาร์ติน เล่าให้ฟังว่า มีครั้งหนึ่ง บราเดอร์ประกาศห้ามนักศึกษาทุกคนเล่นฟุตบอลบนตึกเซ็นคราเบรียลเพราะกลัวว่าจะไปทำลายข้าวของและพื้นกระเบื้องเสียหาย แต่มีนักศึกษาเกเร ไม่ยอมเชื่อฟัง บราเดอร์จะลงโทษเด็กแต่คณะภราดาได้ห้ามปรามไว้กลัวว่าเมื่อลงโทษเด็กไปแล้วจะเกิดการสไตรค์ เพราะมีนักศึกษาคนหนึ่งเป็นหัวโจก เรื่องอย่างนี้บางที่ก็ต้องยอม

ความกลัว

สิ่งที่บราเดอร์เขียนไว้ ก็อยากให้อ่านกัน เพราะบราเดอร์อบรมเด็กด้วยวิธีนี้มานานแล้วตั้งแต่ปี 1974 ด้วยวิธีของบราเดอร์ และปัจฉิมนิเทศกันทุกปีเลย สิ่งที่บราเดอร์สอนไม่เหมือนชาวบ้านนะ เพราะพวกเขาจะสอนว่าต้องมีความสมัครสมานสามัคคี อย่าทะเลาะกัน เด็กเอแบคทำไมถึงเก่งได้เพราะมีความคิดเป็นเอกเทศ บราเดอร์สามารถบอกอย่างนี้ได้ โลกสมัยใหม่ต้องการคนที่คิดแบบนี้ แต่พอบราเดอร์ไปแล้วคำสอนต่างๆ อาจจะค่อยๆ ลดลงไปและนั้นคือสิ่งที่บราเดอร์กลัว

ยีนหยัด

สมัยแรกๆ ของการก่อตั้งวิทยาลัย บราเดอร์ทำหน้าที่สอนหนังสือไปด้วย ชอบสอนวิชาประวัติศาสตร์ตะวันตกเพราะเป็นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่ผู้เรียนต้องรู้ กันยายน 2517 ซึ่งเป็นช่วงสอบของนักศึกษา นักศึกษาประท้วงไม่ยอมเข้าห้องสอบ บราเดอร์ในฐานะนายกสภาวิทยาลัย จึงเรียกประชุมสภาฯ มติสภาให้จัดการกับนักศึกษาที่ประท้วงอย่างเด็ดขาด บราเดอร์บอกว่า ถ้ามีวิชาเรียนต้องเข้าเรียน มีสอบต้องมาสอบ ถ้าไม่เข้าเรียนเข้าสอบ บราเดอร์จะปิดวิทยาลัย สุดท้ายเด็กๆ เข้ามาเรียนครบหมด และเอาเข้าจริงๆ หากไม่มีเด็กมาเรียน บราเดอร์ก็ตั้งใจว่าจะปิดวิทยาลัยจริงๆ เพราะขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกสภา และกรรมการสภาก็เห็นด้วย เป็นอันว่าเรื่องนี้จบเรียบร้อยและดำเนินการเรียนการสอนเรื่อยมาจนเป็นมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในปี พ.ศ. 2515

พัฒนาเอแบค

เมื่อครู อาจารย์ คณะภราดา ผู้เรียนมีความคิดเป็นเอกเทศ เอแบคก็สามารถพัฒนาไปตามแนวทางของการพัฒนาได้ก็จะได้รับความเจริญรุ่งเรืองไม่จบสิ้น

 *วารสาร MBA (No.171 Vol.15 November 2013) 

No

Title

Year

1

Brother Martin: An Educator born to live Forever

2014

2

80th Birthday Anniversary

2013

3

ภราดาประทีป ม.โกมลมาศ: สมบัติที่ผลัดกันชม

2011

4

ฉลองครบรอบปีที่ 5 สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16

2010

5

In Loving Memory and Gradtitude of Brother Sakda Kitcharoen* May 15, 2010 Bro. Martin Komolmas

2010

6

Message from the Au President Emeritus & the Former Dean of ABAC Graduate School of Business

2009

7

Bro. Martin Joined in the Swimming Competition of the Most Senior Category

2009

8

จากความเป็นเลิศด้าน “ภาษา” สู่การเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของ “เอแบค”

2008

9

ศาสนธรรมและปรัชญา

2008

10

ความจริง ความดี และความงาม (The true, the good, and the beautiful) ปาฐกถาพิเศษในการประชุมสัมมนา ครั้งที่ 38 ประจำปีการศึกษา 2551 สภาการศึกษาคาทอลิก แห่งประเทศไทย ณ โรงแรมเอเซียพัทยา ชลบุรี : 24-27 สิงหาคม 2551

2008

11

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ถือว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่สวยที่สุดในประเทศ

2008

12

20 Unknown stories about Brother Martin and Brother Martin Diary of Life (Special story in ABACA Profile January-April 2006)

2006

13

Ethics, Moral and Social Responsibility Formation of Students: Contemporary Challenges for Catholic Schools in Thailand

2006

14

การศึกษาและพระเจ้า ชีวิต...ภราดาประทีป โกมลมาศ*

2005

15

ย้อนไปในอดีตกว่า 60 ปีที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล*

2005

16

บทความของ ภราดามาร์ติน ประทีป โกมลมาศ ครูกับความสำนึกอันยิ่งใหญ่*

2005

17

Cathedral of Learning*

2005

18

โบสถ์ประจำมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ : St. Louis Marie de Montfort*

2005

19

การอภิบาลในบริบทของสันติศึกษา*

2004

20

การประกันคุณภาพการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน*

2004

21

ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ในบริบทของการอุดมศึกษาไทยสู่ความสามารถในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์*

2003

22

โรงเรียนคาทอลิกแห่งแรกในกรุงศรีอยุธยา*

2002

23

การปฏิรูปการศึกษา : จากอดีตสู่ปัจจุบัน*

2002

24

Lessons Learned: Credit Transfer and Mutual Recognition A Case Study of Thailand’s Private Higher Education Institutions

2000

25

คำกล่าวในพิธีรับมอบชุดคู่มือการเรียนการสอน เพื่อปลูกฝังค่านิยมด้านความซื่อสัตย์สุจริต โดยท่านอธิการบดี ภราดา ดร.ประทีป ม.โกมลมาศ

1999

26

การศึกษาคาทอลิกเน้นความเป็นบุคคลของมนุษย์ในการศึกษาอบรม*

1998

27

มหาวิทยาลัยที่ทางแยก : จุดประกายวิสัยทัศน์อุดมศึกษาไทยในอนาคต*

1998

28

วิสัยทัศน์สำหรับนักธุรกิจ*

1997

29

อัสสัมชัญ ผุดโครงการยักษ์ ABAC บางนา มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ อีกทางเลือกการศึกษา*

1997

30

บนเส้นทางชีวิตที่แต่งแต้มด้วยสีสันอันหลากหลาย*

1996

31

ใครจะครองโลกในศตวรรษที่ 21?*

1996

32

ระบบเศรษฐกิจของเราก้าวหน้าดีกว่าเมื่อก่อน แต่อยากถามว่าเรามีความสุขกว่าแต่ก่อนหรือไม่ (สัมภาษณ์พิเศษ, วารสารเจาะลึก ปีที่ 1 ฉบับที่ 12 มกราคม 2537)

1994

33

36 ปีแห่งความสมหวังและภาคภูมิในชีวิตครู ภราดาประทีป มาร์ติน โกมลมาศ (สัมภาษณ์พิเศษ เนื่องในวันเด็ก 8 มกราคม และ วันครู 16 มกราคม 2537, วารสารสกุลไทย ปีที่ 40 ฉบับที่ 2048, 18 มกราคม 2537)*

1994

34

มหาวิทยาลัยกับเสรีภาพทางวิชาการ*

1993

35

เราจะต้องปฏิรูปการศึกษากันกี่หน?*

1993

36

โรงเรียนเอกชนในประเทศฝรั่งเศส*

1993

37

การงางแผนพัฒนาการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน*

1993

38

การสอบ ENTRANCE*

1993

39

การเดินทางรอบโลกครั้งล่าสุด*

1993

40

จรรยาบรรณสำหรับนักวิจัย*

1993

41

การศึกษาเพื่อสร้างค่านิยมให้แก่สังคมในปี ค.ศ. 2000

1993

42

หัวอกผู้ปกครอง*

1993

43

ดนตรีศึกษาปรัชญาที่กำลังเปลี่ยนไป

1993

44

เมื่อไรกรุงเทพมหานครจะสะอาดกันจริงๆ สักที?

1993

45

การศึกษาและการวิเคราะห์สถานการณ์ของโลกในเชิงเศรษฐกิจและสังคมอันมีผลสะท้อนต่ออนาคตของเยาวชนในศตวรรษนี้

1993

46

การเคลื่อนไหวทางการศึกษาทั่วๆ ไป 2528-29

1993

47

ค่านิยมพื้นฐานและค่านิยมสัมพันธ์ในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

1993

48

บทบาทของสภาผู้ปกครองและครูแห่งประเทศไทยในการพัฒนาการศึกษาของชาติ

1993

49

ความคิดเห็นเกี่ยวกับทรรศนะปฏิวัติการศึกษาไทย*

1993

50

ปัญหา "เงินกินเปล่า" หรือ "เงินบริจาคเพื่อการศึกษา"

1993

51

กรณีศึกษาของวิทยาลัยฟาร์โก*

1993

52

ปัญหาการคัดเลือกเด็กเข้าเรียน ป. 1*

1993

53

เทคนิคการพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพ โดย วิธีการปรับปรุงภาวะแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนการสอน*

1993

54

แนวทางการป้องกันการเสพอบายมุขในโรงเรียน*

1993

55

การวิเคราะห์ เรื่อง "วิทยาศาสตร์ กับ ความเชื่อศรัทธาทางศาสนา" และ " เทคนิคการใช้เทคโนโลยีในการศึกษา"

1993

56

จีนในยุคปัจจุบัน : การถ่ายทอดวัฒนธรรมและสิทธิมนุษยชน

1993

57

ความเป็นเลิศในรอบ 70 ปี

1993

58

การศึกษาเพื่อสันติภาพและความอยู่ดีกินดีของมษุษยชาติ

1993

59

ความเป็นไปได้ของการศึกษาเอกชน

1993

60

นวัตกรรมด้านหลักสูตรและการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา*

1993

61

คนอย่างไรที่สังคมไทยต้องการ

1993

62

ความสำเร็จกับคุณธรรม

1993

63

การศึกษาเอกชนและนโยบายการอุดหนุนของรัฐ*

1993

64

CATHOLIC HIGHER EDUCATION IN THAILAND

1993

65

ENGLISH AS THE MEDIUM OF INSTRUCTION AT ABAC*

1993

66

TEA-MONEY OR DONATION? A PROBLEM

1993

67

TEN YEARS OF RECOGNITION,DECADE OF PROGRESS

1993

68

The impact of industrialization on a changing society

1993

69

The internationalization of higher education at ABAC

1993

70

Schools of the 21st century innovate or vegetate and evaporate

1993

71

STREMS ANALYSIS

1993

72

VALUE EDUCATION FOR SOCIAL RESPONSIBILITY*

1993

73

คนอย่างไรที่สังคมไทยต้องการ

1992

74

จุดยืนของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญต่อเหตุการณ์และสถานการณ์ทางการเมือง*

1992

75

การกีฬาเพื่อการศึกษา*

1988

76

ค่านิยมพื้นฐานและค่านิยมสัมพัทธ์ในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม*

1986

77

การเดินทางรอบโลกครั้งล่าสุด

1984

78

การพัฒนาคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย

1982

79

Center for research in Business

1982

80

ความเป็นครูของบราเดอร์มาร์ติน  

...

81

'บราเดอร์ ประทีป ม.โกมลมาศ' เป็นมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยไม่สำคัญ มันขึ้นอยู่กับคุณภาพของการศึกษาที่นั่น

...

82

Brother Martin: Salt of the earth

...

83

เสรีภาพกับคนในยุคใหม่

1975

ภราดาประทีป ม. โกมลมาศ : สมบัติที่ผลัดกันชม* 

“Full many a Gem of purest Ray serene, The dark unfathom’d Caves of Ocean bear: Full many a Flower is born to blush unseen, And waste its Sweetness on the desert Air.”

“ดวงเอ๋ยดวงมณี มักจะลี้ลับอยู่ในภูผา หรือใต้ท้องห้องสมุทรสุดสายตา ก็เสื่อมซาสิ้นชมนิยมชน บุปผชาติชูสีและมีกลิ่น อยู่ในถิ่นที่ไกลเช่นไพรสณฑ์ ไม่มีใครได้เชยเลยสักคน ย่อมบานหล่นเปล่าดายมากมาย เอย.”
(ถอดความเป็นภาษาไทยโดย พระยาอุปกิตศิลปสาร)

บทกวีที่อ่านดูแปลกตาและฟังดูแปลกหูนี้ เป็นโคลงภาษาอังกฤษ ตอนที่ 14 ในทั้งหมด 30 ตอน จากเรื่อง “Elegy written in a Country Church-yard” หรือ “กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า” ของ Thomas Gray กวีชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียง ซึ่งโคลงดังกล่าวตีพิมพ์อยู่ในหนังสือเล่มโปรดสุดหวงแหนของ ภราดาประทีป ม. โกมลมาศ หรือ “บราเดอร์มาร์ติน” อธิการบดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือ เอแบค (ABAC) ซึ่งเคยผ่านการสอนและบริหารโรงเรียนในเครืออัสสัมชัญมาหลายโรงเรียนนานถึง 36 ปี และมีลูกศิษย์ลูกหามากมายนับไม่ถ้วน

นอกจากนั้น ยังมีหนังสืออีกหลายเล่มทีเดียวที่นับเป็นหนังสือเล่มโปรดที่เก่าแก่และมีคุณค่าสูง เช่น พระคัมภีร์พระธรรมใหม่(Nouveau Testament) ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศสตั้งแต่ปี 1972 ขณะที่บราเดอร์มาร์ตินยังเป็นนักศึกษา ซึ่งส่วนหนึ่งที่ทำให้หนังสือดังกล่าวมีคุณค่ามากก็เพราะท่านมักจะพกหนังสือเล่มนี้ติดตัวไปด้วยตลอดเวลา       

“ตอนออกมาใหม่ๆ นักศึกษาต้องแย่งกันซื้อ แต่เขาเห็นเราไม่ใช่ฝรั่ง เลยทำท่าจะไม่ขายให้ เราก็เลยบอกว่าเรามาไกลนะ มาเข้าคิวซื้อ ไม่ขายให้ได้ยังไง ในแง่คุณค่าแล้วหนังสือเล่มนี้จึงดีที่สุดในความรู้สึกของผม หากหายไปไหนก็ต้องหา เพราะอ่านแล้วก็สบายใจดี บางครั้งคำพูดเพียงประโยคเดียวก็อธิบายความหมายไว้ยืดยาวมาก อ่านแล้วสามารถเข้าใจลึกซึ้งมากกว่าธรรมดา ทุกครั้งที่เปิดจึงเหมือนมีความรู้สึกใหม่ๆ ความเข้าใจใหม่ๆ เพิ่มขึ้นทุกที เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าเป็นของชอบไหม ก็ตอบได้ว่าชอบมาก” บราเดอร์มาร์ตินเล่า


         

นอกจากหนังสือที่เป็นของรักแล้วบราเดอร์มาร์ตินยังมีของสะสมที่ทรงคุณค่าทางใจอยู่ไม่น้อย บางชิ้นไม่มีราคาค่างวดมากมาย แต่ทว่าสำคัญต่อจิตใจเป็นอย่างยิ่งในขณะที่บางชิ้นก็มีราคาสูงลิบลิ่ว อีกทั้งยังมีความสำคัญในเชิงสัญลักษณ์แห่งการเป็นนักบวช หากแต่ไม่มีของสะสมราคาแพงชิ้นไหนเลย ที่บราเดอร์มาร์ตินจะถือครองเอาไว้เป็นทรัพย์สมบัติส่วนตนแต่เพียงผู้เดียว

ข้างหน้าห้องโถงที่ชื่อว่า “Bro. Martin’s Collection” ซึ่งตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญหรือเอแบค(บางนา) “Was created at the suggestion of Mr. Somboon Phechsawasdee, an ACS alumnus, who wished to see the work of his teacher be remembered in perpetuity.” ซึ่งนี่แสดงถึงความตั้งใจของลูกศิษย์ผู้หนึ่งในหลายคนในอันที่จะสร้างความ ความจดจำในตัวอาจารย์ที่พวกเขาให้ความเคารพ

และเมื่ออย่างก้าวเข้ามาในห้อง เราได้สังเกตเห็นการเก็บรวมรวมข้าวของจิปาถะซึ่งมีความหลากหลายและมากมายด้วยจำนวนทั้งโมเดลจำลองสถาปัตยกรรมของมหาวิทยาลัยหนังสือเล่มใหญ่น้อยต่างๆ รายงานการประชุมโต๊ะเขียนหนังสือ เครื่องพิมพ์ดีดส่วนตัว ภาพถ่าย (ที่มีทั้งเพื่อเป็นเกียรติประวัติและเพื่อเตือนความจำ) เหรียญตราที่ระลึกสร้อยและลูกประคำ ฯลฯ

สิ่งของทั้งหมดอยู่ในสภาพดีเยี่ยมและถูกจัดเก็บไว้เป็นหมวดหมู่อย่างเรียบร้อยสวยงาม โดยส่วนมากแล้วข้าวของต่างๆ เหล่านี้ได้รับมาจากบรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่เปี่ยมไปด้วยความเคารพศรัทธา หากว่ามีแขกไปใครมาก็นำมักจะนำมาฝากบราเดอร์อยู่เสมอๆ จึงได้มีการนำมาแสดงไว้ให้เป็นทรัพย์สมบัติของสาธารณะ ปราศจากการซ่อนเร้นเอาไว้จนกระทั่งไร้การยลโฉมจากผู้คนทั่วไป (เหมือนเหล่าทรัพย์สมบัติที่สวยงามเสียเปล่า ทว่าไร้การเชยชมดังเช่นที่โทมัส เกรย์นั้นเปรียบเปรยเอาไว้ในโคลงของเขา)

จะว่าเป็นกิเลสก็ใช่ที่ บางครั้งลูกศิษย์ให้ของมีค่าเช่น ทองคำ เพชรพลอย สิ่งนี้บราเดอร์มาร์ตินเห็นว่าสำหรับคนที่เป็นนักบวชนั้นไม่ควรมี แต่เพราะเป็นของที่ลูกศิษย์ซื้อหามาให้ด้วยเจตนาที่ดีมีคุณค่า เป็นที่ระลึกถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ ทั้งนี้การจะใส่เป็นของส่วนตัวนั้นถือว่าเป็นสิ่งไม่เหมาะสม เลยเก็บรักษาไว้ในห้องสมุด รอโอกาสสำคัญต่างๆ เช่นวันสงกรานต์ถึงจะเอามาใส่ครั้งหนึ่ง

“อย่างในนามของสมาคมศิษย์เก่าเซนคาเบรียลเขาก็ให้สร้อยทอง สร้อยทองคำขาวฝังอัญมณีและบลูแซฟไฟร์ หรือเพชร เราก็รับไว้ ส่วนอัสสัมชัญธนบุรีก็ให้กางเขนทองคำประดับด้วยเพชร มีศิษย์เก่าเซนคาเบรียลบางคนก็ให้กางเขนที่สวยงามมาก เพราะเขาเป็นช่างทำทองแล้วบังเอิญไปเจอมาก็รีบซื้อสร้อยเส้นนั้นมาจากนักท่องเที่ยวชาวอเมริกาใต้ เป็นศิลปะการใช้วัสดุและมีประเพณีการทำทองที่สวยงามมากลูกศิษย์คงมองในแง่ว่าเป็นของสูงมีคุณค่าเลยอยากให้อาจารย์ที่เขารักและเคารพมีแขวนไว้ก็รับมา” บราเดอร์มาร์ตินเล่าอย่างสำรวม

อันว่า “มหาบุญลาภจงมีแก่ผู้ที่เอาใจออกห่างจากทรัพย์สมบัติเหล่านั้น” ตามคำเทศน์ของพระเยซู ซึ่งพอเทียบเคียงได้กับคำว่า “Detachment” นั่นคือการไม่ยึดติด ไม่เสาะแสวงหา ไม่พยายามที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติต่างๆ หรือคำว่า “อโลภะ” ในพระพุทธศาสนาเองก็ตาม ล้วนทำให้บราเดอร์มาร์ตินเชื่อว่า นี่ต่างหากคือทางที่จะนำไปสู่การครอบครองทรัพย์สมบัติอันมีค่าอย่างแท้จริง นั่นคือความสุขจากการปล่อยวางและความอิ่มอกอิ่มใจซึ่งไม่มีวันหมด

          “บางทีของที่เก็บดูเหมือนไม่ค่อยมีค่าอะไร แต่ก็มีความหมายมาก เพราะเรามีความรู้สึกต่อมัน ทำให้รู้สึกว่ามีความสำคัญ”

  *วารสาร MBA (No.146 June 2011) หน้า 56-59

ฉลองครบรอบปีที่ 5 สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16* 

ในวโรกาสฉลองครบรอบปีที่ 5 ในสมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน นี้ ณ อาสน-วิหารอัสสัมชัญ เวลา 17.00 น. ได้มีพิธีสหบูชา มิสซาขอบพระคุณ โดยมีพระอัครสังฆราช หลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ ประธานสภาพระสังฆราชและประมุขอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง เป็นประธานในพิธีร่วมด้วย ฯพณฯ ท่านพระอัครสังฆราชซัลวาโตเร เปนนักคิโอ เอกอัครสมณฑูตวาติกันประจำประเทศไทย พระคาร์ดินัล ไมเคิล มีชัย กิจบุญชู และบรรดาพระสังฆราชประมุขของทุกสังฆมณฑล

ภายในอาสนวิหารแน่นขนัดไปด้วยมวลสัตบุรุษ นักบวชชายหญิงและบรรดาทูตานุทูตมากหน้าหลายตา

ถึงแม้ผมได้ไปถึงโบสถ์ก่อนพิธีเกือบครึ่งชั่วโมงก็ไม่มีที่ว่างเสียแล้ว อาศัยเก้าอี้เสริมบริเวณหน้าโบสถ์ แต่ยังคงได้ยินเสียงเพลงของคณะขับร้องได้ชัดเจน โดยเฉพาะบทเพลง PontificalMarch เป็นภาษาไทยที่ดังกระหึ่มเร้าใจ เป็นการต้อนรับคณะสงฆ์ราวครึ่งร้อยที่ทยอยเดินเข้าโบสถ์ด้วยท่วงท่าสง่างามชวนศรัทธายิ่ง

ตามที่เซนต์มาลาคี (Malachy) ได้ทำนาย “เอกลักษณ์” ของโป๊ป ตั้งแต่สมัยของท่านคือ ในปี ค.ศ.1139 จนถึงสิ้นยุคจะมีโป๊ปทั้งสิ้น 112 องค์ แล้วจะถึงอวสานกาล โป๊ปเบเนดิกต์ที่ 16 นี้ ถือเป็นองค์ที่ 111 ซึ่งมี “เอกลักษณ์” ว่า Gloria Olivae ชัยชนะของต้นมะกอก เนื่องจากพระองค์ทรงใช้พระนาม BENEDICTUS ซึ่งเป็นนักบุญที่ก่อตั้งคณะนักบวชเบเนดิกติน เมื่อปี ค.ศ.529 สมาชิกคณะนักบวชของท่านใช้ชีวิตในอารามเลี้ยงชีพด้วยการปลูกต้นองุ่นเพื่อทำไวน์และปลูกต้นมะกอกเพื่อทำน้ำมันมะกอก นักบวชเบเนดิกตินเป็นชาวไร่มะกอก หรือ Olivae ฉะนั้นโป๊ปผู้ทรงใช้พระนาม BENEDICTUS ก็เป็นชาวไร่มะกอก นั่นก็คือชัยชนะของ BENEDICTUS หรือชาวไร่มะกอก หรือ Gloria Olivae

โป๊ปเบเนดิกต์ที่ 15 ทรงได้รับการคัดเลือกให้เป็นโป๊ประหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ.1914 มีผู้ทำนายหลายท่านก็กล่าวว่าโป๊ปเบเนดิกต์ที่ 16 ก็จะได้รับชะตากรรมเช่นเดียวกัน กล่าวคือ จะต้องเผชิญกับสงครามใหญ่ขนาดต้องหนีไปจากกรุงโรม ในระยะนี้ใครอ่านข่าวสารจากต่างประเทศก็จะรู้ว่าพระองค์ทรงแบกภาระหนักเหลือเกิน เป็นหน้าที่ของมวลสัตบุรุษที่จะต้องร่วมกันวิงวอนพระเจ้าประทานพละกำลังให้พระองค์สามารถฟันฝ่าอุปสรรคไปได้อย่างราบรื่น ถือโอกาสที่พวกเราฉลองครบรอบปีที่ 15 ในสมณสมัยของพระองค์ ขอนำเสนอพระประวัติและพระภารกิจที่ได้ทรงปฏิบัติตลอด 5 ปีที่ผ่านมาดังนี้:

 พระประวัติสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 มีพระนามเดิมว่า โยเซฟ รัตซิงเกอร์ประสูติวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1927 เป็นชาวเยอรมัน เป็นบุตรชายของโจเซฟ และมาเรีย รัตซิงเกอร์ ประสูติในหมู่บ้านมาร์เคลท์ อัม อินน์ (Marktl am Inn) ในแคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ติดกับชาวแดนออสเตรีย ทรงมีพี่น้อง 2 คน คนหนึ่งเป็นหญิงชื่อมาเรีย อีกคนหนึ่งเป็นพี่ชายคนโตชื่อ จอร์จ (บวชเป็นบาทหลวงเช่นเดียวกับพระองค์) พระองค์ได้เข้าไปศึกษาเพื่อเตรียมตัวเป็นบาทหลวงในบ้านเณร ในเมืองเธราน์ชไตน์ เมื่อปี ค.ศ. 1939

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1941 กองทัพเยอรมันต้องการกำลังทหาร พระองค์จึงถูกเกณฑ์เข้าร่วมเป็นสมาชิกของหน่วยยุวชนฮิตเลอร์ พระองค์เข้าไปเป็นพลปืนต่อต้านอากาศยานมีหน้าที่ดูแลเครื่องบิน และต่อมาย้ายไปประจำศูนย์สื่อสารทางโทรศัพท์ ต่อมาในปี 1944 พระองค์และเพื่อนร่วมชั้นก็ออกจากกองต่อต้านอากาศยาน แต่กลับถูกเกณฑ์อีกครั้งเพื่อไปประจำที่ชายแดนซึ่งติดต่อกับฮังการี พระองค์มีหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์ไว้ป้องกันกองทัพรถถังโซเวียต ในเดือนพฤศจิกายนปีนั้น พระองค์ก็ออกจากกองทัพและมุ่งหน้ากลับบ้าน สามสัปดาห์ผ่านไปพระองค์ได้รับหมายเรียกให้เข้ารับการฝึกเป็นทหารราบ แต่ไม่เคยต้องออกไปยังแนวหน้า

ในเดือนเมษายน 1945 (ก่อนหน้านาซีจะยอมแพ้ไม่นาน) พระองค์หนีทัพและกลับไปยังหมู่บ้านของพระองค์ แต่ภายหลังสงคราม พระองค์ถูกจับในฐานะเชลยเนื่องจากฝ่ายทัพพันธมิตรสรุปว่าพระองค์เป็นทหาร พระองค์ต้องไปเข้าค่ายกักกันเชลยศึก ทรงออกจากค่ายเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1945 ต้องเดินเท้าเป็นระยะทาง 120 กิโลเมตรเพื่อกลับหมู่บ้าน แต่ได้รับการช่วยเหลือจากรถส่งนมที่พาไปส่งที่เมืองเธราน์ชไตล์ เมื่อพระองค์กลับถึงบ้าน ก็ได้พบกับพี่ชายซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากค่ายเชลยศึกในอิตาลีเช่นเดียวกัน

 การศึกษา

ในปี 1945 หลังจากที่พระองค์กลับถึงบ้าน พระองค์ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่บ้านเณรแห่งหนึ่งในเมืองไฟร์ซิงก์ หลังจากนั้นก็ไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยลุดวิกแม็กซิมิเลียน ในเมืองมิวนิก ในที่สุดเมื่อปี ค.ศ. 1951 พระองค์ได้บวชเป็นบาทหลวงโดย พระคาร์ดินัลเฟาฮาเบอร์ แห่งเมืองมิวนิก เป็นผู้บวชให้ ระหว่างนั้นพระองค์ยังทรงเขียนวิทยานิพนธ์ขึ้น 2 ฉบับ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับนักบุญออกัสติน เสร็จเมื่อ ค.ศ. 1956 และเกี่ยวกับนักบุญโบนาเวนตูรา เสร็จเมื่อ ค.ศ. 1957 และในปี 1958 พระองค์ได้เป็นอาจารย์สอนที่วิทยาลัยไฟร์ซิงก์

 งานทางศาสนา

ต่อมาพระองค์เป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยบอนน์ ตั้งแต่ ค.ศ.1902 ถึง ค.ศ. 1963 เมื่อพระองค์ย้ายไปสอนที่มหาวิทยาลัยมุนสเตอร์ ในปี 1966 พระองค์ได้เป็นอาจารย์สอนวิชาเทววิทยา ณ มหาวิทยาลัยตูบิงเกน ในปี 1969 พระองค์ก็กลับไปยังบาวาเรีย แคว้นเกิดของพระองค์เพื่อไปสอนที่มหาวิทยาลัยเรเกนส์เบริก

ในปี ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) พระองค์ได้ร่วมกับฮันส์ เอิร์ส วอน บาลธาซาร์, อองริ เดอ ลูบัค และวอลเตอร์ แกสแปร์ ก่อตั้งวารสารทางศาสนาขึ้นมาชื่อว่า คอมมูนิโอ ปัจจุบันวารสารนี้ตีพิมพ์ใน 17 ภาษา และเป็นวารสารคาทอลิกฉบับหนึ่งที่สำคัญที่สุด) พระองค์ยังเป็นผู้เขียนบทความลงในวารสารนี้อีกด้วย

สมณศักดิ์พระคาร์ดินัล

ในเดือนมีนาคม 1977 ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครสังฆราชแห่งเมืองมิวนิก และในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล โดยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 6
25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1981 สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 แต่งตั้งท่านให้เป็นสมณมนตรีของสมณกระทรวงพระสัจธรรม นอกจากนี้ยังทรงเคยดำรงตำแหน่ง
• ประธานสมณกรรมาธิการพระคัมภีร์
• สมณกรรมาธิการเทววิทยานานาชาติ
• ผู้ประสานงานการจัดประชุมสมัชชาพระสังฆราช สมัยสามัญ ครั้งที่ 5 (ค.ศ.1983)
• ประธานของผู้แทนการประชุมสมัชชาพระสังฆราช สมัยสามัญ ครั้งที่ 6 (ค.ศ.1983)
• 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 ได้รับเลือกเป็นรองหัวหน้าคณะพระคาร์ดินัล
• 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 ได้รับเลือกเป็นหัวหน้า (Dean) คณะพระคาร์ดินัล
• ค.ศ. 1986-1992 เป็นประธานคณะกรรมการจัดทำหนังสือคำสอนพระศาสนาจักรคาทอลิก
• 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 ได้รับปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมาเรีย ซานติสสิมาอัสสุนตา
• 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 ได้รับเกียรติเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสถาบันวิทยาศาสตร์ในสันตะสำนัก

ทรงเคยเป็นสมาชิกในคณะกรรมการต่างๆ ของสมณกระทรวงของสันตะสำนัก

• สมณกระทรวงพระศาสนาจักรตะวันออก
• สมณกระทรวงพิธีกรรม
• สมณกระทรวงประกาศพระวรสารสู่ปวงชน
• สมณกระทรวงการศึกษาคาทอลิกและเลขาธิการของรัฐวาติกัน (Second Section) ฝ่ายความสัมพันธ์ด้านต่างประเทศ
พระสมณสาส์น
• พระเจ้าคือความรัก – Deus caritas est (25 ธันวาคม ค.ศ. 2005)
• รอดพ้นด้วยความหวัง – Spe Salvi (30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007)
• ความรักในความจริง – Caritas in Veritate (29 มิถุนายน ค.ศ. 2009)

พระดำรัสเตือน

ศีลมหาสนิท ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งความรัก – Sacramentum Caritatis : พระดำรัสเตือนหลังการประชุมสมัชชาพระสังฆราช เรื่องศีลมหาสนิทบ่อเกิดและจุดสูงสุดแห่งชีวิตและพันธกิจของพระศาสนจักร (22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007)
ธรรมจาริกประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่ออภิบาลคริสตชน
• ประเทศเยอรมนี – โคโลญ (18-21 สิงหาคม ค.ศ. 2005)
• สาธารณรัฐโปแลนด์ (25-28 พฤษภาคม ค.ศ. 2006)
• ราชอาณาจักรสเปน-วาเลนเซีย-การปะชุมครอบครัวโลกครั้งที่ 5 (8-9 กรกฎาคม ค.ศ. 2006)
• ประเทศเยอรมนี – มุมเชน, อัลเติทติง และเรเกนส์บรูก (9-14 กันยายน ค.ศ. 2006)
• สาธารณรัฐตุรกี (28 พฤศจิกายน-1 ธันวาคม ค.ศ. 2006)
• สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล-การประชุมสมัชชาสภาพพระสังฆราชคาทอลิกแห่งลาตินอเมริกาและแคริบเบียน (9-14 พฤษภาคม ค.ศ. 2007)
• สาธารณรัฐออสเตรีย-ฉลองครบรอบ 850 ปี สักการะสถานแห่งมาเรียเซล (7-9 กันยายน ค.ศ. 2007)
• ประเทศสหรัฐอเมริกา (15-21 เมษายน ค.ศ. 2008)
• เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย-งานชุมนุมวันเยาวชนโลก ครั้งที่ 23 (12-21 กรกฎาคม ค.ศ. 2008)
• สาธารณรัฐฝรั่งเศส-ฉลอง 150 ปี แม่พระประจักษ์ที่เมืองลูรด์ (12-15 กันยายน ค.ศ. 2008)
• สาธารณรัฐแคเมอรูน และสาธารณรัฐแองโกลา (17-23 มีนาคม ค.ศ. 2009)
• รัฐอิสราเอล-แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (8-5 พฤษภาคม ค.ศ. 2009)
• สาธารณรัฐเช็ก (26-28 กันยายน ค.ศ. 2009)
• สาธารณรัฐมอลตา (17-18 เมษายน ค.ศ.2010)
• สาธารณรัฐโปรตุเกส (11-14 พฤษภาคม ค.ศ. 2010)
• สาธารณรัฐไซปรัส (4-6 มิถุนายน ค.ศ. 2010)

หลังพิธีสหบูชามิสซาขอบพระคุณอันสง่างามตามจารีตอันเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมากว่าสองสหัสวรรษสิ้นสุดลงก็มาถึงวาระสำคัญที่ ฯพณฯ ท่านสมณฑูตวาติกันประจำประเทศไทยได้ทำพิธีมอบเครื่องอิสริยาภรณ์แห่งสันตะสำนัก ซึ่งคริสตชนชาวไทยทุกคนคงจะรู้สึกชื่นชมในเกียรติที่พวกเขาได้รับเป็นแน่นอน รวมทั้งตัวผมเองด้วย ซึ่งมีความสนิทสนมเป็นพิเศษคือ คุณพอล แมรี่, สุวิช สุว รุจิพร, คุณอาเดรียโน กวี อังศวานนท์, คุณหญิงเทเรซา ปัทมา ลีสวัสดิ์ ตระกูล, ดร.เทเรซา วิรัชนี พรหมสุนทร และ ภราดา ดร.ประทีป (มารติน) โกมลมาศ
บุคคลที่ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์แห่งสันตะสำนักประจำปี 2553 (ค.ศ. 2010) ดังนี้

เครื่องประดับเกียรติยศพระสันตะปาปานักบุญเกรโกรีผู้ยิ่งใหญ่ ชั้นผู้บัญชาการใหญ่ (Knight Commamder of the Order of St. Gregory the Great)
• คุณพอล แมรี่ สุวิช สุวรุจิพร
• คุณอาดรีอาโน กวี อังศวานนท์
เครื่องประดับเกียรติยศพระสันตะปาปานักบุญเกรโกรีผู้ยิ่งใหญ่ (Knight of the Order of St.Gregory the Great)
• ดร.นิโคลาส นิติ ไมเยอร์
• คุณโยเซฟ ปราโมทย์ พูลโภคพล
• ดร.คริสโตเฟอร์ อภิชาต อินทรวิศิษฏ์
เครื่องประดับเกียรติยศพระสันตะปาปานักบุญเกรโกรีผู้ยิ่งใหญ่ อัศวินหญิง (Dame of the Order of St.Gregory the Great)
• คุณหญิงเทเรซา ปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล
• คุณมารีอา อรอนงค์ ซื่อเพียรธรรม
• ดร.เทเรซา วิรัชนี พรหมสุนทร
• คุณอักแนส พัชรา พูลโภคพล
เหรียญพระสันตะปาปา (Pontifical Cross “Pro Ecclesia et Pontifice”)
• คุณพ่อชาร์ล เวลาร์ โด, คณะซาเลเซียน
• ภราดา ดร.ประทีป ม.โกมลมาศ, คณะเซนต์คาเบรียล
• เซอร์ลอเรตตา โยเซฟ แซมโบ, คณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ดร

 

*หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ (3 กรกฎาคม 2553) หน้า 4 

In Loving Memory and Gradtitude of Brother Sakda Kitcharoen*

May 15, 2010
Bro. Martin  Komolmas

แด่ ท่านอธิการศักดา กิจเจริญ ด้วยความเคราพรัก

เช่นเดียวกันกับทุกคนที่รู้จักภราดาศักดา กิจเจริญ... กระผมรู้สึกตกใจอย่างมากเมื่อทราบข่าวการจากไปของท่านอย่างกะทันหันในรุ่งเช้าของวันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม 2553 เพราะเมื่อค่ำ วันที่ 6 พฤษภาคม ยังได้ทักทายกัน 2-3 คำ ก่อนพิธีสวดอุทิศแด่คุณแม่ของอธิการอาจิณ เต่งตระกูล ที่วัดนักบุญเปโตร สามพราน อันเป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของท่าน

อธิการศักดาเข้าเป็นเด็กฝึกหัดในคณะภราดาเซนต์คาเบรียลและเติบโตมาในรุ่นที่ใกล้เคียงกัน ความประทับใจต่อกันในวัยเด็กจึงมีพอควร แต่ความคุ้นเคยฉันท์เพื่อนและการรู้ใจกันมากที่สุดกับใช้เวลาอีกนานนับปีจนเมื่อผมได้รับมอบหมายให้มารับผิดชอบโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา ในกลางปีการศึกษา 2532 ด้วยเหตุผลที่เสนอให้ผู้ใหญ่ของคณะฯ พิจารณาสรรหาภราดาฝีมือดี 1 ท่าน มาช่วยงานหากจะเอาระบบนักเรียนประจำไว้ให้อยู่และต้องดีขึ้นให้เร็วที่สุด เงื่อนไขประการนี้ส่งผลในปีต่อมาให้อธิการศักดา ได้ย้ายจากบ้านฝึกอบรมสามพรานในงานหลักที่เล่าเรียนมาอย่างยาวนานด้านการฝึกอบรมที่กรุงโรม มาเป็นผู้รับผิดชอบดูแล ฝ่ายนักเรียนประจำและเป็นภราดาผู้ช่วยที่กระผมภาคภูมิใจในฝีมือที่ฉกาจ ส่งผลให้ปัญหาน้อยใหญ่ในระบบบริหารได้เริ่มคลี่คลาย และนี่คือจุดเริ่มต้นให้ท่านอธิการศักดารักและผูกพันโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาในทุกบทบาทหน้าที่จนถึงตำแหน่งผู้อำนวยการเป็นเวลานานนับปีจวบจนวันสุดท้ายของชีวิต

มองย้อนกลับไปเมื่อเดือนเมษายนของภาคฤดูร้อน ปี พ.ศ. 2552 คือ ช่วงเวลาของชีวิตที่ประทับใจและดีที่สุดของเราที่ได้ใช้ชีวิตความเป็นนักบวชร่วมกัน เมื่อคณะฯ ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นหัวหน้านำภราดา 20 ท่าน ไปแสวงบุญและเดินตามรอยนักบุญหลุยส์มารี ผู้ก่อตั้งคณะฯ ที่ประเทศฝรั่งเศส อิตาลี และโปแลนด์ ความสุขใจอย่างที่สุดในชีวิตของท่านอธิการศักดาน่าจะอยู่ในห้วงเวลา 30 วันเต็มนี้อย่างแน่นอน ทุกวันหลังสวดเช้า มิสซา และอาหารเช้า ท่านจะพาภราดาออกแสวงบุญเยี่ยมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และสถานที่สำคัญๆ อาทิ จากเมืองมงฟอร์ตซูเมอร์ บ้านเกิดของท่านนักบุญหลุยส์มารีย์ถึงปารีส สถานที่ที่ท่านนักบุญศึกษาเล่าเรียนและบวชเป็นสงฆ์ เขตลาโรเซลล์สถานที่ที่ท่านนักบุญทำงานอภิบาลแพร่ธรรม จนถึงสถานที่ที่ท่านนักบุญสิ้นชีวิตและถูกฝัง ณ เมืองแซงต์โลรังต์ ซือร์ แซฟร์ นอกจากนั้นอธิการศักดายังพาเราไปภาวนาอธิษฐานฟื้นฟูจิตใจที่เมืองลูร์ด ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส สถานที่แม่พระประจักษ์อันมีชื่อของโลก พาเข้ากรุงโรมเยี่ยมชมศูนย์กลางคณะฯ พร้อมชมวัดและมหาวิหารน้อยใหญ่มากมายที่สุดได้พาคณะภราดาไปภาวนาต่อแม่พระฉวีดำ (Black Madonna) ที่ประเทศโปแลนด์ก่อนกลับประเทศไทย... ไม่ได้คาดคิดว่าภาพถ่ายจำนวนนับร้อยๆ รูปที่ได้บันทึกตลอดการเดินทาง ซึ่งอธิการศักดายินดีเป็นนายแบบให้ในทุกสถานที่ คือสิ่งที่เหลือไว้ในขณะนี้ เพียงความประทับใจและภาพแห่งความทรงจำของใบหน้าที่ยิ้มแย้ม ร่าเริง และเป็นสุขที่จะยังคงติดตามตรึงใจเราทุกคนไปอีกนานเท่านาน...

*นังสือที่ระลึกงาน Brother Sakda Kitcharoen (May 15, 2010) หน้า 16.